สืบสายเสียงเสนาะ: ปัญหาและแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านทำนองเสนาะในระดับอุดมศึกษา
สืบสายเสียงเสนาะ: ปัญหาและแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านทำนองเสนาะในระดับอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
การอ่านทำนองเสนาะ, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้, อุดมศึกษาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการเรียนรู้การอ่านทำนองเสนาะในระดับอุดมศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านทำนองเสนาะในระดับอุดมศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามผู้เรียนเกี่ยวกับการอ่านทำนองเสนาะในการสอบถามนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 สาขาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 57 คน และการใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการสอนอ่านทำนองเสนาะในระดับอุดมศึกษาจำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการเรียนรู้การอ่านทำนองเสนาะในระดับอุดมศึกษามี 8 ด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านปัจจัยส่วนบุคคล ด้านประสบการณ์การอ่านวรรณคดี ด้านการอ่านตามอักขรวิธี ด้านความรู้ทางฉันทลักษณ์ ด้านการสื่ออารมณ์และความหมายของบทอ่าน ด้านการใช้เทคนิคการอ่านด้านผู้สอน และด้านสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ 2) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านทำนองเสนาะเพื่อแก้ปัญหาข้างต้นมี 10 แนวทาง ได้แก่ ชี้ให้เห็นความสำคัญ เลือกบทอ่านที่ผู้เรียนสนใจ วิเคราะห์บทอ่าน สาธิตการอ่าน บูรณาการหลายทำนองใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ใช้เทคโนโลยีประกอบ การสอนแสดงละครและบทบาทสมมุติ ใช้คะแนนพัฒนาการ และให้ข้อมูลป้อนกลับรายบุคคล
References
กำชัย ทองหล่อ. (2525). สนทนาภาษาไทย. กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น.
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกศแก้ว คงคล้าย และศุภวรรณ สัจจพิบูล. (2563). ผลของการเรียนรู้จากตัวแบบร่วมกับกลวิธีการเสริม
ต่อการเรียนรู้ที่มีต่อความสามารถในการอ่านทำนองเสนาะและเจตคติต่อการอ่านทำนองเสนาะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 วิทยาลัยนครราชสีมา, 23 พฤษภาคม 2563: 88-97.
ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ. (2559). การอ่านบทประพันธ์และเพลงพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
โชติมา หนูพริก. (2564 มิถุนายน 3). เทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้: การตั้งคำถามและการให้ข้อมูล
ย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้. เข้าถึงได้จาก http://www.curriculumandlearning.com/
upload/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%20concept%20QF_1426389
pdf.
นันทา ขุนภักดี. (2537). รายงานการวิจัย เรื่อง ลักษณะเฉพาะของการอ่านทำนองเสนาะ (พิมพ์ครั้งที่ 2).
นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นันทา ขุนภักดี. (2539). เสนาะศัพท์สดับทำนองร้อยกรองไทย. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน.
นันทา ขุนภักดี. (2559). การอ่านทำนองร้อยกรองไทย. กรุงเทพฯ: มติชนปากเกร็ด.
บรรพต ศิริชัย. (2557). การสอนอ่านทำนองเสนาะในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร.
วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 16(1), 93-104.
“ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาสาสตร์
(หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562.” (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง (6 มีนาคม): 12-39.
พรทิพย์ ศิริสมบูรณ์เวช. (2548). เสนาะทำนองครรลองวรรณกรรม: ศิลปะการอ่านสำหรับครูภาษาไทย.
กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2564, มิถุนายน 5). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. เข้าถึงได้จาก
https://dictionary.orst.go.th/.
วัฒนะ บุญจับ. (2543). การอ่านทำนองร้อยกรองไทย: ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
วัฒนะ บุญจับ. (ม.ป.ป.). การฝึกอ่านทำนองเสนาะชั้นต้น. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.
วิไล กาวิชัย. (2557). การใช้เทคนิคการขับร้องเพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านทำนองเสนาะของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนห้องสอนศึกษา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ส่งสุข ภาแก้ว. (2560). หกวิธีคิดฟื้นชีวิตอาขยานสืบสานทำนองไทย. วารสาร มจร. หริภุญชัยปริทรรศน์,
(1), 31-45
สมชาย แก้วเจริญ. (2556). การใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านทำนองเสนาะของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 1-13.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางต้องรู้และควรรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564, มิถุนายน 5). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ.
เข้าถึงได้จาก https://obeclaw.obec.go.th/archives/1231.
Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom 1991
ASHE-ERIC Higher Education Reports. Washington D.C.: Office of Educational Research and Improvement (ED).