กลวิธีทางภาษาสื่อวาทกรรมหญิงรักหญิงในนิตยสาร @ tom actz; Linguistic Strategies in Female Homosexuality Discourse Analysis of @tom actz Magazines

Authors

  • พิมพ์วดี รุ่งเรืองยิ่ง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โสภี อุ่นทะยา ผู้สอนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสาาคาม

Keywords:

วาทกรรม, อุดมการณ์, หญิงรักหญิง, discourse, ideologies, lesbian

Abstract

กลวิธีทางภาษาสื่อวาทกรรมหญิงรักหญิงในนิตยสาร @ tom actz


บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาในนิตยสารแอดทอแอ๊คที่เริ่มตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2550 – 2557 เป็นระยะเวลาทั้งหมด 8 ปี จำนวน 43 ฉบับ 191 คอลัมน์ โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ แนวคิดกลวิธีทางภาษา แนวคิดสัญวิทยา แนวคิดภาพแทนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ เพศสภาวะ และสื่อมวลชน ผลการวิจัยพบว่าในด้านการวิเคราะห์ตัวบทผู้ผลิตนิตยสารใช้กลวิธีการใช้ภาษา 5 รูปแบบ ได้แก่ การเลือกใช้ศัพท์ การใช้มูลบท   การใช้ทัศนภาวะการอ้างถึง และการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ในการประกอบสร้าง “ความเป็นหญิงรักหญิง” บางประการขึ้นมาคือ1) ชุดความคิดเกี่ยวกับ “หญิงรักหญิงเป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล”             ด้วยกลวิธีการใช้ภาษาคือ การเลือกใช้คำ และการอ้างถึง สะท้อนให้เห็นความอิสระของการเลือกวิถีทางเพศจากรสนิยมทางเพศของตนเอง 2) ชุดความคิดเกี่ยวกับ “หญิงรักหญิงไม่สามารถหลุดพ้นความคิดปิตาธิปไตยได้” โดยผู้เขียนนิตยสารเลือกใช้กลวิธีการใช้มูลบท และกลวิธีการตั้งคำถามเชิงวาทศิลป์ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของชุดความรู้ในเรื่องเพศกระแสหลัก ในการประกอบสร้างความจริงที่ฝั่งแน่นในวิถีวัฒนธรรมของคนในสังคม เพศวิถีแบบหญิงรักหญิงจึงยืมบทบาทหน้าที่ของความเป็นชาย-ความเป็นหญิงมาใช้ในการดำเนินชีวิต 3) ชุดความคิดเกี่ยวกับ “การสร้างความเป็นอื่นของหญิงรักหญิง” โดยการใช้กลวิธีทางภาษาแบบการใช้ทัศนะภาวะ สะท้อนให้เห็นการแบ่งแยกความเป็นอื่นระหว่างเพศกระแสหลักกับกลุ่มหญิงรักหญิง ลักษณะของข้อความจึงตีความไปในเรื่องของการต่อสู้ เพราะมีแนวคิดความเป็นอื่นเข้ามานิตยสาร@ tom actz จึงเปรียบเสมือนพื้นที่ในการเป็นกระบอกเสียง เพื่อแก้ไขอคติและความเข้าใจผิดนี้ ยอมรับในความเป็นตัวตนที่แตกต่างหลากหลายซับซ้อน และลื่นไหลทางเพศสภาวะ เพื่อนำไปสู่การปรับทัศนคติและพฤติกรรม ตลอดจนสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันในสังคม

คำสำคัญ: วาทกรรม, อุดมการณ์, หญิงรักหญิง

 

The Relationship between Language and Ideology in Female Homosexuality Discourse Analysis of @tom actz Magazines

Abstract

          This thesis aims to study the relationship between linguistic devices and ideology of female homosexuality in Thai magazine namely @tom actz, using conceptual framework of critical discourse analysis approach or CDA, linguistic strategies, semiology, representation and research studies in ideology, gender and mass media. The sources of the data that were analyzed included 43 issues of @tom actz, published from 2008-2014 by selecting a total of 191 columns of interview and correspondence.

          The research found that 5 linguistic strategies which are lexical selection, presuppositions, modality, referencing and rhetorical question reflect three notions of the ideology of “female homosexuality” i.e. (1) lesbian rights reflected by using of lexical selection and referencing strategies to create the freedom of sexualities and sexual orientation of lesbian, (2) patriarchal ideology reflected by using of presuppositions and rhetorical question strategies to support male and female roles of lesbian- the tomboy and lady in Thai’s context, (3) the Other ideology reflected by using of modality strategy to reflect gender difference and discrimination between patriarchal lesbian and feminine lesbian. The statements reflected the struggle of being acceptable in society of lesbian. Moreover, the @ tom actz magazine also encouraged society to come to an understanding about lesbian, improving the attitudes and behaviors towards lesbian and acceptance a variety of complex differences of sex and sexualities of lesbian.Keywords: discourse, ideologies, lesbian

 

         

  


Downloads

Additional Files

Published

2017-05-09

How to Cite

รุ่งเรืองยิ่ง พ., & อุ่นทะยา โ. (2017). กลวิธีทางภาษาสื่อวาทกรรมหญิงรักหญิงในนิตยสาร @ tom actz; Linguistic Strategies in Female Homosexuality Discourse Analysis of @tom actz Magazines. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 6(1), 59–82. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/79234

Issue

Section

บทความวิจัย