วาทกรรมและการค้าในชาดกอีสานเรื่องกำพร้าตูบตอง; The Discourse and Trading in I-San Jataka Story “Kampra Toob Tong”
Keywords:
วาทกรรม, การค้า, ชาดกอีสาน, กำพร้าตูบตอง, Discourse, Trading, I-San Jataka, Kampra Toob TongAbstract
บทความนี้เป็นการศึกษาวาทกรรมและการค้าขายในชาดกเรื่องกำพร้าตูบตอง ผู้เขียนต้องการนำเสนอวาทกรรมของความดีความชั่วที่แตกต่างตามค่านิยมของชนชั้น ความสมดุลของความดีความชั่วที่ยึดโยงกับฐานะและอำนาจทางเศรษฐกิจ ที่สะท้อนให้เห็นว่าค่านิยมในบริบทสังคมอีสาน ซึ่งในนิทานชาดกเรื่องนี้เชื่อว่าคนที่มั่งมีในทรัพย์เป็นผู้ที่มีบุญบารมีแต่ปางก่อนเกียรติศักดิ์ศรีและบารมีเป็นสิ่งที่คู่กับความมั่งมีด้วยทรัพย์สินเท่านั้น นอกจากนี้วาทกรรมเกี่ยวกับการค้าขายยังแสดงให้เห็นถึงชุดความคิดเรื่องวาทกรรมบุญบารมีจากอดีตชาติที่ยึดโยงกับเรื่องของการค้าขายที่แสดงให้เห็นว่าการค้าขายถูกกำกับด้วยอำนาจความเชื่อพุทธศาสนา อำนาจบุญบารมี ซึ่งแตกต่างจากโลกความเป็นจริงของเศรษฐกิจและการค้าขายที่กำไรไม่ยึดโยงกับบุญบารมีแต่ขึ้นอยู่กับเทคนิควิธีการขายและการตลาด
Abstract
The main purpose of this article is to present the discourse and trading in I-san Jataka story “Kampra Toob Tong”. It demonstrates the discourse on good and evil based on different racist values, the balance of good and evil relating to economic position and power. According to racist value, the rich are a charitable actor from the world in the past. Honor and prestige are related to wealth. In addition, trade discourse demonstrates the discourse on merit of the world in the past related to trading. Trading was determined by power of belief in Buddhism. But in fact, the power of merit is not related to the success of trading, because economically, profit-based trading is not determined by merit, but methods for selling and marketing. In this article, discourse on different goodness and evil according to racial values, discourses on merit form the past world, trade and its results from past worlds, and the balance of goodness, class and power according to economic status were presented through the story "Hai Som Um Kha Lum ".
References
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน.๒๕๕๑. สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
จารุณี วงศ์ละคร.๒๕๕๙.วาทกรรมบุญในวรรณกรรมอีสาน (งานวิจัย). คณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จารุวรรณ ธรรมวัตร.๒๕๔๒. นิทานกำพร้า:ภาพสะท้อนชีวิตผู้ด้อยโอกาสและชาติพันธ์สัมพันธ์ในเขตอุษาคเนย์ตอนกลาง(งานวิจัย). โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. , กลุ่มสร้างเสริมศักยภาพนักวิจัยด้านอีสานคดีศึกษา.
ธัญญา สังขพันธานนท์.๒๕๕๙. แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย. ปทุมธานี : นาคร.
น้อมจิต อนุฤทธิ์.๒๕๔๒. วรรณกรรมเรื่องท้าวกำพร้าการศึกษาเชิงวิเคราะห์วิจารณ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. การศึกษา (ไทยคดีศึกษา-เน้นมนุษยศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย.
นิยม ศุภวุฒิ. กำพร้าตูบตอง.มปป.. ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร วิทยาลัยครูสกลนคร.
พิพัฒน์ ประเสริฐสังข์, ราชันย์ นิลวรรณาภาและบัญญัติ สาลี.๒๕๕๘. “รูปแบบการนำเสนอนิทานชาดกพื้นบ้านของพระอริยานุวัตร” ในวารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๑ มกราคม-กุมภาพันธ์ หน้า ๑๓๘-๑๕๐.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์.๒๕๕๙. ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐. สำนักพิพม์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.