The การวิเคราะห์มิติทางวัฒนธรรมไทยและกลวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมในแบบเรียนภาษาและวัฒนธรรมไทยของผู้เรียนชาวเกาหลี

การวิเคราะห์มิติทางวัฒนธรรมไทยและกลวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมในแบบเรียนภาษาและวัฒนธรรมไทยของผู้เรียนชาวเกาหลี

ผู้แต่ง

  • Yothaga Poolthong สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นิธิอร พรอำไพสกุล สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

มิติทางวัฒนธรรม, กลวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรม, แบบเรียนภาษาและวัฒนธรรมไทยของผู้เรียนชาวเกาหลี

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มิติทางวัฒนธรรมไทยและกลวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยในแบบเรียนภาษาไทยของผู้เรียนชาวเกาหลี ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตเนื้อหาการวิจัย จำนวน 3 เล่ม พิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2562 ปี พ.ศ. 2563  และ ปี พ.ศ. 2564  ได้แก่ ตำราไทยฉบับมาตรฐาน (A1) ตำรามาตรฐานไทย (A2) และตำราไทยฉบับมาตรฐาน (B1) โดยใช้แนวคิด มิติทางวัฒนธรรมของ Moran และกลวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรม ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เน้นการวิเคราะห์และเขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์รูปแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า มิติทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในแบบเรียนทั้ง 3 เล่ม 3 มิติ ได้แก่ 1. มิติด้านผลผลิต (Product) วัฒนธรรมที่พบ ได้แก่ อาหารไทย ประวัติศาสตร์ไทย การแต่งกาย การขนส่งสาธารณะ และศิลปะไทย 2. มิติด้านวิถีชีวิต (Practice) วัฒนธรรมที่พบได้แก่ การทักทาย ประเพณีไทยและวันสำคัญของไทย การใช้บัตรรถไฟฟ้า และกีฬาพื้นบ้านไทย และ 3. มิติด้านมุมมองต่อวัฒนธรรม (Perspective) วัฒนธรรมที่พบได้แก่ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ไทย และความเชื่อและค่านิยมของคนไทย แบบเรียนทั้ง 3 เล่มใช้กลวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมวิธีเดียว คือ การรักษาวัฒนธรรม (Culture Maintenance) ซึ่งเป็นการถ่ายทอดคุณค่าของวัฒนธรรมไทยแบบอนุรักษ์นิยม ให้ผู้เรียนชาวเกาหลีได้ศึกษา ทั้งนี้ในแบบเรียนภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับผู้เรียนชาวเกาหลี ทั้ง 3 เล่มได้แทรกความต่างทางวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมเกาหลีเพื่อให้ผู้เรียนชาวเกาหลีได้ปรับตัวเมื่อมีโอกาสเดินทางมาใช้ชีวิตในบริบทสังคมไทย เช่น เรื่องผักชีในอาหารไทย การใช้ขนส่งสาธารณะของไทยทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด การทักทายเรียกชื่อคนไทย

References

Critical Foreign Languages (CFL) Education Promotion. (2017). Purpose and Background. Retrieved August 13, 2022, from https://cfl.niied.go.kr/main_eng#item1

Kim, H., Lee, J., Han, S., Phatjiraphan, K., Jeon, N., & Lee, M. (2020). 태국어 표준 교재 (A2) ตำรามาตรฐานไทย. Busan: Institute of Critical Foreign Language.

Kim, H., Han, S., Tidarat., Lee, M., & Ong J. (2021). 태국어 표준 교재 (B1) ตำราภาษาไทยฉบับมาตรฐาน. Busan: Institute of Critical Foreign Language.

Lee, B. D. (2013). Teaching the Thai Language in the Republic of Korea: Problems and Recommendations. RUSAMILAE JOURNAL, 34(3), 71–84.

Lee, B. D. (2021). Learning and Teaching in Hankuk University of Foreign Studies, Korea. Humanities and Social Sciences Journal, Chiang Mai Rajabhat University, 2(2), 3–1.

Moran, P.R. (2001). Teaching Culture: Perspective in Practice. Coober Pedy. Heinle & Heinle.

Park, K., Shin, G., & Lee, J. (2019). ตำราภาษาไทยฉบับมาตรฐาน 태국어 표준 교재 (A1). Seoul: Hankuk University of Foreign Studies Publishing Department Knowledge Publishing House (HUINE).

Phemkaesorn, N. (2004). Teaching the Thai language and culture to foreigners. Vannavidas. 4, 268–278.

Phruksawan, B. (1993). Literature and Children. Bangkok: Thaiwattanaphanit.

Sarikbut, K., & Sarikbut, S. (1978). Analysis and Assessment of Learning. Bangkok: Seangrung Publishing.

Tungjaroen. W. (1971). Teaching Approach for Art, Grade 7. Bangkok: Prasarnmit College.

Vejjajiva, W. (2000). Thai-Korean Relations: From the Past and Present to the Future. Thai Journal of East Asian Studies 11(1), 12-38.

Waharak, S. (2015). Cultural Representation in High School English Textbooks and Teachers’ Perceptions. [Unpublished Master dissertation]. Prince of Songkla University.

Wongpinunwatana, W. (2019). Thai Language Usage in Cross-cultural Communication Process of Foreigner Students. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 8(2), 1–15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

How to Cite

Poolthong, Y., & พรอำไพสกุล น. (2023). The การวิเคราะห์มิติทางวัฒนธรรมไทยและกลวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมในแบบเรียนภาษาและวัฒนธรรมไทยของผู้เรียนชาวเกาหลี: การวิเคราะห์มิติทางวัฒนธรรมไทยและกลวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมในแบบเรียนภาษาและวัฒนธรรมไทยของผู้เรียนชาวเกาหลี. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 12(2), 28–67. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/271449

ฉบับ

บท

บทความวิจัย