วิเคราะห์การใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กของ คนไทยปัจจุบันเชิงพุทธบูรณาการ

Authors

  • อุทัย วรเมธีศรีสกุล หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

Keywords:

การใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ก, คนไทยปัจจุบัน, เชิงพุทธบูรณาการ, the Usage for Social Network Media, Thai People in the Present Time, Buddhist Integration

Abstract

สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้สื่อ โซเชียลเน็ตเวิร์กของคนไทยปัจจุบัน และ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การใช้สื่อโซเชียล เน็ตเวิร์กของคนไทยปัจจุบันเชิงพุทธบูรณาการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนาหนังสือตำราที่เกี่ยวกับศาสตร์สมัยใหม่ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเขียนเป็นรายงานการวิจัย ด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่าสังคมไทยปัจจุบันกำลังขึ้นอยู่กับคำว่า“โซเชียลเน็ตเวิร์ก” เพราะโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นเป็นทั้งสื่อที่มีทั้งคุณอนันต์ และโทษมหันต์ในเวลาเดียวกัน สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ 1. เฟซบุ๊ก (Facebook) และ 2. ไลน์ (Line) มีทั้งข้อดี คือเป็นการสร้างเครือข่ายทางสังคมที่ดีได้ทั่วโลก ไม่ตกข่าวสาร เป็นมิตรที่ดีทั้งด้านความคิดและมิตรภาพ ทำให้ไม่ตกข่าว สร้างเครือข่าย ที่ดี ส่วนข้อเสีย มี 6 ประการ 1. เสียเวลา 2. เสียสุขภาพกาย 3. เสียสุขภาพจิต 4. เสียความสัมพันธ์ 5. เสียใจ 6. เสียโอกาส เหล่านี้ล้วนทำให้การหมกมุ่นเสพติดสื่อจนไม่รู้ตัว ว่าจะต้องเข้าไปใช้งานอีกจนกลายเป็นความหลงใหลจนผิดปกติ เพราะสังคมส่วนใหญ่ต้องการทำตามกระแสนิยมหรือทำตามแฟชั่น ขาดสติใคร่ครวญ ไม่รู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีการสื่อสาร

การสำรวมระวังตาเห็นรูป ชวนลูบไล้ ให้สัมผัสในสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กเช่น รูปภาพที่สุ่มเสียง ล่อแหลม หรือโป๊เปลือย อย่าไปตามกิเลสหรือตัณหาในรูปที่ตามองเห็นนั้น ให้มีสติอยู่เสมอ อาจจะมีไวรัสตามมาบางภาพอาจตัดต่อเพื่ อการใส่ร้าย ฝ่ายตรงกันข้าม ไม่ใช่ภาพจริงก็ได้ หรือถ้าผู้รับสื่อแสดงความคิดเห็นกับรูปภาพนั้น ในทางอกุศล ส่งแชร์ส่งต่อไป ผลเสียย่อมตามมาเช่นกัน การหลงเสียงใส ไพเราะเสนาะโสต อย่าไปตามกิเลสหรือตัวตัณหาในเสียงที่หูได้ยินเสียงนั้น ให้กำหนดมาที่ใจด้วยสติ ก็จะตัดอารมณ์นั้นออกไปได้เช่นกัน การเล่นเพลิน เกินจนติดสื่อ กลายเป็นการเสพติด สื่อไป ทำให้เสียสังคมคนรอบข้าง กลายเป็นสังคมก้มหน้าเสียมารยาททางสังคม เสียสุขภาพกาย มีปวดไหล่ แสบตาเป็นต้น ให้มีพฤติกรรมการใช้ให้เหมาะสม (สีลสิกขา) และอย่าให้จิตเปราะบาง รักง่ายหน่ายเร็ว ใจร้อน อยากมีใหม่ไม่พอเพียง ตามกิเลส ตัณหาความอยาก นี้คือคุณค่าเทียม เพราะขาดโยนิโสมนสิการ คิดใคร่ครวญให้ดี มีมโนสุจริต ให้มีสติรู้เท่าทันสื่ออยู่เสมอ (จิตตสิกขา) คุณค่าแท้ ก็คือ การใช้สื่อ เพื่อการสื่อสาร หรือรับรู้ข่าวสาร เพื่อศึกษาหาความรู้ใหม่ด้วยหลักสัมมาทิฎฐิ และเพื่อให้เกิดปัญญารับรู้ความจริงในสังคมปัจจุบัน ทันเหตุการณ์ในโลกโซเชียล เน็ตเวิร์ก (ปัญญาสิกขา)

 

A Analytical Study of the Usage for Social Network Media of Thai People in the Present Time Buddhist Integration

The objective of this thematic were 1) to study the situation of the media of social networks in Thailand and 2) to analyze the use of social networks of people in Thailand today by Buddhist integration. This research was qualitative research by studying the Buddhist scriptures, scholarly papers of Buddhism, books about modern science, and related research. Then a research report was written by descriptive analysis.

The study found that the society in Thailand today was based on the word “Social Network” because the social network was the media that were both infinite and punishment at the same time. Media, social networking which had been the most popular were: 1. Facebook and 2. Line, which had both the advantages such as social networks around the world, fashionable, a friendly both the idea and the friendship. The disadvantages were the lost time, the bad physical health, the bad mental health, the broken relationships, the tragic broken mind, and the lost opportunities because the most societies wanted to follow the trend or fashion.

The eye precaution was by seeing invited fondle and touch my in social networking media such as sounded desperate or erotica images, not going by passion in the visible images or always being conscious. That it might catch a virus. If the audiences comment on the image or share propagators forward, adverse effects will follow up. The ears did not follow the melodic voice which was passion. We were SATI, controlled breath which the emotions will be removed as well. The excusive media playing became media addictions, bad social manner, bad physical health, the pained shoulder, pained eyes etc., so we should have a behavior of using them properly without sparse spirit (morality). The artificial value considered hot love is soon cold, impatient, and insatiate because they didn’t have critical reflection (concentration). The truth value was the using media for communication or information perception, modern knowledge acquiring by right view and intellectual real seeing (wisdom).

Downloads

How to Cite

วรเมธีศรีสกุล อ., & บำรุงภักดิ์ โ. (2016). วิเคราะห์การใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กของ คนไทยปัจจุบันเชิงพุทธบูรณาการ. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 5(1), 103–121. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/62418

Issue

Section

บทความวิจัย