ลักษณะการขอร้องในอีเมลของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยและชาวญี่ปุ่นจากคลังข้อมูลภาษา
ลักษณะการขอร้องในอีเมลของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยและชาวญี่ปุ่นจากคลังข้อมูลภาษา
คำสำคัญ:
การขอร้อง, อีเมล, ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย, คลังข้อมูลภาษาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการขอร้องในอีเมลของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย โดยวิเคราะห์อีเมลที่ใช้ในการขอร้องของกลุ่มตัวอย่างจากคลังข้อมูลภาษา I-JAS ผลการวิจัยพบว่า สำนวนที่ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยใช้เพื่อแสดงการขอร้องมีความหลากหลายน้อยกว่าชาวญี่ปุ่น โดยสำนวนที่ใช้เป็นจำนวนมากมีเพียง V(て形)いただけませんか และ V(て形)いただけないでしょうか เท่านั้น โดยเฉพาะ V(て形)いただけませんかที่พบการใช้มากที่สุดเนื่องจากเป็นสำนวนที่ถูกแนะนำในหนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่ระดับเบื้องต้น แต่กลับไม่พบการใช้ในอีเมลของชาวญี่ปุ่นเพราะเป็นสำนวนที่ไม่นิยมนำมาใช้ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ
นอกจากนี้ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า อัตราการปรากฏของหน่วยความหมายย่อยที่ผู้เรียนชาวไทยใช้มีทั้งลักษณะที่คล้ายและแตกต่างกันกับชาวญี่ปุ่น ลักษณะที่คล้ายกัน คือ การใช้หน่วยความหมายย่อย ได้แก่ 1) การเข้าประเด็น 2) การบอกสาเหตุ 3) การขอร้อง 4) การขอบคุณ และ 5) การขอโทษหรือรู้สึกผิด ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับชาวญี่ปุ่น สำหรับลักษณะที่แตกต่างกัน คือ ปริมาณหน่วยความหมายย่อยที่ใช้น้อยกว่าชาวญี่ปุ่นอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ 1) การอธิบายสถานการณ์ 2) การแสดงความเกรงใจ 3) การให้ข้อมูลเพิ่มเติม และ 4) การขอคำตอบ จึงอาจกล่าวได้ว่า ในการบรรยายเนื้อหาเพื่อแสดงการขอร้อง ชาวญี่ปุ่นไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงการอธิบายสาเหตุ และแสดงการขอร้องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหน่วยความหมายย่อยทั้งสี่ลักษณะข้างต้นที่พบจากการสำรวจครั้งนี้ด้วย ดังนั้นสำหรับการเรียนการสอนทักษะการเขียนในสถานการณ์การขอร้อง ควรมีการแนะนำสำนวนและหน่วยความหมายย่อยที่ชาวญี่ปุ่นมักใช้เพื่อให้ผู้เรียนชาวไทยได้เห็นความแตกต่างและสามารถนำไปประยุกต์กับการบรรยายเนื้อหาของตนเองได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมชาติใกล้เคียงกับชาวญี่ปุ่น
References
A Corporation (2560). มินนะ โนะ นิฮงโกะ 1 [2nd Edition]. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม.
A Corporation (2560). มินนะ โนะ นิฮงโกะ 2 [2nd Edition]. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม.
Beebe, L. M., Takahashi, T., & Uliss-Welts, R. (1990). Pragmatic transfer in ESL refusals. In R.
Scarcella, E. Anderson, & S. Krashen (Eds.), Developing Communicative Competence in a Second Language (pp.57-73). New York: Newbury House.
Khamthongthip, T. (2015). The Discourse Structure of Appointment Cancellation in Email
messages in Japanese. Studies in Japanese Language and Culture, 25, 54-65.
Khamthongthip, T. (2018). Japanese Compliments on Facebook. Jsn Journal Special Edition, 8
(3), 131-144.
Masamune, M. (2000). Imperatives and Requests in Japanese. Bulletin of Hokuriku University,
, 115-124.
Miyasaki, Y. (2005). The Use of Expression for Requesting in Mobile Emails, Senshukokubun,
, 1-14.
Nakamizu, E. (1992). The Use of Request Strategies by Learners of Japanese as a Second
Language: A Sociolinguistic Approach. Machikaneyama Ronso.26, 49-69.
Okuyama, R., Chongpensuklert, T., Hsu, C. C., Choi, & Y., Saito, M. (2007). Problems of the request
expressions in E-mails of Japanese learners. Japanese Language Education Method, 14(2), 46-47.
Zhao, D. (2019). A Comparison of the Semantic Structure of Request Formulas between
Chinese Native Speakers and Japanese Native Speakers. Foreign Language Society, 21,
-30.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.