แบบเรื่องและอนุภาคสัตว์สีเผือกในตำนานเมืองล่มภาคอีสาน; Tale Type and White Animal’s Motifs In Ruined City Legends of North Eastern Regio

Authors

  • อนันต์ ลากุล สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น http://orcid.org/0000-0002-3083-911X
  • อุมารินทร์ ตุลารักษ์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

อนุภาค, แบบเรื่อง, สัตว์สีเผือก, ตำนานเมืองล่ม, Motif, Tale Type, City Legend, Ruined City Legend

Abstract

 

                    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแบบเรื่องและอนุภาคสัตว์สีเผือกในตำนานเมืองล่มที่แปรสภาพเป็นบึงน้ำในภาคอีสาน โดยใช้กรอบแนวคิดแบบเรื่องและอนุภาคทางคติชนวิทยา ซึ่งปรากฏผล ดังนี้

                    จากการศึกษาพบว่า ตำนานเมืองล่มพบทั้งหมด 10 เรื่อง จาก 30 สำนวน จัดอนุภาคได้ 5 ประเภท คือ อนุภาคการกินปลาไหลเผือก อนุภาคการกินกระรอกเผือก อนุภาคการจับปลาดุกเผือก อนุภาคการกินเก้งเผือก และอนุภาคการกินปลาฝาเผือก โดยสาเหตุของเมืองล่มทั้งหมดนั้นเกิดจากการกระทำของสัตว์เผือกและเหล่านาค กล่าวได้ว่า สัตว์สีเผือกจึงมีลักษณะแทนสัญญะของ “นาค” และ “การทำลาย” อย่างไรก็ตาม ในตำนานเมืองพานนั้นได้ให้พังพอนเผือกแทนสัญญะของสัตว์ที่คอยคุ้มครองบ้านเมือง ซึ่งต่างจากตำนานเมืองล่มฉบับอื่น

                    ดังนั้น นิยามของสัตว์สีเผือกในภาคอีสานจึงมีลักษณะแทนลางบอกเหตุหรือสิ่งผิดปกติ มีความหมายสองนัย กล่าวคือ สัตว์สีเผือกนัยยะของการทำลาย และสัตว์สีเผือกนัยยะของการคุ้มครอง อนึ่ง น่าสังเกตว่า ตำนานเหล่านี้มีการเล่าเรื่องกระจายอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนและตอนกลางเท่านั้น

 

                                                                                        Abstract

          This purpose of this research was to study the legend of ruined city which was transformed to a lake in North Eastern region by using Tale Conceptual Model and Folklore’s Motifs as follows:

          The study found that it had 10 stories from 30 chapters, which are categorized into 5 motifs by the consumption of white eels, white squirrel, white catch fish, white muntjac, and white soft-shelled turtle. The main reason of ruined city is caused by power of the white animals which are considered as a representative of “Naga” and the wrath of  Naga.

           It is remarkably noticed that white animals were representative of “Naga” and “Wrath" whereas Pan City legend was raised white mongoose to be the guardian of the city which is different from others. 

           Therefore, the meaning of white animals in North Eastern region was the representative of bad omen, or unusual phenomenon consists of 2 significant meanings which can be both of the wrath and the guardian,  and these legends have existed in North Eastern and Central Eastern only.

 

 

 

Author Biography

อนันต์ ลากุล, สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

MAJOR THAI FACULTY OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES

References

กิ่งแก้ว อัตถาวร. (2519). “แง่คิดจากนิทานเปรียบเทียบ แบบเรื่องนางสิบสอง” คติชนวิทยา. เอกสารนิเทศการศึกษา ฉบับที่ 184. หน่วยศึกษานิเทศก์กรมการฝึกหัดครู.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสกลนคร. คุรุสภาลาดพร้าว, กรุงเทพฯ.

______. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดอุดรธานี. คุรุสภาลาดพร้าว, กรุงเทพฯ.

งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด. (2556). ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม. ข้อมูลสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2556 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด.

ชุพง เหล่าประเสริฐ. (2559). สัมภาษณ์. ราษฎร. บ้านเลขที่ 150 หมู่ 11 บ้านกำเนิดเพชร (ตากแดด) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย.

ดวงจันทร์ ชาญนรา. (2559). สัมภาษณ์. ราษฎร. บ้านเลขที่ 197 หมู่ 2 บ้านเชียงแหว ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี.

เตียม ปุ่งคำน้อย. (2559). สัมภาษณ์. ราษฎร. บ้านเลขที่ 38 หมู่ 5 บ้านซงน้ำพุ ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนแก้ว จังหวัดสกลคร.

ถนอม ปลาโมค. สัมภาษณ์. ราษฎร. บ้านเลขที่ 84 หมู่ 10 บ้านศาลา ตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด.

ทองจันทร์ บัวสอน. (2559). สัมภาษณ์. ราษฎร. ตำบลเมืองหงส์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด.

ปฐม หงส์สุวรรณ. (2550). กาลครั้งหนึ่ง: ว่าด้วยตำนานกับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

______. (2553). แม่น้ำโขง: ตำนานปรัมปราและความสัมพันธ์กับชนชาติไท. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาสารคาม.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2543). นิทานพื้นบ้านศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการ เผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

______. (2533). “ตำนานเมืองร้อยเอ็ดอุรังคนิทาน” การรวบรวมตำนานพื้นบ้านในจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาใสินธุ์. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม รวบรวมและพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2533.

ผ่องพันธ์ มณีรัตน์. (2529). มานุษยวิทยากับการศึกษาคติชาวบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระครูสันทราย ปัญญาพโล. (2559). สัมภาษณ์. ราษฎร. เจ้าอาวาสวัดเกาะแก้ว บ้านธาตุ ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 497.

รื่นฤดี สุจิมงคล. (2559). สัมภาษณ์. ราษฎร. บ้านเลขที่ 40 หมู่ 5 บ้านนาทรายขาว ตำบลดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย.

วรารัตน์. (2548). ตำนานพื้นบ้านภาคอีสาน. สำนักพิมพ์บ้านหนังสือ 19 จำกัด. กรุงเทพฯ.

วัฒนา ช้างรักษา. ตำนานพื้นบ้าน : พระธาตุนางเพ็ญ. อุดรธานี: ไอโอนิคเพรส, 2551.

ศิราพร ณ ถลาง. (2548). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริ กาลกฤษณ์. (2557). อุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) ที่ระลึก ในงานพระนาชทานเพลิงศพ อ.ต.หลวงประชุมบรรณสาร(พิณ เดชะคุปต์) วันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2483 ณ สุสานวัดมกุฎกษัตริยาราม. พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทยเขษม หน้าวัดราชบพิธ ถนนเฟื่องนคร พระนคร นายบำรุงราชบทมาลย์ ผู้พิมพ์โฆษณา 2483.

สุรศักดิ์ โสภากุล. (2559). สัมภาษณ์. ราษฎร. บ้านเลขที่ 98 หมู่ 10 บ้านเดียม ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี.

สมพร แซ่ไชย. (2559). สัมภาษณ์. ราษฎร. บ้านเลขที่ 40 หมู่ 5 บ้านนาทรายขาว ตำบลดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย.

อร่าม เสาวนนท์. (2559). สัมภาษณ์. ราษฎร. บ้านเลขที่ 97 หมู่ 11 บ้านกำเนิดเพชร (ตากแดด) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย.

อาชญาเจ้าพระอุปราช พร้อมด้วยบุตรภรรยา. (2483). อุรังคธาตุ(ตำนานพระธาตุพนม) ที่ระลึก ในงานพระนาชทานเพลิงศพ อ.ต.หลวงประชุมบรรณสาร(พิณ เดชะคุปต์) วันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2483 ณ สุสานวัดมกุฎกษัตริยาราม. พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทยเขษม.

อารี ถาวรเศณษฐ์. (2546). คติชาวบ้าน ความเชื่อ การละเล่น เพลงพื้นเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 1.

กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

Downloads

Published

2018-01-03

How to Cite

ลากุล อ., & ตุลารักษ์ อ. (2018). แบบเรื่องและอนุภาคสัตว์สีเผือกในตำนานเมืองล่มภาคอีสาน; Tale Type and White Animal’s Motifs In Ruined City Legends of North Eastern Regio. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 6(2), 37–50. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/92486

Issue

Section

บทความวิจัย