การประยุกต์ใช้แนวคิดการตลาดสีเขียว กรณีศึกษา: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมขิดบ้านอูบมุงเหนือ

Authors

  • จุฬากาญจน์ มุ่งพุทธรักษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิภาวี กฤษณะภูติ สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

การประยุกต์ใช้แนวคิดการตลาดสีเขียว, วิสาหกิจชุมชน, Application, Green Marketing Concept, Community Enterprise

Abstract

การศึกษาอิสระนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงาน 2) ศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดการตลาดสีเขียว และ 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมขิดบ้านอูบมุงเหนือ ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาจำนวน 10 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แนวทางการสัมภาษณ์ และได้วิเคราะห์ผลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า สภาพการดำเนินงาน มี 9 ขั้นตอนด้วยกันโดย  เริ่มจากการจัดตั้งกลุ่ม การบริหารจัดการกลุ่ม การวางแผนการผลิต การจัดการการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การประชาสัมพันธ์ การเงินไปจนถึงการทำบัญชี อนึ่งในการประยุกต์ใช้แนวคิดการตลาดสีเขียวในกระบวนการการผลิตของกลุ่มนั้นพบว่า การเข้าร่วมโครงการการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการตรวจวัดและประเมินผลภายใต้หลักเกณฑ์ทั้ง 13 ข้อ ซึ่งกรมฯ ได้พัฒนาหลักเกณฑ์ดังกล่าวจากหลักการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือเทคโนโลยีสะอาด โดยพบว่ากลุ่มได้ผ่านการประเมินในระดับดีมาก สำหรับการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคนั้นพบว่า ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายหมักโคลนและรางวัลมาตรฐานจากโครงการฯคือจุดแข็งและข้อได้เปรียบคู่แข่งในตลาด ในขณะที่ศักยภาพและทัศนคติของสมาชิกกลุ่มคือจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข ส่วนปัจจัยภายนอกนั้น นโยบายและการจัดหาตลาดของหน่วยงานรัฐบาลและเอกชน นับเป็นโอกาสที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามปัญหาการเมืองและการโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งเจ้าหน้าที่ที่เกิดขึ้นบ่อยคืออุปสรรคในการดำเนินงานของกลุ่ม

 

Application of the Green Marketing Concept of Community Enterprise Group: A Case Study of Oobmoongnea Khid Silk Weaving Group

This independent study is qualitative research.  The objectives are to 1) study the operation of the group2) study the application of the green marketing concept and 3) analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats to the North OubMungKhid Silk Weaving Group.  The informants were ten cases.  Data were collected using interview guideline and analyzed using the descriptive analysis method. 

Results showed that there were nine steps of operation to the process starting from group establishment, group administration, production planning, production management, production improvement, marketing, public relations, finance, and accounting.  The group joined the project of environmental friendly production organized by the Department of Environmental Quality Promotion under the Ministry of Natural Resources and Environment in order to start applying the green marketing concept into its production process.  The project set up an evaluation with thirteen rules developed from the principle of clean environment or clean technology management.  The group passed the evaluation with a level of very good.  The strengths of the group were the uniqueness of clay-soaking process and to dye the cotton qualifying for an award from the project.  The weaknesses of the group were potential and attitude of the group members.  The policy of the government and market provided by government and private sectors were great opportunities for the group.  The threats for the group were political problems and government officers being transferred, which occurred quite often and affecting in the group’s operation. 

Downloads

How to Cite

มุ่งพุทธรักษา จ., & กฤษณะภูติ ว. (2016). การประยุกต์ใช้แนวคิดการตลาดสีเขียว กรณีศึกษา: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมขิดบ้านอูบมุงเหนือ. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 3(2), 143–170. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/62579

Issue

Section

บทความวิจัย