การศึกษาความต้องการจำเป็นของการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ เพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของนักศึกษา
Keywords:
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เชิงวิชาการ, ภาษาอังกฤษเพื่อสายวิชาชีพแพทย์, การวิเคราะห์ความจำเป็น, AEC, English for Academic Purposes, English for medical profession, needs analysisAbstract
การวิจัยนี้ใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์ความจำเป็นเพื่อให้ทราบปัญหา ความจำเป็นและความต้องการของการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์เพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยสำรวจข้อมูลจากประชากรทั้งหมดสี่กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษาแพทย์แพทย์ ผู้บริหาร และผู้ป่วยชาวต่างชาติ งานวิจัยนี้นำเสนอเฉพาะข้อมูลเชิงปริมาณของปัญหาและความจำเป็น ซึ่งสำรวจจากนักศึกษาแพทย์ที่เป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีสุดท้ายในภาคการศึกษา 2557 และฝึกปฏิบัติงานที่ 4 โรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามซึ่งทดสอบค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ .93 ข้อมูลที่ได้รับจะถูกนำไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) นักศึกษาแพทย์มีปัญหาภาษาอังกฤษทุกทักษะในระดับปานกลาง แต่ประสบปัญหาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เชิงวิชาการในระดับสูง และ (2) นักศึกษาแพทย์มีความจำเป็นในภาษาอังกฤษทุกทักษะในระดับสูงที่สุด แต่มีความจำเป็นในทักษะการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไปในระดับสูง ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากผลงานวิจัยนี้จะเป็นแนวทางเพื่อ (1) พัฒนาเนื้อหาการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อให้นักศึกษาแพทย์มีความตระหนักถึงบทบาทของภาษาอังกฤษในสายวิชาชีพแพทย์ในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมากขึ้น (2) ส่งเสริมทัศนคติที่ดีและเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาแพทย์ (3) ออกแบบวิชาภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และ (4) เป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยท่านอื่นๆ ในการนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทที่เกี่ยวข้องหรือในบริบทอื่นๆNeeds Analysis of Studying English for Medical Students in a University with the Aim of ASEAN Economic Community (AEC)
This study employs a theory of needs analysis. It explores medical students’ problems, needs, and wants in studying English in preparation for AEC. This study uses mixed methods of both quantitative and qualitative approaches. The subjects of this research include medical students, doctors, administrators, and foreign patients. This research paper presents the quantitative data of medical students including 162 medical students who were externs during the academic year of 2014 at four hospitals in the northeast of Thailand, and addresses only the problems and needs of medical students. Questionnaire is adopted as a research instrument. The Cronbarch’s alpha reliability coefficient of the questionnaire was .93. Research data from the questionnaire were analyzed by descriptive statistics (including percentage, frequency, mean, and standard deviation). The research findings were as follows. (1) The medical students had problems with overall English skills at the moderate level, but the main problem was speaking skill concerning English for Academic Purposes (EAP) which was at the high level. (2) The medical students needed overall English skills at the highest level, but they perceived reading skill for General English as also being at the high level. The findings from this research provide guidance: to develop the content of English teaching so that medical students are more aware of the role of English in the medical field in AEC; to promote better attitudes and motivation among students in English classes; to design courses relevant to real situations; and to contribute the findings or data which support and benefit other researchers to apply in related or other research contexts.