วัฒนธรรมการบริโภคของครัวเรือนแรงงานชานเมืองขอนแก่น; Consumption Culture of Labor Households in Khon Kaen Peri-Urban

Authors

  • กฤษดา ปัจจ่าเนย์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

วัฒนธรรมการบริโภค, ครัวเรือนแรงงาน, ชานเมืองขอนแก่น, Consumption Culture, Labor Households, Khon Kaen Peri-Urban

Abstract

        ชานเมืองขอนแก่นมีการขายตัวอย่างรวดเร็วจากปรากฏการณ์การการกลายเป็นเมือง พื้นที่เมืองขอนแก่นเริ่มขยายตัวสู่พื้นที่ชานเมือง ทำให้ครัวเรือนแรงงานชานเมืองได้รับผลกระทบทางด้านการเข้าถึงและการครอบครองทรัพยากรในการดำรงชีพเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการบริโภคของครัวเรือนแรงงานชานเมืองขอนแก่นที่ได้รับผลกระทบจากการกลายเป็นเมือง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ หน่วยวิเคราะห์ในการวิจัยคือระดับครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แนวทางการสัมภาษณ์ เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกครัวเรือนแรงงานชานเมือง 15 ครัวเรือน และการสนทนากลุ่มย่อย ตลอดจนใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม พื้นที่ในการศึกษาวิจัยคือบ้านเป็ด บ้านเลิงเปือย บ้านสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหาและใช้โปรแกรม  ATLAS.ti ผลการวิจัยพบว่า การขยายตัวของเมืองขอนแก่นในพื้นที่ชานเมืองมีลักษณะการเปลี่ยนแปลง สอง ลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพของพื้นที่ชานเมือง ได้แก่ ถนน ที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม และตลาด ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงด้านกิจกรรมเมือง ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากที่ดิน วิถีชีวิต อาชีพที่หลากหลาย จากปรากฏการณ์การกลายเป็นเมืองดังกล่าวส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปของครัวเรือนแรงงานชานเมืองขอนแก่น ในสองลักษณะ คือ วิถีชีวิตและระดับการบริโภค

 

Abstract

         Khon Kaen peri-urban was rapidly changed by urbanization phenomenon. While the urban area has been expanded to the peri-urban area, the labor households in Khon Kaen peri-urban were problematic from accession and holding of capital assets. This research aims to study the impacts of the livelihood resource of the households in Khon Kaen peri-urban. The methodology adopted qualitative research with household level as the unit of analysis. The research instruments was interview guidelines, in-depth interview with fifteen labor households who are multiple occupations, focus group discussion, and participatory and non-participatory observations. There are three study sites in Khon Kaen peri-urban area: Ban Pet, Ban Loeng Pueai and Ban Sam Ran. Contents analysis with ATLAS.ti. program was used. The results indicated two types of peri-urban area expansion; physical change such as roads, housing, industrial factories and markets and livelihood and activity change such as land use, various occupation. By these expansion impacts of urbanization toward consumption culture of Labor Households in Khon Kaen Peri-Urban into two aspects; life style change and consumption level change.

Downloads

Published

2017-08-31

How to Cite

ปัจจ่าเนย์ ก., & ชามะรัตน์ ธ. (2017). วัฒนธรรมการบริโภคของครัวเรือนแรงงานชานเมืองขอนแก่น; Consumption Culture of Labor Households in Khon Kaen Peri-Urban. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 6(2), 221–240. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/95875

Issue

Section

บทความวิจัย