องค์ประกอบและโครงสร้างการตั้งชื่ออาหารภาษาไทยและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

องค์ประกอบและโครงสร้างการตั้งชื่ออาหารภาษาไทยและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • มัสวิณี สาและ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • วรนาถ แซ่เซ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • อาทิตยา สมโลก คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กฤษดี พ่วงรอด คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ศุภาวิณี กิติวินิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม, ฮากกา เบตง, อาหารฮากกา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและโครงสร้างการตั้งชื่ออาหารจีนฮากกาของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลาที่เป็นภาษาไทย 2) เพื่อสังเคราะห์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงเนื้อหา (content analysis)ที่ใช้การสนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้กระบวนการงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่ศึกษาหลัก 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านจาเราะปะไต และ หมู่ที่2 บ้านบ่อน้ำร้อน ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยเก็บข้อมูลจากประชากรหลักจำนวน 20 คนที่คัดเลือกมาจากกลุ่มตัวอย่างหลัก 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) กลุ่มตัวแทนภาคีเครือข่าย และ 2) กลุ่มตัวแทนชาวไทยเชื้อสายจีนฮากกา

                    ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและโครงสร้างการตั้งชื่ออาหารจีนฮากกาของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลาในพื้นที่ศึกษาที่เป็นภาษาไทย พบว่ามี 6 องค์ประกอบ คือ 1ส่วนประกอบของอาหาร 2 วิธีการประกอบอาหาร  3 ลักษณะของอาหาร 4 ประเภทอาหาร 5 ชาติพันธุ์               6 ภาชนะ และมี 27 โครงสร้าง ซึ่งโครงสร้างที่มีการใช้มากที่สุด คือ ส่วนประกอบของอาหาร + วิธีการประกอบอาหาร + ส่วนประกอบของอาหาร  2) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ด้านอาหารท้องถิ่น พบว่า อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นจีนฮากกาเบตง ได้แก่ ลูกชิ้นฮากกา ไก่ต้มเหล้า หมูน้ำแดง ลูกชิ้นมะละกอ  เคาหยกหม่อยช้อย  เต้าหู้ยัดไส้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการกล่าวถึงเมนูอาหารหวาน คือ เฉาก๊วย และขนมด่าง และ 2) อัตลักษณ์ด้านอาหารที่ใช้ประกอบพิธีกรรม  การทำพิธีประเพณีไหว้เจ้าที่สวน การไหว้บรรพบุรุษ  อัตลักษณ์ที่สำคัญด้านอาหารที่จะต้องมีในวันไหว้บรรพบุรุษทุกๆปี ต้องมีของเซ่นไหว้ คือ หมู แพะทั้งตัว ผลไม้ห้าชนิด ขนม  โดยมีความเชื่อว่า พวกหมูย่างเมื่อย่างเสร็จแล้วเป็นสีทอง แทนสัญลักษณ์ของ ทอง  และแพะเป็นสีขาว แทนสัญลักษณ์ของ เงินที่เอาไว้ไหว้บรรพบุรุษ ผลไม้จะ ต้องมีห้าชนิด เนื่องจากเชื่อว่าห้าจะเป็นสิริมงคล โครงการนี้ทำให้คนไทยเชื้อสายฮากกามีความภูมิใจ เห็นคุณค่า รักและหวงแหนภูมิปัญญาของตนเองและประชาชนทั่วไปมีความรู้และเข้าใจอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีนฮากกาสามารถเข้าถึงวัฒนธรรมอาหารของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลาได้มากยิ่งขึ้น

References

Chonakorn Angsuwiriya. (2557). “Analysis of the Structure of Local Southern Thai Food

Names in Hat Yai District, Songkhla Province.” Journal of Arts, Prince of Songkla

University, 7(1), 17 – 30. [in Thai]

Danhi. (2003). What is your country’s culinary identity? Culinology Currents, Winter 2003, 4-5.

Harrington, R. J. (2005). Defining gastronomic identity: The impact of environment and culture

on prevailing components, texture and flavors in wine and food. Journal of Culinary

Science & Technology, 4(2/3), 129-152.

Huang, Y.X (2014). The Hakka People in Betong and the Development of Rubber Plantation in Thailand. Taiwan : National Central University. 96-105

Kanin Saengsuwan. (2564). “Naming Vietnamese Food in Thailand [Unpublished Bachelor’s

Thesis].” Silpakorn University. [in Thai]

Ma Guitong. (2021). The Development of the Hakka Chinese Network in the Southern Region

of Thailand. Rusamilae Journal, 42(2), 6-36. [in Thai]

Nursita Persala, Niwat Sawatkaew and Weerasak Persala. (2015). Betong: The Path to

Strength. Journal of the King Prajadhipok's Institute, 13(2), 41-61. [in Thai]

Office of Statistical. Yala Province. (2020). Population from Registration, Rate of Change and

Population Density by District, 2016 - 2020. Retrieved January 11, 2024 from

https://yala.nso.go.th/images/report/social/1/1.pdf[in Thai]

Office of Industrial Economics, Yala Province. (2021). The Operational Plan for Industrial

Development in Yala Province for the Year 2021. Retrieved November 15, 2023 from

https://yala.industry.go.th/th/cms-of-88 [in Thai]

Operations Coordination Center 5, Internal Security Operations Command. (2021). OTOP

Tourism Village and the Hakka Betong Way of Life. Retrieved June 16, 2023, from

https://isoc5.net/articles/view/314 [in Thai]

Suriya Wanlapaphirom (2010). The Identity of Thai-Chinese People in Betong District. Master

of Public Administration Thesis. Chonburi: Burapha University. [in Thai]

Worasak Mahatthanobol. (2012). “Hakka” Means “Chinese Teochew”. 4th edition. Bangkok:

Department of International Relations, Faculty of Political Science, Chulalongkorn

University. Pages 66, 141-144. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

สาและ ม., แซ่เซ่น ว., สมโลก อ., พ่วงรอด ก., & กิติวินิต ศ. (2024). องค์ประกอบและโครงสร้างการตั้งชื่ออาหารภาษาไทยและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา: องค์ประกอบและโครงสร้างการตั้งชื่ออาหารภาษาไทยและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 13(2), 102–138. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/279024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย