การจัดการชุมนุมทางการเมือง

Authors

  • ยรรยง ผิวผ่อง วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

การชุมนุมทางการเมือง, Political demonstration

Abstract

การวิจัยนี้มุ่งอธิบายวิธีการจัดการชุมนุมทางการเมืองและกลยุทธ์ที่ใช้ในการชุมนุมของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ในช่วงวิกฤติการณ์การเมืองไทยระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึงปี พ.ศ. 2557 โดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมรวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 15 คน ประกอบด้วย แกนนำผู้จัดชุมนุม นักการเมือง และประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุม

ผลการศึกษาพบว่า การชุมนุมทางการเมืองจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีประเด็นหรือเงื่อนไขทางการเมืองเกิดขึ้นก่อนเสมอ เมื่อต้องการให้การชุมนุมทางการเมืองประสบผลสำเร็จได้ วิธีการจัดการชุมนุมทางการเมืองควรเริ่มตั้งแต่ การวางแผนและกำหนดเป้าหมายการชุมนุมที่ชัดเจน แกนนำการชุมนุมมีความน่าเชื่อถือและมีประสบการณ์ทางการเมือง มีการระดมผู้เข้าร่วมการชุมนุมอย่างเป็นระบบ สถานที่และทรัพยากรสำหรับใช้การชุมนุมมีพร้อมที่เอื้อต่อการจัดการชุมนุม การจัดการข้อมูลและการสื่อสารที่ครอบคลุม รวดเร็วและถูกต้อง มีมาตรการรักษาความปลอดภัยในการชุมนุมที่รัดกุม และมีงบประมาณที่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีการชุมนุม นอกจากนั้น กลยุทธ์ที่เป็นปัจจัยในความสำเร็จของการชุมนุม คือ การเคลื่อนมวลชนที่เป็นระบบ การสร้างวาทกรรม การสื่อสารและการสร้างสถานการณ์เพื่อประโยชน์ของการชุมนุม การศึกษานี้ ผู้วิจัยได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจที่ว่า แม้การชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมามีภาพสะท้อนถึงความแตกแยกของคนในสังคม แต่อีกด้านก็มองเห็นการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนที่ชัดเจนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากจะให้ประชาชนมีการแสดงออกทางการเมืองผ่านการชุมนุมทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพและมีขอบเขต เห็นว่าประเทศไทยควรมีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการชุมนุมทางการเมือง

 

Political Demonstration Management

This research aims to explore the management and strategies, which were employed in the political demonstrations by each political advocate during the prolonged Thai national political crisis (2005 – 2014). The data were collected by conducting the participatory observation and in-depth interview with 15 key informants who have involved and played an important role in the political demonstrations.

The result revealed that each public demonstration apparently was created by the political motivation. The mechanisms to pursue the success of demonstration should be as follows: having clear and concrete planning and objective, holding political power and trust, performing political experience, motivating and gathering demonstrators, providing safety and appropriate demonstrating location, managing effective expenditures, having good information and effective communication, and having enough budget.  

Moreover, the strategy to succeed the political demonstration should have the key persons to mobilize the demonstration, producing the political discourses and making a situation for the benefit of demonstration. Interestingly, researcher found that the having political demonstration is not always indicating the conflicts in our society, in fact, people get alert and responded to political activity. From the findings, researcher suggests that Thailand should have to have the modern Political Demonstration law in order to protect the right of citizens and control the violence.

Downloads

How to Cite

ผิวผ่อง ย., & วงศ์ธนวสุ ศ. (2016). การจัดการชุมนุมทางการเมือง. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 4(2), 218–234. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/62537

Issue

Section

บทความวิจัย