ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความขัดแย้งของผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

Authors

  • ใบบุญ อุปถัมภ์ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การจัดการความขัดแย้ง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, Transformational leadership, Conflict management, Local Administrative Organization

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  2) ศึกษาวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  

วิธีวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำที่เกี่ยวข้องจากกลุ่มตัวอย่าง  แยกเป็นกลุ่มตามตำแหน่งใน  5  ตำแหน่ง ตำแหน่งละ 9 คน รวมทั้งหมดจำนวน 45 คน ได้แก่ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หัวหน้าสำนักปลัด  ผู้อำนวยการกองคลัง  และผู้อำนวยการกองช่าง  แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)   

ผลการศึกษาพบว่า  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อพิจารณาทั้ง  4  ด้าน  ประกอบด้วย  ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized Influence) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration Motivation) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation) และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration) พบว่า ผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภาวะผู้นำในตนเองและสามารถนำภาวะผู้นำออกมาใช้ได้กับเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามสถานการณ์และประสบการณ์ของตนเอง   

วิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อพิจารณาทั้ง 5 วิธี  ประกอบด้วย การเอาชนะ (Competition) การยอมให้ (Accommodation) การหลีกเลี่ยง (Avoiding)  การร่วมมือ (Collaboration)  และการประนีประนอม (Compromising)  พบว่า  ผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลือกใช้ทุกวิธีในการจัดการความขัดแย้ง แต่จะมีวิธีการเลือกใช้และมีความคิดเห็นต่อวิธีการนั้น ๆ แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนวิธีการจัดการความขัดแย้งที่ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความคิดเห็นที่ตรงกัน มี 2 วิธี คือ การเอาชนะ (Competition) และการร่วมมือ (Collaboration) และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสัมพันธ์ในลักษณะคล้อยตามกัน

 

Transformational  leadership  and  conflict  management  of  leader  in  Local  Administrative  Organization  of  Chiangyuen  District  area,  Mahasarakham  Province

The objectives of this study were 1) to investigate the transformational leadership of leaders in a Local Administrative Organization, 2) the conflict management of the transformational leaders in the Local Administrative Organization, and 3) the relationship between transformational leadership and conflict management of the leaders in the Local Administrative Organization.

This descriptive research employed a questionnaire and interview to collect the data from 45 administrators of the Local Administrative Organization and analyzed the collected data through a content analysis. Participants were divided by position. There were 5 positions, 9 from each position, which consisted of Chief Executive of Local Administrative Organization, Chief Administrator of Local Administrative Organization, Head of the Office of the Permanent Secretary, Director of Finance Division, and Director  of  Public Works Division.

Data analysis in the present study included four aspects of transformational leaders: idealized influence, inspiration motivation, intellectual stimulation, and individualized consideration. The results showed that the leaders in the Local Administrative Organization had the self-leadership and the abilities to apply the leadership experience to different situations.

Besides, other five aspects, which are, competition, accommodation, avoiding, collaboration, and compromising, were taken into account to analyze the conflict management of the leaders from the Local Administrative Organization. The finding demonstrated that the leaders of the Local Administrative Organization tended to employ all five aspects for the conflict management in different ways depending on his/her experience and situations. The common conflict management used by the leaders of the Local Administrative Organization was competition and collaboration. The relationship between transformational leadership and conflict management among the leaders of the Local Administrative Organization is a consistent correlation.

Downloads

How to Cite

อุปถัมภ์ ใ. (2016). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความขัดแย้งของผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 4(1), 15–30. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/62538

Issue

Section

บทความวิจัย