การสืบทอดภาษาอีสาน; Isan Language Inheritance
Keywords:
ภาษาอีสาน, ภาษาถิ่น, การเรียนภาษาแม่, การสืบทอดภาษา, Isan language, Dialect, Mother tongue learning, Language heritanceAbstract
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้กล่าวถึงภาษาอีสานในหลายมิติได้แก่ ประวัติภาษา การพูดภาษาอีสาน อักขรวิธี พัฒนาการเรียนการสอน การพัฒนาระบบการเขียนภาษาอีสาน และแนวทางการสืบทอดภาษาอีสาน บทความนี้รวบรวมข้อมูลภาษาอีสานจากตำราที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์นักวิชาการทางด้านวัฒนธรรม และนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่การนำเสนอตามประเด็นการวิเคราะห์ พบว่า ปัจจุบันภาษาอีสานในฐานะภาษาถิ่นมีผู้พูดจำนวนมากทั้งในภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้วยังมีผู้พูดกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่ผู้เขียนยังมีจำนวนน้อย บทบาทของภาษาอีสานในปัจจุบันไม่เพียงเป็นเครื่องมือสื่อสารในท้องถิ่นเท่านั้น ภาษาอีสานยังมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่น สร้างความมั่นใจที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของท้องถิ่นด้วย ดังนั้นหลายหน่วยงานโดยเฉพาะภาครัฐจึงให้ความสำคัญกับการสืบทอดการเรียนรู้ภาษาอีสานแก่เด็กๆ อย่างไรก็ตามการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอีสานในระดับโรงเรียนยังมีข้อจำกัดหลายประการซึ่งหน่วยงานภาครัฐและคนอีสานเองจะต้องช่วยกันแก้ไขเพื่อหาแนวทางการสืบทอดภาษาอีสานให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป
Abstract
This article states Isan language in various dimensions: language history, usage, orthography, revitalization, teaching and learning, and language inheritance. The Isan language data were grouped from books and cultural academic interview. These data were categorized to present that Isan language as the main dialect of Isan or northeastern region through the country has an important role. The role of Isan language is not only communicational medium, but it also plays a crucial role in local identity and builds the confidence of person linking to local stability. Therefore, there are many government’s institutes that focus on the revitalization and learning Isan language for their children. However, the development of Isan language teaching and learning in schools still has several limitations that the government and Isan people should help together to find out how to maintain Isan language sustainably.