ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลาออกของแพทย์ในระบบราชการของโรงพยาบาลในประเทศไทย
Keywords:
การลาออกของแพทย์, ปัจจัยที่มีอิทธิพล, ระบบราชการไทย, โรงพยาบาลในประเทศไทย, Turnover of Physicians, Factors Influencing, Thai bureaucracy, Thai Public HospitalsAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อการ ลาออกของแพทย์ในระบบราชการไทย ศึกษาปัจจัยเชิงโครงสร้างที่มีอิทธิพลต่อการ ลาออกของแพทย์ในระบบราชการไทย และหาแนวทางในการลดอัตราการลาออกของ แพทย์ในระบบราชการไทย ประชากร คือ นายแพทย์ที่ ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุข และแพทย์ผู้บริหารหน่วยงานราชการในกระทรวงสาธารณสุข ใช้ตัวอย่างแพทย์ ที่ลาออกจำนวน 350 คน และแพทย์ ผู้บริหารหน่ วยงานราชการในกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 12 คน ด้ วยวิ ธี การกำหนดขนาดตั วอย่างของ ทอมสัน (Thompson, S.K. 2002) สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้น และการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษา คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์องค์ ประกอบสองชั้น (Two Stage Factor Analysis) ในรูปแบบของการวิเคราะห์ความ สัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (Structure Equation Model : SEM) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้พบว่า ปัจจัยภายในองค์การ 7 ปัจจัย ได้แก่ ความผูกพันในองค์การ ความมั่นคงในงานและวิชาชีพและความเสี่ยงในวิชาชีพ ความพึงพอใจในการทำงานในองค์การทางการแพทย์ ภาระงาน นโยบายองค์การทางการแพทย์ โครงสร้าง ขององค์การทางการแพทย์ และวัฒนธรรมองค์การขององค์การทางการแพทย์ และ ปัจจัยแรงจูงใจ 6 ปัจจัย ได้แก่ การประเมินเป้าหมายส่วนบุคคล การประเมินวิธีการ ที่จะนำไปสู่เป้าหมาย การประเมินผลงานว่ามีความก้าวหน้าที่จะบรรลุเป้าหมาย ความเชื่อว่าตนมีความสามารถที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย ความเชื่อว่าสภาพ แวดล้อมหรือบริบทจะเอื้อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ทางการแพทย์ และกระบวนการกระตุ้นทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพล เชิงโครงสร้างกับการลาออกของแพทย์ในระบบราชการไทย โดยองค์ประกอบ ปั จจั ยภายในองค์ การมี น้ำหนักองค์ ประกอบเท่ากั บ 0.88 ปัจจัยแรงจูงใจ มีค่าน้ำหนักองค์ ประกอบ เท่ากั บ 0.99 องค์ประกอบปัจจัยภายในองค์การ ที่มีน้ำหนักองค์ประกอบ มากที่สุดได้แก่ นโยบายองค์การทางการแพทย์ รองลงมาคือความผูกพันในองค์การภาระงาน วัฒนธรรมองค์การขององค์การทางการแพทย์ นโยบายองค์การทางการแพทย์ และความพึงพอใจในการทำงานในองค์การทางการแพทย์ องค์ประกอบปัจจัยแรงจูงใจ ที่ มี น้ำหนั กมากที่ สุดได้ แก่ การประเมินผลงานว่ามีความก้าวหน้าที่จะบรรลุเป้าหมาย และตัวแปรความเชื่อว่าตนมีความสามารถที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย รองลงมาเป็น ตัวแปรกระบวนการกระตุ้นทางอารมณ์ แนวทางในการลดอัตราการลาออกของแพทย์ใน ระบบราชการกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ การบริหารจัดการโดยนำปัจจัยภายในองค์การ และปัจจัยแรงจูงใจมาใช้เป็นแนวทางในการบริการจัดการ
Factors Influencing Turnover of Physicians in Thai Public Hospitals
This research has the following objectives to study factors influencing relationships and the resignation of the medical bureaucracy of Thailand: (1) Studying the structural factors influencing the resignation of doctors in Thailand bureaucracy, and (2) finding a way to reduce the turnover rate Thailand bureaucracy in the Ministry of Health, resigned from the government on January 1, 2009 to December 31, 2013. Doctors who administrate at the Ministry of Health use the example of medical administrators at the Ministry of Health of 12 people, and the resignation of 350 doctors determine the sample size according to the size of the sample of Thomson (Thompson, SK 2002) at a confidence level of 95 % standard deviation (e) 0.05 coefficient of variation of populations (CV) of 0.5, the sampling groups (Cluster Random Sampling) and sampling is simple. (Simple Random Sampling) The instruments used in the study questionnaire had the five levels with the content validity of 1.00 for all items and have the confidence structured and standard coefficient alpha of 0.937 as the percentage point. Standard deviation and analysis features two stage factor analysis in the form of an analysis of the correlation structure (Structure Equation Model: SEM). The results are summarized as follows.
The results showed that the organization had seven factors, namely the organizational commitment, job stability and career and professional risks, satisfaction in working in the medical organization, medical organization policy, workload organizational structure, and culture of the organizations. There were six factors motivating them; namely, an assessment of personal goals, the evaluation of progression words to the goal, the belief that they have the ability to work to achieve that goal, beliefs that are conducive to the environment or context, performance goals, Medical Organization, and the emotional stimulus which is associated with structural influence on the turnover of doctors in Thai bureaucracy.