ภาพแทนผู้หญิงในวรรณกรรมรักโรแมนติกสำหรับผู้ใหญ่ของสำนักพิมพ์ไลต์ ออฟ เลิฟ: The Representation of Women in Young Adult Romantic Literature Produced by Light of Love Publisher

Authors

Keywords:

ภาพแทน, วรรณกรรมรักโรแมนติกสำหรับผู้ใหญ่, ปิตาธิปไตย, Representation, Young adult romantic literature, Patriarchy

Abstract

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพแทนของผู้หญิงในวรรณกรรมรักโรแมนติกสำหรับผู้ใหญ่   ที่ผลิตโดยสำนักพิมพ์ไลต์ ออฟ เลิฟ จำนวน 10 เรื่อง โดยใช้แนวคิดเรื่องภาพแทน ศาสตร์แห่งเรื่องเล่า  และสตรีนิยม ผลการศึกษาพบว่า  ตัวละครเอกฝ่ายหญิงเป็นภาพแทนของผู้หญิงที่มีสถานะเป็นวัตถุทางเพศ  ผู้ให้กำเนิดทายาท และภรรยาของตัวละครเอกฝ่ายชาย  บทบาทดังกล่าวนำเสนอผ่าน การผสมผสานโครงเรื่องแบบรักพาฝันเข้ากับฉากเชิงสังวาส  การนำเสนอลักษณะตัวละครแบบอุดมคติด้านรูปลักษณ์ สถานภาพทางสังคม และค่านิยม  การตั้งชื่อเรื่องและชื่อตัวละครฝ่ายชายที่กำหนดบทบาทตัวละครฝ่ายหญิง การตั้งชื่อตัวละครฝ่ายหญิงในเชิงสัญลักษณ์ที่สะท้อนค่านิยมแบบจารีต  และการเร้าจินตนาการผู้อ่านด้วยองค์ประกอบของเรื่องที่ขัดแย้งกัน ได้แก่ ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ อุปนิสัย และสถานภาพทางสังคม   ตลอดจนการนำเสนอรูปแบบความรักแบบสุขนาฏกรรมผสมผสานกับพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศของตัวละคร การนำเสนอภาพแทนดังกล่าว สะท้อนวิธีคิดแบบปิตาธิปไตย ที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์วรรณกรรมของนักประพันธ์หญิงของไทย

 

                                                                                  Abstract

          This article aims to analyze the representation of women in young adult romantic literature produced by Light of Love publisher from 10 issues by applying the concept of representation, story-telling techniques and feminism. It founds that female protagonist is represented as sex object, mother and wife for male protagonist. Such roles are represented from following components; romantic plot and erotic scene, idealization of characters in terms of figure, social status and value, emphasizing female roles as objectiveness through novel titles and male protagonist name,  showing traditional Thai virtues from female names, fantasying readers imagine from opposite and differences of nationality, characteristics of habits and status of male and female characters, and contrasting of romantic plot and sexual harassment scene. Such representation reflects to the influence of patriarchy system on Thai female writer creation.

Author Biography

Vannaporn - Phongpheng, Faculty of Liberal Arts Mahidol University

Department oF Thai

References

กัณฑ์กนิษฐ์.(๒๕๕๙). เมียเก็บจอมอหังการ. กรุงเทพฯ : ไลต์ ออฟ เลิฟ.

กานต์มณี. (๒๕๕๙). เกมล่าวิวาห์หวาม. กรุงเทพฯ : ไลต์ ออฟ เลิฟ.

แก้วชวาลา. (๒๕๕๙). วิวาห์มหาเศรษฐีจอมสลัดเถื่อน. กรุงเทพฯ : ไลต์ ออฟ เลิฟ.

ชมภูนุช ฉัตรนภารัตน์. (๒๕๓๓). การศึกษาบทพรรณนาโวหารในนิยายพาฝัน. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต,

ญาสุมินทร์. (๒๕๕๙). ลิขสิทธิ์รักมาเฟีย. กรุงเทพฯ : ไลต์ ออฟ เลิฟ.

นพพร ประชากุล., (๒๕๕๒) “ภาพลักษณ์ของชายกับความคาดหมายของหญิง” ใน ยอกอักษรย้อนความคิด เล่ม ๑. กรุงเทพฯ.

นัฐฐา เกตุประทุม. (๒๕๔๗). ศึกษาปัญหาสิทธิสตรีในนวนิยายที่ได้รับรางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนา หนังสือแห่งชาติ. การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี

นิ่มแก้ว. (๒๕๖๐). มาเฟียพันเล่ห์. กรุงเทพฯ : ไลต์ ออฟ เลิฟ.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (๒๕๕๔). รักโรแมนติกในมุมมองสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. วารสารทางวิชาการสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปีที่ ๒๓(๑).

เปรมกมล นาคขาว. (๒๕๔๗). นวนิยายอีโรติก : การศึกษาเชิงวิเคราะห์. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม

พรรณนารา. (๒๕๖๐). ร้อนรักเหยี่ยวทะเลทราย. กรุงเทพฯ : ไลต์ ออฟ เลิฟ.

พรสวรรค์ สุวรรณธาดา. (๒๕๕๒). นักเขียนนวนิยายสตรีกับการนำเสนอมโนทัศน์สตรีนิยมในนวนายร่วมสมัย.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม

พิราวรรณ สังขจันทร์. (๒๕๕๐). ศึกษาศิลปะการใช้ภาษาและกลวิธีการสร้างตัวละครในเรื่องสั้นอีโรติก ของ สุจินดา ขันตยาลงกต. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ

เพชรศิริ โยคะสิงห์. (๒๕๔๓). แนวคิดสตรีนิยมในเรื่องสั้นของนักเขียนหญิงร่วมสมัย (พ.ศ. 2533-2540). ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศุภมาลย์. (๒๕๕๙). รักสะท้อนทรวงเพลย์บอย. กรุงเทพฯ : ไลต์ ออฟ เลิฟ.

ศุภร จารุจรน. (๒๕๔๑). ลักษณะแบบฉบับของตัวละครในนวนิยายพาฝันระหว่างปีพุทธศักราช 2480-2516. การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สิขรินทร์ สนิทชน. (๒๕๕๗). นวนิยายแนว Romantic Suspense ของไทย. อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

สิทธา พินิจภูวดล. (ม.ป.ป.). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิระสา. (๒๕๕๙). สามีพันล้าน. กรุงเทพฯ : ไลต์ ออฟ เลิฟ.

สุนิตย์. (๒๕๕๙). เถื่อนรักจอมมาร. กรุงเทพฯ : ไลต์ ออฟ เลิฟ.

สุพัชริณทร์ นาคคงคำ. (๒๕๕๖). ภาพแทนสตรีไทยในนวนิยายอีโรติกของนักเขียนชายไทย. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่

เสนาะ เจริญพร. (๒๕๔๘). ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. กรุงเทพฯ : มติชน.

อัยย์ญาดา. (๒๕๕๙). ยั่วรักอสูรร้าย. กรุงเทพฯ : ไลต์ ออฟ เลิฟ.

อิราวดี ไตลังคะ. (๒๕๔๓). ศาสตร์ศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : กรุงเทพฯ.

เอมอร ชิตตะโสภณ. (๒๕๓๙). จารีตนิยมทางวรรณกรรมไทย : การศึกษาวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่. หน้า ๑๓๓

Downloads

Published

2017-07-25

How to Cite

Phongpheng, V. .-. (2017). ภาพแทนผู้หญิงในวรรณกรรมรักโรแมนติกสำหรับผู้ใหญ่ของสำนักพิมพ์ไลต์ ออฟ เลิฟ: The Representation of Women in Young Adult Romantic Literature Produced by Light of Love Publisher. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 6(2), 20–36. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/86194

Issue

Section

บทความวิจัย