บทบาทพระสงฆ์ต่อการส่งเสริมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนจังหวัดเชียงราย

Authors

  • พระมหาประพันธ์ สิริปญฺโญ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นภัทร์ แก้วนาค วิทยาลัยการทัพอากาศ นาวาอากาศเอก กองทัพอากาศ

Keywords:

บทบาทพระสงฆ์, กลุ่มสัจจะออมทรัพย์, ความเข้มแข็งของชุมชน, sangha’s role, satja savings group, community strength

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ 2) บทบาทพระสงฆ์ต่อการส่งเสริมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนจังหวัดเชียงราย และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนากลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน โดยในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้กำหนดผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ (2) กลุ่มผู้ร่วมสนทนากลุ่มย่อย รวมจำนวน 35 รูป/คน การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิค 6 C’s Technique Analysis

ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยแสดงให้เห็นถึงบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์จังหวัดเชียงราย บทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมกลุ่ม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยผ่านกระบวนการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มในชุมชนนั้นๆ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์เป็นความสำเร็จที่เกิดจากหลักการส่งเสริมกลุ่มของพระสงฆ์ โดยผ่านกิจกรรมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ที่ผสมผสานหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาและหลักการพัฒนาเข้าด้วยกัน จนสามารถเชื่อมโยง คุณธรรม ความสามารถ ทรัพยากรเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน กลุ่มสัจจะออมทรัพย์เป็นกิจกรรมของประชาชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือกันและกัน ด้วยการฝากเงินและออมทรัพย์ร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสมทบทุนร่วมกันโดยอาศัยหลักการของสหกรณ์เป็นสำคัญ หลักการดำเนินงานจากการยึดมั่นในคุณธรรม ๕ ประการ คือ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นอกเห็นใจ และการให้เกียรติกัน โดยสมาชิกจะได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน สมาชิกกลุ่มจะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเป็นการปลูกฝังการมีส่วนร่วมในชุมชน เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่นเกิดความร่วมมือร่วมใจกันในชุมชน สิ่งเหล่านี้จึงทำให้กิจกรรมในการรวมกลุ่มของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ประสบความสำเร็จและมีสมาชิกเพิ่มขึ้นทุกปีทำให้เกิดผลต่อชุมชน คือการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง

บทบาทพระสงฆ์ต่อการส่งเสริมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนจังหวัดเชียงราย มีกระบวนการกลุ่ม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นแนะนำเตรียมการ ขั้นก่อตั้งกลุ่ม และขั้นดำเนินกิจกรรม ใน 4 บทบาท  คือ ปลุกจิตสำนึก ให้การเรียนรู้ ส่งเสริมคุณธรรม และให้คำปรึกษา โดยมีปัจจัยที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ คือ ปัจจัยภายในชุมชน คือ ผู้นำ สมาชิก การบริหารจัดการของกลุ่ม กระบวนการส่งเสริมกลุ่ม คุณธรรม การตอบสนองทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ปัจจัยภายนอกชุมชน คือ เครือข่ายตัวแบบ และหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ จนทำให้กลุ่มสามารถดำรงอยู่ได้อย่างเข้มแข็งต่อไป

แนวทางการพัฒนากลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนนั้น มี 4 ด้าน คือ  ด้านเศรษฐกิจ มีกองทุนหมุนเวียนในชุมชน เกิดทุนทางเศรษฐกิจในชุมชน ด้านสังคม การใช้บทบาทของพระสงฆ์ทั้ง 4 บทบาท พระสงฆ์ต้องการให้ชาวบ้านในชุมชนรวมตัวกันเพื่อสร้างพลังให้เกิดขึ้นกับชุมชนกับครอบครัวของชาวชุมชนเองผ่านกิจกรรมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ตลอดถึงการส่งเสริมหลักประชาธิปไตยให้เกิดในชุมชน ด้านวัฒนธรรม ชาวบ้านพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเองภายในชุมชน พระสงฆ์เสริมสร้างการเรียนรู้กับชนรุ่นหลัง พระสงฆ์และชาวบ้านช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามของตน ทำให้เกิดความสามัคคีอยู่ในชุมชนและเป็นปัจจัยต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และด้านสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านในชุมชนมีมาตรการในการรักษาสิ่งแวดล้อม และมีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

 

The Sangha’s Roles Towards the Satja Savings Group Promotion Affecting the Strength of the Community in Chiang Rai Province

The objectives of this research are to study 1) the theories, concepts and Buddhist principles about the Satja Savings Group to examine, 2) the general condition of the sangha’s roles towards the Savings Group, affecting the community strength of Chiang Rai province, 3) the propose guidelines for the development of the sangha’s roles in the Savings Group promotion which affects the community strength in Chiang Rai province. In this research, the research method is the Qualitative Research, the researcher has determined the participants of this research which were divided into two groups: (1) the key informants which refer to the experts who concern with the Satja Savingss Group which comprise of the president of the  Savings Group, the vice president of the group, the committee board, the group members and the social welfare academician (2) the group discussion members which refer to 35 monks/persons of experts, savants and stakeholders. The data collection is using the in-depth interview and the focus group discussion. The analysis is using the qualitative data analysis, 6 C’s Technique. The analysis results have found that

In this research, the researcher will show the sangha’s role in the Satja Savings Group promotion, Chiang Rai province. The important role is the promoting the community organization to strengthen the community via the activity process of the community. The Satja Savings Group is the success of sangha’s group establishing promotion via the Savings Group activities, mixed with The Buddhist Dharma and the development principle. It’s the linkage of morals, ability and resource to create the sustainable participatory development process. Its objective is to join donating by using the co-operative principle. This creates the Savings habit, the members can save money and utilize it to develop their career and to solve their financial problem by borrowing. They operate it by using 5 moral principles: honesty, sacrifice, responsibility, sympathy and honoring. The members will be equally benefited. They will learn about activity organizing which helps them have community participation. Respecting others’ opinion, bring about participation in the community. These factors cause the activity gathering of the Satja Savings Group successful and have more members each year. The community is reinforced by their benefit.

In general condition of the sangha’s role in establishing the Satja Savings Group, affecting the community strength in Chiang Rai province and the sangha’s roles in promoting the Satja Savings Group, Chiang Rai have 3 steps in the procedure: advice and preparation, group establishing and implementation in 4 roles: the consciousness raising, learning supporting, morals promoting and counseling. The strength supporting of the Satja Savings Group is the community internal factors such as leader, member, group management, group promoting, morals and socio-economic response. The community external factors such as network, model, working agency and organization. These factors can sustain the group’s strength.

The path of the sangha’s role towards the Satja Savings Group, affecting the community strength of Chiang Rai province has 4 aspects: economic (there is current fund in the community), social (by the sangha’s 4 roles: they want the people in the community join together to make their community and family stronger by the activities of the Satja Savings Group, to learn about teamwork and the democracy supporting), cultural (people help one another intra-community, sanghas support the descendant’s learning, all of them conserve their fine culture, this can make unity and sustainable development) and environmental (people in the community create the measurement to protect the environment and have environmental consciousness).

Downloads

How to Cite

สิริปญฺโญ พ., สุยะพรหม ส., & แก้วนาค น. (2016). บทบาทพระสงฆ์ต่อการส่งเสริมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนจังหวัดเชียงราย. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 3(1), 89–108. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/62599

Issue

Section

บทความวิจัย