การศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดการแรงงานลาวในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • จันทร์เพ็ญ เกตุสำโรง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

การจัดการแรงงานลาว, โรงงานอุตสาหกรรม, นายหน้า, Management, Industrial, Agent

Abstract

การศึกษาการจัดการแรงงานลาวในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเข้ามาเป็นแรงงานลาวในโรงงานอุตสาหกรรม ศึกษาระบบการจัดการแรงงานลาวในโรงงานอุตสาหกรรม  การศึกษาวิเคราะห์การจัดการแรงงานลาว ผู้ศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่ม โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ แรงงานลาว และผู้บริหาร ผู้ดูแลแรงงานลาว โรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 50 คน ช่วงเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2556 และการวิเคราะห์ข้อมูล จากการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า  1)  กระบวนการเข้ามาเป็นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ก่อนการเข้ามาทำงาน แรงงานลาวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และรับจ้าง การเดินทางมาทำงานที่ประเทศไทยผ่านนายหน้าจัดหางาน ทำเอกสารต่างๆ ให้แรงงานลาวทุกอย่าง การเดินจากประเทศลาวสู่ประเทศไทย นายหน้ามีรถมาส่งที่ด่านชายแดน โรงงานอุตสาหกรรม มีรถไปรับแรงงานลาวจากด่าน สู่โรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ใช้เวลาในกระบวนการ ทั้งสิ้น 2 เดือนถึง 1 ปี ใช้เงินประมาณ 2,500 บาท 2) โรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมามีระบบการจัดการแรงงานลาวเพื่อให้แรงงานลาวสามารถทำงานได้คือมีการจัดการชีวิตในการทำงาน การจัดการชีวิตหลังการทำงาน การจัดการค่าจ้างและสวัสดิการ รวมถึงการมีกฎระเบียบเพื่อจัดการกับปัญหาของแรงงานลาว 3)  การจัดการแรงงานลาวเชิงบูรณาการ ด้านคุณค่าแรงงานลาวได้รับความเป็นธรรมในการจัดการแรงงานของโรงงานอุตสาหกรรม ด้านประวัติศาสตร์มีการมองผ่านประวัติศาสตร์ว่าลาวกับไทยเป็นพี่น้องกัน  มีภาษาที่สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ดีทำให้เป็นเรื่องง่ายในการทำงานร่วมกัน ด้านวาทกรรมการให้ความหมายแก่แรงงาน ด้านประจักษ์การศึกษาแรงงานลาวทำให้รับรู้ความจริง ข้อเสนอแนะ โรงงานอุตสาหกรรมควรมีระบบการจัดการ ดูแลแรงงาน โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมและแรงงาน

 

The Industrial Laos Migrant Workers Management in Nakhon Ratchasima Province

The study on Lao workers industrial integrated management in Factory in Nakhon Ratchasima province aims to study about process of Lao workers migrant Moreover, to study on migrant Lao workers management in industry and also to analysis on  Lao workers in migrant management The quantity research is avenged by research to analysis the data The researcher collects the data by interviewing and group conversation  for gathering the data in detail the target groups are Lao workers, managers, and Lao workers consultant. There are fifty people in factory in Nakhon Ratchasima The schedule of collecting data is on mach to June, 2013 Analyzing data from information on the researcher knows that:

(1) process removed of the  Lao PDR was main and the agriculture farming and wage worker industries and there have passing broker at the  industry and there are pickup by border Laos-Thai to the factory an industries, and their  livelihood within two month to one year’s payment 2,500 Bart.

(2) Factory in Nakhon Ratchasima with workforce management systems to Laos is Lao workers to work with the management of work life. To manage life after work Pay and Benefits Management Including the regulations to deal with the problems of labor Laos. 

(3) Integrative analysis Lao workers. Laos has been labor value fairness in labor-management of industrial history. Laos and Thailand are brothers. A language that can communicate well understood, making it easy to work together to give meaning to the discourse of empirical labor. Education, Labor, Laos to the truth. Suggested factory industrial should be wage guard management system and may be pass participant during by wage and the factory industries.

Downloads

How to Cite

เกตุสำโรง จ., & ธีระวิสิษฐ์ อ. (2016). การศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดการแรงงานลาวในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 2(2), 151–166. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/62692

Issue

Section

บทความวิจัย