ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมกับการตัดสินใจชมละครจีนของ Generation Z ในเขตกรุงเทพมหานคร

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมกับการตัดสินใจชมละครจีนของ Generation Z ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Kittiyaporn Tosompap นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • พรพรหม ชมงาม ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางสังคม, การตัดสินใจชมละครจีน

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมกับการตัดสินใจชมละครจีนของ Generation Z ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางสังคมของผู้ชม Generation Z ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจชมละครจีนของผู้ชม Generation Z ในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมกับการตัดสินใจชมละครจีนของผู้ชม Generation Z ในเขตกรุงเทพมหานคร

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ Gen Z ที่มีอายุระหว่าง 12-24 ปี และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ที่ติดตามชมละครจีน จำนวน 129 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่าย เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยทางสังคม ด้านกลุ่มอ้างอิง เนื่องจากได้รับการเชิญชวนจากสื่อสังคม (Social Media) เช่น Twitter Facebook ให้ชมละครจีน 2) พฤติกรรมหลังการชม ที่เกิดจากการตัดสินใจชมละครจีนเรื่องนั้นๆต่อจนจบ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจชมละครจีนของกลุ่มตัวอย่างเพราะได้รับความสนุกสนาน และความผ่อนคลายหลังจากชมละครจีน 3) ปัจจัยทางสังคมมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจชมละครจีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Author Biography

พรพรหม ชมงาม, ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

อาจารย์ประจำภาควิชาการประขาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

References

กมลรัตน์ กิจรุ่งไพศาล และพนม คลี่ฉายา. (2561, พฤษภาคม-สิงหาคม). การเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมชาวเมียนมาในนครย่างกุ้ง. วารสารนิเทศศาสตร์, 36(2). สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcomm/article/view/151689.

กมัยพร ริ้วพันกุล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Netflix ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2563). รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมสื่อบันเทิงในประเทศจีน. สืบค้นจาก https://www.ditp.go.th.

กิตติศักดิ์ อินทรสาร. (2557). ปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม และจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความคาดหวังในการบริการของธุรกิจจัดหาคู่ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จำนง รังสิกุล. (2533) การจัดรายการวิทยุโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฉกาชาต สุขโพธิ์เพ็ชร์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ออล สตาร์ กอล์ฟ คอมเพล็กซ์. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชูเกียรติ ดีบุรี. (2552). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการชมละครไทยและละครเกาหลีของผู้ชมในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภค (2562). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แซดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ตลาดสตรีมมิ่งเดือด เมื่อ “เทนเซ็นต์” ส่ง “WeTV” ชิงอีโคซิสเต็ม ธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์ไทย. (2562). สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/110019.

ธนรรษภรณ์ อัทศาสตร์ศรี. (2561). ปัจจัยในการเลือกชมละครย้อนหลังของ GEN Y ผ่านเว็บไซต์ของ Mellow.me. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปรมาจารย์ลัทธิมาร กับกระแสครั้งยิ่งใหญ่ของซีรี่ส์จีน. (2562). สืบค้นจากhttps://workpointtoday.com/the-untamed/.

ปรารถนา พานนาค และณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2562 พฤษภาคม-สิงหาคม). แรงจูงใจ พฤติกรรมการชม และความพึงพอใจต่อรายการของเกาหลีทางวีดิทัศน์ออนไลน์ Viu (Thailand). วารสารวิชาการ, 23(2). สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/246043.

ปัฐยา เรืองเริงกุลฤทธิ์ และวิกานดา พรสกุลวานิช. (2564). อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์กึ่งการมีส่วนร่วมทางสังคมต่อความผูกพันในชุมชนเสมือนของกลุ่มแฟนซีรีส์จีน. วารสารวิชาการ, 41(2). สืบค้นจาก ฐานข้อมูลวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

ไปรยา อรรคนิตย์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งต่อ (Share) วีดีโอคอนเทนต์ออนไลน์ผ่านทางสื่อ Social Media (โซเชียลมีเดีย) ของวัยรุ่น Gen Z. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิทยา ชีวโณทัย. (2555). รักและผูกพัน เจเนอเรชั่น แซด. กรุงเทพ: ฐานการพิมพ์.

ศิรัส ปั้นเก่า. (2559). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหารของกลุ่มพ่อบ้านและกลุ่มแม่บ้านบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมิทธิ์ บุญชุติมา. (2561). การใช้เครื่องมือสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ (การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อกระจายภาพและเสียง สื่อเว็บไซต์ และสื่อกิจกรรมพิเศษ). นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

สหภาพ พ่อค้าทอง. (2556). SOCIAL MEDIA: การสื่อสารทุกที่ ทุกเวลาในสังคมข้อมูลข่าวสารและพื้นที่

ส่วนตัว. วารสารวิชาการ, 10(2). สืบค้นจาก ฐานข้อมูลวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี.

อัจฉริยา ทุ่งแจ้ง. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกรับชมรายการผ่านทางสื่อออนไลน์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัญมณี ภักดีมวลชน และคมสัน รัตนะสิมากูล. (2561, พฤษภาคม-สิงหาคม). การวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องภาพความรักของวัยรุ่นที่ปรากฎในละครโทรทัศน์ เรื่อง I Hate You, I Love You. วารสารการสื่อสาร, 1(2). สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRRUJC/article/view/176982.

อัมพร จิรัฐติกร. (2563). รสนิยม และแฟนคลับละครไทยในอาเซียนและจีน: การตลาดและการเมืองเรื่องอารมณ์ในโลกออนไลน์. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

How to Cite

Tosompap, K., & ชมงาม พ. (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมกับการตัดสินใจชมละครจีนของ Generation Z ในเขตกรุงเทพมหานคร: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมกับการตัดสินใจชมละครจีนของ Generation Z ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 11(2), 102–141. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/262931