“บ่าจั๋วคอ”: เทพเจ้าแห่งเงินตรายุคหลัง “โด่ยเหมย” เวียดนาม
“บ่าจั๋วคอ”: เทพเจ้าแห่งเงินตรายุคหลัง “โด่ยเหมย” เวียดนาม
คำสำคัญ:
“บ่าจั๋วคอ”, การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ, เศรษฐกิจแบบตลาด, เวียดนามบทคัดย่อ
เดิมที “บ่าจั๋วคอ” (Bà Chúa Kho) คือเทพเจ้าประจำหมู่บ้านโก่เหม๊ ตำบลหวู้นิง อำเภอเมือง จังหวัดบั๊กนิง ซึ่งมีเพียงคนในหมู่บ้านให้การเคารพบูชาเท่านั้น แต่ภายหลังที่เวียดนามเปิดประเทศ และผนวกตัวเองเข้ากับระบบทุนนิยมโลกนับตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ทำให้มีผู้คนจากภายนอกหมู่บ้าน เดินทางไปยังศาลเจ้า “บ่าจั๋วคอ” เพื่อ “ยืมเงินทุน” (vay vốn) หรือ “ขอเงินขวัญถุง” (xin lộc rơi lộc vãi) กันเป็นจำนวนมาก เพราะเชื่อว่า “เงิน” ของ “บ่าจั๋วคอ” มีพลังอำนาจที่จะทำให้ “เงิน” ของตนเองเพิ่มพูนขึ้นได้
บทความนี้ ตั้งคำถามว่า ปรากฏการณ์ “บ่าจั๋วคอ” ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในสังคมเวียดนามอย่างไร? โดยนำเสนอว่า การปรากฏตัวของการบูชา “บ่าจั๋วคอ” ในฐานะเทพเจ้าแห่งการเพิ่มพูนเงินทองในสังคมเวียดนามนั้น เป็นผลมาจากการสร้างความหมายใหม่ให้กับ “บ่าจั๋วคอ” ของคนนอกหมู่บ้าน โดยเฉพาะคนเมือง ซึ่งแตกต่างจากความเชื่อดั้งเดิมของชาวบ้านในหมู่บ้าน โดยมีผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของเวียดนาม จากระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดหรือทุนนิยม ซึ่ง “เงินตรา” กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญต่อความอยู่ดีมีสุขของชีวิต ดังนั้นคนเมืองจึงหันมาพึ่งพาเจ้าแม่ “บ่าจั๋วคอ” เพื่อช่วยให้ตนเองเข้าถึงทรัพยากร (เงินตราและความร่ำรวย) ที่มีอยู่อย่างจำกัดและต้องแข่งขันกันสูงในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดหรือทุนนิยมโลก
References
Hoang Quan-Duy Minh. (2023). People excitedly celebrate the "borrowing-returning" ceremony at Ba Chua Kho temple. Retrieved from https://kinhtedothi.vn/no-nuc-hanh-le-vay-tra-tai-den-ba-chua-kho.html, on July 7, 2023.
Ngo Duc Thinh. (2004). Belief in Ba Chua Kho and the transformation of Vietnamese society. In: Ngo Duc Thinh (ed) Mother Goddesses and Shamanic forms among ethnic groups in Vietnam and Asia (pp. 148-157). Hanoi: Social Sciences Publishing House.
People's Committee of Vu Ninh ward (2019). Historical relic of Vu Ninh ward. Retrieved from https://www.bacninh.gov.vn/web/phuongvuninh/di-tich-lich-su, on July 7, 2023.
Silapakit Teekantikun. (2014). “Enough to Eat, Warm Clothing to Wear”: Daily Economic Struggles of the Vietnamese People in the “Subsidy Period”. Journal of Mekong Societies, 10, 97-121.
Tran Dinh Luyen. (2004). The phenomenon of Ba Chua Kho and the belief in Mother Goddess worship in Bac Ninh. In: Ngo Duc Thinh (ed) Mother Goddesses and Shamanic forms among ethnic groups in Vietnam and Asia (pp. 159-169). Hanoi: Social Sciences Publishing House.
Vipas Prachyaporn. (2015). socialism/postsocialism: a review of conceptual framework and comparative ethnography. Journal of Sociology and Anthropology, 34, 31-67.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.