การกำหนดวาระข่าวสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง ศึกษากรณีการกำหนดวาระข่าวสารไทยพลัดถิ่นผ่านสื่อสาธารณะ

Authors

  • ภัทราภรณ์ ศรีทองแท้ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

การกำหนดวาระข่าวสาร, การเปลี่ยนแปลง, ไทยพลัดถิ่น, The agenda setting, Change, Thai diaspora

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) สื่อมวลชน และบุคคลสำคัญที่กำหนดวาระไทยพลัดถิ่นของภาคประชาชน เพื่อศึกษาการกำหนดวาระไทยพลัดถิ่นของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส รวมถึงการมีส่วนร่วมในการกำหนดวาระไทยพลัดถิ่นผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสของเครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทย ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดวาระไทยพลัดถิ่น เพื่อทราบถึงการกำหนดวาระที่มาจากส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ผลการศึกษาพบว่าการกำหนดวาระข่าวสารไทยพลัดถิ่นของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเป็นการสื่อสารกำหนดวาระข่าวสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ทางการสื่อสาร กล่าวคือ การกำหนดวาระข่าวสารดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงให้เกิดการแก้ไขกฎหมายสัญชาติ ฉบับที่ 4 โดยตราพระราชบัญญัติ สัญชาติ (ฉบับที่ 5) ให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย อันเป็นการรับรองสถานะความเป็นคนไทยแก่คนไทยพลัดถิ่นซึ่งมีเชื้อสายไทยแต่ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่นโดยเหตุอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในอดีต โดยผลการศึกษาพบว่า ในการกำหนดวาระข่าวไทยพลัดถิ่นของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสมาจากสองภาคส่วนที่สำคัญคือ การกำหนดวาระข่าวสารไทยพลัดถิ่นโดยสื่อมวลชนและการกำหนดวาระข่าวสารไทยพลัดถิ่นโดยเจ้าของประเด็นหรือเจ้าของปัญหาเพื่อขยายผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วยการสื่อสารขยายผลใน 3 ระดับ ได้แก่ การสื่อสารเพื่อขยายผลในระดับสื่อมวลชน การสื่อสารเพื่อขยายผลในระดับเจ้าของประเด็น และการสื่อสารเพื่อขยายผลในระดับพื้นที่ชุมชนและเครือข่ายเพื่อสร้างชุดความคิดใหม่ทางสังคมอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ดังนั้น ในการกำหนดวาระข่าวสาร จึงควรถูกยกระดับมากกว่าการเป็นผู้ทำหน้าที่กำหนดประเด็นให้แก่สังคมว่าเรื่องใดสำคัญเท่านั้น หากแต่ต้องยกระดับไปสู่การสื่อสารกำหนดวาระข่าวสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

 

The Agenda Setting for Change: Agenda Setting of Thai Diaspora on Public Service Broadcasting Case

This thesis aims to study about the agenda setting for change: agenda setting of Thai diaspora on public service broadcasting case. A qualitative research methodology was used and in-depth interviews were conducted within the media sector, consisting of the Board of Governors of Thai Public Broadcasting Service in Mass Media, Managing Director, Director of Civil Media Network Department, Specialists in Civil Media, Reporters and Civil Media Development Officers who are related to the agenda setting of Thai diaspora in the media sector. In-depth interviews with key persons in the agenda setting in the people sector, consisting of leaders and working groups or members of the Solution Network of Thai Nationality were also conducted to study the Thai PBS’s agenda setting of Thai diaspora. The objectives also include to study the Solution Network of Thai Nationality participation in the agenda setting on Thai PBS and to study the factors affecting the agenda setting to learn where each agenda came from in order to bring about a change. The study results that: the agenda setting of Thai diaspora on Thai PBS was the communication for change. This change, in other words, was the change that has led to the legislative amendments to the Nationality Act No.4. It made the Nationality Act No.5 become effective in order to guarantee citizenship to the displaced people of Thai descent who have become subject to a foreign country as a result of a change in Thai territory in the past. The study result found that the agenda setting of Thai diaspora on Thai PBS came from two important sectors— the mass media and the people who have faced problems themselves. The objectives were to extend results for social change by using three levels of expansion of communication which are the mass media level, the troubled people level and the community and network level in order to create a new set of social concept which leads to the change.

Even though there are public contribution on setting agenda but the agenda might not be easily responded by policymaker or government sector therefore any agenda or social issue setting should be elevated in order to change the role on agenda setting to the role that will make change to the society.

Downloads

How to Cite

ศรีทองแท้ ภ. (2016). การกำหนดวาระข่าวสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง ศึกษากรณีการกำหนดวาระข่าวสารไทยพลัดถิ่นผ่านสื่อสาธารณะ. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 3(2), 19–46. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/62564

Issue

Section

บทความวิจัย