ปัจจัยการย้ายถิ่นไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีและความสัมพันธ์กับเครือญาติของแรงงานไทย

Authors

  • ขวัญนคร สอนหมั่น สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

แรงงานต่างประเทศ, แรงงานไทย, แรงงานย้ายถิ่น, overseas worker, Thai labour, worker migration

Abstract

บทความนี้ มุ่งศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่นไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี และแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานและเครือญาติในการย้ายถิ่นไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี  โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สมาชิกครอบครัวและเครือญาติผู้เกี่ยวข้องกับแรงงานที่ย้ายถิ่นไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ตลอดจนบุคคลที่อยู่ในชุมชน ที่มีการปฏิสัมพันธ์กับแรงงาน รวมทั้งสิ้น 30 ครัวเรือน ใน 3 พื้นที่ คือ จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ และอุดรธานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานและเครือญาติ ในประเด็นความสัมพันธ์กับคู่สมรส ความสัมพันธ์กับบิดามารดา ความสัมพันธ์กับบุตร และความสัมพันธ์กับพี่น้องนั้นทำให้เกิดภูมิคุ้มกันให้กับแรงงาน แรงงานมีโอกาสประสบความสำเร็จในการไปใช้ชีวิตในฐานะแรงงานในต่างประเทศ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเครียด และการแบกรับภาระหนี้สินให้กับครอบครัว


The Factors of Worker Migration in the Republic of Korea and the Pattern Relationship between Workers and Relatives

This article aims to study 1) the factors of worker migration in south korea 2) the relationship pattern between labour and relatives of worker’s migrant in South Korea. It is qualitative research methodology. Data were collected by interview and focus group Techniques including family members and relatives involved workers who migrated to work in The Republic of Korea. An Interaction with a total workforce of 30 households in three provinces; Chaiyaphum, Khon Kaen and Udonthani is analyzed by content analysis. The results show the relationship between labour and their kinship; spouse, parents, child, siblings. The pattern of relationship help to succeed in their life as overseas workers, In addition, it also reduces the risk of heat stress and the debt burden for the family.

Downloads

How to Cite

สอนหมั่น ข., & ธีระวิสิษฐ์ อ. (2016). ปัจจัยการย้ายถิ่นไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีและความสัมพันธ์กับเครือญาติของแรงงานไทย. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 2(2), 167–180. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/62693

Issue

Section

บทความวิจัย