การรับรู้และความตระหนักในเรื่องจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชน ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของนักศึกษา นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคเหนือตอนล่าง

Authors

  • รดี ธนารักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • พนินท์ เครือไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ชิชญาสุ์ ช่างเรียน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

Keywords:

การรับรู้, ความตระหนัก, จริยธรรมวิชาชีพสื่อ, กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์, การกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์, acknowledgement, awareness, media ethic, broadcasting and television, self-regulation on broadcasting and television

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และความตระหนัก ด้านจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชนในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปหาแนวทางสร้างความตระหนัก และการเข้าถึงหลักจริยธรรมวิชาชีพและการกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ให้กับสื่อมวลชนรุ่นใหม่ในอนาคต กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษา นิเทศศาสตร์ที่ศึกษาใน ปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 504 คน ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติในการหา ค่าเฉลี่ย (Mean) และการทดสอบ ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: One Way ANOVA)

ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้และความตระหนักด้านจริยธรรมวิชาชีพ สื่อมวลชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก แต่มีความแตกต่างจากการรับรู้ในหลักการทั้ง 8 ข้อที่เป็นจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชนขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ปัจจัยด้านเพศมีความ สัมพันธ์กับความตระหนักโดยเพศหญิงมีความตระหนักมากกว่าเพศชาย ส่วนปัจจัย ชั้นปีของนักศึกษาพบว่านักศึกษาชั้นปีที่สูงขึ้นมีความตระหนักต่อจริยธรรมวิชาชีพ และการกำกับดูแลกันเองน้อยลง ดังนั้นสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควร วางแผนส่งเสริมจริยธรรมในระยะยาวเพื่อพัฒนาและปลูกฝังเรื่องจริยธรรมสื่อตลอด 4 ปีให้กับนักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนนักศึกษาจบไปเป็นสื่อมวลชนใน อนาคต

 

Acknowledgement and Awareness of Professional Ethics of Communication Arts Students Program in Broadcasting and Television,Rajabhat Universities in the Lower Northern Parts of Thailand

This research aims to study 1) the acknowledgement and awareness of professional ethics of mass communication in broadcasting and television and 2) the factors that affect the acknowledgement and awareness of professional ethics of mass communication in broadcasting and television of Communication Arts students in the lower northern region. It is a suggestion for related institutions to find the way to create awareness and reach professional ethics principles and regulations among students in broadcasting and television for new generation of journalists in the future. The sample group is 504 Communication Arts students who enrolled in academic year 2014 at the lower northern region of Rajabhat University which included Pibulsongkram Rajabhat University, Kamphaeng Phet Rajabhat University, Nakhon Sawan Rajabhat University, and Phetchabun Rajabhat University. Research methods include using specific random sampling, collecting data by using questionnaire, using statistic to find the mean, and testing the relationship by using One-Way Analysis of Variance: One way ANOVA.

The result is overall at a high level, but there was a difference in recognizing the eight basic principles of professional ethics in mass communication. In addition, gender factor can affect the awareness that female are more aware than male. Other than that, academic year factor also affect the awareness level. The result also found that the higher year students tended to be cureless than others about the awareness of professional ethics and self-regulation. Therefore, educational institutions and related institutions should plan to encourage ethics in a long term to improve and cultivate mass communication ethics throughout four years to prepare the students before they graduate.

Downloads

How to Cite

ธนารักษ์ ร., เครือไทย พ., & ช่างเรียน ช. (2016). การรับรู้และความตระหนักในเรื่องจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชน ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของนักศึกษา นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคเหนือตอนล่าง. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 5(1), 83–102. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/62417

Issue

Section

บทความวิจัย