หมอลำ การแสดงพื้นบ้านอีสาน : ขุมทรัพย์แห่งความรู้และความบันเทิง ; Morlum Isan Folk Performance: The Treasure of Knowledge and Entertainment

Authors

  • อิศเรศ ดลเพ็ญ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

การแสดงพื้นบ้านอีสาน, บทบาท, ความรู้, ความบันเทิง, นักแสดงพื้นบ้าน, Isan folk performance, Roles, Knowledge, Entertainment, Folk performers

Abstract

บทคัดย่อ

 

          ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นของตัวเองแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หมอลำเป็นการแสดงพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย          มีท่วงทำนองการลำที่เป็นเอกลักษณ์คู่กับเสียงแคน กล่าวได้ว่า หมอลำ คือ สัญลักษณ์เชิงวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของภาคอีสาน หน้าที่หลักเชิงสังคมของการแสดงหมอลำคือ ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม ช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้าให้คนอีสานหลังจากตรากตรำจากงานหนักมาทั้งวัน ในปัจจุบัน การแสดงหมอลำได้ปรับเปลี่ยนไปจากอดีตในหลายๆ ด้าน รวมทั้งบทบาทของหมอลำที่มีต่อสังคมก็เปลี่ยนไปด้วย

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทของหมอลำในฐานะผู้ให้ความรู้แก่ผู้ชม  โดยต้องการศึกษาว่า ความรู้เหล่านั้นจำแนกเป็นความรู้ด้านใดบ้าง การศึกษาครั้งนี้ใช้ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม (the Structural Functional Theory) เป็นแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลของการศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมได้จากการลงพื้นที่ภาคสนามชมการแสดงหมอลำที่มีชื่อเสียงของภาคอีสานทั้งสิ้น 8 คณะ ได้แก่ คณะรุ่งทิวาอำนวยศิลป์ คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ คณะระเบียบวาทะศิลป์ คณะศิลปินภูไท คณะประถมบันเทิงศิลป์ คณะคำผุนร่วมมิตร คณะน้อมเกล้าลูกอีสาน และคณะแก่นนครบันเทิงศิลป์

          ผลการศึกษาพบว่า ความรู้ที่ได้จากการชมหมอลำสามารถจำแนกได้เป็น 5 ด้าน คือ 1) ความรู้ด้านประเพณีและวัฒนธรรม 2) ความรู้ด้านวิถีชีวิต 3) ความรู้ด้านสุขภาพ 4) ความรู้ด้านการเมืองและสังคม และ 5) ความรู้ด้านความเชื่อและศาสนา จากการศึกษาพบว่า หมอลำได้สอดแทรกความรู้แก่ผู้ชมควบคู่ไปกับความบันเทิงทั้งแบบทางตรงและทางอ้อม ถึงแม้ว่าผู้ชมตั้งใจมาชมการแสดงหมอลำเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก แต่ผู้ชมก็ได้รับความรู้ที่หมอลำสอดแทรกระหว่างการแสดงโดยไม่รู้ตัว ความรู้ที่ได้จากการชมหมอลำนี้เป็นเหมือนกลไกทางสังคมที่ช่วยควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้อาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข  นอกจากหมอลำจะให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมแล้ว หมอลำยังมีบทบาทเชิงสังคมในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมให้ดีและช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมได้ด้วย

 

Abstract

 

                Thailand has its own distinct cultures which share their identities diversely in each region. In Northeastern (Isan) Thailand, Morlum or Isan folk performance is a popular folk performance which is a traditional folk singing accompanied by musical rhythms and melodies produced by Mor Khaen. Morlum is regarded as one of cultural symbols of Northeastern region. The major social function of this folk performance is to entertain Isan people to be relaxed after working hard all day. Nowadays, Morlum performance is changed far to the past in many aspects including its roles in society.

            This paper aims to analyze the roles of Morlum performers in terms of giving knowledge to its audiences. The types of knowledge performed by Morlum performers were explored. The Structural Functional Theory is proposed to study research data. The data used in this paper were collected from the eight famous Morlum bands in Northeastern Thailand namely Rungthiwa Amnuajsilapa, Rattanasilapa Intathaiyaraj, Rabiab Watasilapa, Silapinphuthai, Prathom Bantheongsilapa, Khamphunruammitra, Nomklaw Luk-Isan, and Kaennakorn Bantheongsilapa.

            The finding reveals that there are five types of knowledge taught by Morlum performers to their audience. The types of knowledge are as follows: 1) tradition and cultures, 2) ways of life, 3) health behavior, 4) politics and society, and 5) beliefs and religion. It has been found that the Morlum performers always give the knowledge directly and indirectly to their audience together with humor. Although the audiences expect to join the performance for enjoyment, they indirectly get much knowledge from watching this folk performance. It has been also found that the knowledge taught by Morlum performers is used as social mechanisms to control the behavior of people to live together peacefully in society. Besides giving the enjoyment, Morlum performers have the social roles in making good society and getting rid of the conflicts occurring in present society.

Downloads

Published

2016-12-29

How to Cite

ดลเพ็ญ อ. (2016). หมอลำ การแสดงพื้นบ้านอีสาน : ขุมทรัพย์แห่งความรู้และความบันเทิง ; Morlum Isan Folk Performance: The Treasure of Knowledge and Entertainment. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 5(2), 56–71. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/73614

Issue

Section

บทความวิจัย