ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการล่ามไทย-จีนในชั้นศาล
ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการล่ามไทย-จีนในชั้นศาล
คำสำคัญ:
การล่าม, ล่ามไทย-จีน, ล่ามในชั้นศาลบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในการล่ามไทย-จีนในชั้นศาล โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดจำนวน 6 คนด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ตามหลักทฤษฎีของการล่าม เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการล่ามไทย-จีนในชั้นศาล จากผลการสัมภาษณ์พบว่า ปัญหาที่พบในการล่ามไทย-จีนในชั้นศาลแบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะการใช้ภาษาต้นทางและภาษาปลายทาง 2) การจับประเด็นสำคัญของข้อความ 3) การเรียงประโยคเพื่อการถ่ายทอดความหมาย 4) ด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม 5) ด้านคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ 6) ปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการแก้ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ล่ามไทย-จีนในชั้นศาลสรุปได้ 6 ประการ ได้แก่ 1) ต้องมีการเตรียมตัวเป็นระยะยาวเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษา 2) ควรจับประเด็นสำคัญข้อความอย่างถูกต้องและครบถ้วนก่อนที่จะถ่ายทอดความหมายออกมา 3) ควรปฏิบัติหน้าที่ล่ามในชั้นศาลตามข้อกำหนดคุณธรรม จริยธรรมของล่ามในชั้นศาล พร้อมมีจิตสาธารณะเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการ และควรหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อศาล 4) ควรมีความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน 5) ลามต้องมีความเข้มแข็งทางอารมณ์ และมีบุคลิกที่เหมาะสม 6) ล่ามควรศึกษาความรู้ทั่วไปในทุก ๆ ด้าน และยังต้องปรับปรุงใหม่ทางความรู้และคำศัพท์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
References
Eugene A. Nida, and Charles R. Taber. (1974). The Theory and Practice of Translation. Leiden: E.J Brill
Mildred L. Larson. 1984. Meaning-Based Translation: A Guide Cross-Language Equivalence. London: University Press of America.
กนกพร นุ่มทอง (2564). การศึกษาแนวทางการจดบันทึกในงานล่ามจีน-ไทย ไทย-จีนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 22(1), 52-64.
กนกพร นุ่มทอง. (2563). การศึกษาปัญหาการแปลบทขยายและส่วนเสริมจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 38(2), 89-105.
กนกพร นุ่มทอง. (2564). ภาษาจีนเพื่อการล่ามในธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
กนกพร นุ่มทองและศิริวรรณ ลิขิตเจริญธรรม. (2562). หลักและข้อควรระวังในการแปลจีน-ไทย ไทย-จีน. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 12(2), 105-151.
กระทรวงแรงงาน. (2561). คู่มือล่ามด้านแรงงาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
ธารทิพย์ แก้วทิพย์. (2545). การแปลแบบล่าม: แนวคิดเชิงทฤษฎีและวิธีปฏิบัติ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2 (1), 26-42.
ประมวลจริยธรรมล่ามศาลยุติธรรม.(2554,28 กันยายน).ราชกิจจานุเบกษา.หน้า 1-4.
พงษ์ศักดิ์ อันประเสริฐและกนกพร นุ่มทอง. (2559). การประยุกต์ใช้หลักการแปลกับการแปลงานวิศวกรรมเรือจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 9(1), 109-142.
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแห่งประเทศไทย พ.ศ 2477. (2551, 12 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 24.
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติ พ.ศ. 2477.(2562, 21 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 12.
พิมพันธุ์ เวสสะโกศล. (2562). การแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2477). ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สํานักงานต่างประเทศ สํานักงานศาลยุติธรรม. (2563). คู่มือล่ามศาลในคดีค้ามนุษย์. กรุงเทพฯ: สํานักงานต่างประเทศ สํานักงานศาลยุติธรรม.
อัจฉรา ไล่ศัตรูไกล. (2554). จุดมุ่งหมาย หลักการ และวิธีแปล.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.