พฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก (facebook) กับความฉลาดทางอารมณ์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา; Facebook Use Behavior and Emotional Quotient of Students in Songkhla Rajabhat University
Keywords:
พฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก, ความฉลาดทางอารมณ์, นักศึกษา, Facebook use behavior, Emotional quotient, StudentsAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ และเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาจำแนกตามความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ภาคปกติชั้นปีที่ 1 – 4 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ และร้อยละ และทดสอบความแตกต่างด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ตามองค์ประกอบด้านดี ด้านเก่ง ด้านสุข และโดยภาพรวมอยู่ในระดับปกติ (= 155.97) นักศึกษาส่วนใหญ่เข้าใช้เฟซบุ๊กวันละ 1 – 5 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่เข้าใช้มากที่สุดคือช่วงเวลากลางคืน (19.00 น.– 00.00 น.) ช่องทางที่เข้าใช้งานมากที่สุดคือ โทรศัพท์มือถือ/อุปกรณ์ส่วนตัว และรูปแบบที่เข้าใช้งานมากที่สุดคือการใช้เพื่อการสนทนาและเป็นช่องทางสื่อสาร เมื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาจำแนกตามความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก พบว่า นักศึกษาที่มีจำนวนชั่วโมงเข้าใช้เฟซบุ๊กต่อวันแตกต่างกันและนักศึกษาที่ใช้เฟซบุ๊กผ่านช่องทางที่แตกต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ตามองค์ประกอบด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุขแตกต่างกัน นักศึกษาที่เข้าใช้เฟซบุ๊กในช่วงเวลาที่แตกต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ตามองค์ประกอบด้านสุขแตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาที่มีรูปแบบเข้าใช้เฟซบุ๊กที่แตกต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ ตามองค์ประกอบทั้งสามด้านไม่แตกต่างกัน
Abstract
The objectives of this study were to investigate emotional quotient and facebook use behavior among students, and to compare facebook use behavior and emotional quotient among students. This research was quantitative research by survey method. The subjects of the study were 400 first-to-fourth year students in regular programs of Songkhla Rajabhat University. The data were collected using a questionnaire, and were analyzed using descriptive statistics of frequency and percentage, t-test and one-way ANOVA.
The study found that the students had the overall emotional quotient scores in terms of being smart, good, and happy at a normal level (xˉ = 155.97). Most of students use facebook 1-5 hours a day during 19.00 am. – 0.00 pm. through their mobile phone or other personal equipment. Most of them used it for chatting and as a communication channel. When comparing between facebook use behavior and emotional quotient, it was found that students with different length of time spent per day and different equipment in using facebook had different scores in being smart, good, and happy. Students who used facebook at different time were different in their emotional quotient scores in being happy, and students who used facebook for different purposes were not different in their emotional quotient scores in the three components.