ลักษณะเด่นนิราศบุณยยาตราสมัยรัตนโกสินทร์ในฐานะบุญกิริยาวัตถุ
ลักษณะเด่นนิราศบุณยยาตราสมัยรัตนโกสินทร์ในฐานะบุญกิริยาวัตถุ
คำสำคัญ:
วรรณคดีนิราศ, บุณยยาตรา, วรรณคดีพระพุทธศาสนา, รัตนโกสินทร์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเด่นด้านเนื้อหานิราศบุณยยาตราในสมัยรัตนโกสินทร์ รวมถึงแนวคิดการแต่งนิราศบุณยยาตราในฐานะการสร้างบุญกุศล โดยศึกษาจากวรรณคดีนิราศที่มุ่งหมายเดินทางไปทำบุญยังพุทธสถานต่าง ๆ จำนวน 14 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาจำแนกได้เป็น 5 ส่วน คือ การกล่าวถึงเส้นทางเดินทาง การพรรณนาพุทธสถาน การสักการบูชา การอธิษฐานและอุทิศบุญ และการบอกบุญ เพื่อมุ่งเน้นแสดงความเลื่อมใสศรัทธาพระรัตนตรัยในฐานะวรรณคดีพระพุทธศาสนา ด้วยการบอกเล่าการเดินทางไปนมัสการพุทธสถานอย่างละเอียดเพื่อหวังให้ผู้ไม่เคยไปได้รับรู้ เป็นสื่อกลางให้ผู้อ่านและผู้ฟังรับรู้การเดินทางของกวีเพื่อร่วมรับบุญกุศลด้วยการอนุโมทนาบุญเสมือนได้เดินทางไปด้วย กวีจึงได้บุญกุศลในฐานะผู้แต่งนิราศบุณยยาตราและได้บุญกุศลจากการอนุโมทนาบุญของผู้อ่านและผู้ฟังบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเด่นด้านเนื้อหานิราศบุณยยาตราในสมัยรัตนโกสินทร์ รวมถึงแนวคิดการแต่งนิราศบุณยยาตราในฐานะการสร้างบุญกุศล โดยศึกษาจากวรรณคดีนิราศที่มุ่งหมายเดินทางไปทำบุญยังพุทธสถานต่าง ๆ จำนวน 14 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาจำแนกได้เป็น 5 ส่วน คือ การกล่าวถึงเส้นทางเดินทาง การพรรณนาพุทธสถาน การสักการบูชา การอธิษฐานและอุทิศบุญและการบอกบุญ เพื่อมุ่งเน้นแสดงความเลื่อมใสศรัทธาพระรัตนตรัยในฐานะวรรณคดีพระพุทธศาสนา ด้วยการบอกเล่าการเดินทางไปนมัสการพุทธสถานอย่างละเอียดเพื่อหวังให้ผู้ไม่เคยไปได้รับรู้ เป็นสื่อกลางให้ผู้อ่านและผู้ฟังรับรู้การเดินทางของกวีเพื่อร่วมรับบุญกุศลด้วยการอนุโมทนาบุญเสมือนได้เดินทางไปด้วย กวีจึงได้บุญกุศลในฐานะผู้แต่งนิราศบุณยยาตราและได้บุญกุศลจากการอนุโมทนาบุญของผู้อ่านและผู้ฟัง
References
ณัฐพร จาดยางโทน. (2561). พัฒนาการวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: ดาราวรรณการพิมพ์.
ดวงมน จิตร์จำนง. (2540). คุณค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
น้อมนิจ วงศ์สุทธิธรรม. (2549). วรรณกรรมนิราศ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
นิราศพระปถวี หลวงจักรปาณี (ฤกษ) เปรียญ. (2468). พิมพ์แจกในงานกฐินพระราชทาน มหาเสวกโท
พระยาโบราณราชธานินทร์ อุปราชมณฑลอยุธยา ณ วัดวรนายกรังสรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระพุทธศักราช 2468. ม.ป.ท.: โสภณพิพรรฒธนากร.
นิราศยี่สาร. (2543). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ประจักษ์ ประภาพิทยากร. (ม.ป.ป.). วรรณคดีนิราศ. ม.ป.ท.
ประชุมนิราศคำโคลง. (2513). พระนคร: แพร่วิทยา.
ประชุมนิราศ ภาค 4. (2557). นนทบุรี: ต้นฉบับ.
ประชุมวรรณคดีเรื่อง พระพุทธบาท. (2556). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
พ. ณ ประมวญมารค [นามแฝง]. (2553). ประวัติคำกลอนสุนทรภู่ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 11).
ม.ป.ท.: เอสอาร์พริ้นติ้ง.
พระราชปริยัติ (สฤษดิ์ สิริธโร). (2549). งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา (พิมพ์ครั้งที่ 4).
กรุงเทพฯ: มหาจุฬาบรรณาคาร.
พระสุนทรโวหาร (ภู่). (2554). ประชุมนิราศสุนทรภู่. นนทบุรี: วิสดอม.
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2553). นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 3. (2545) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
วรรณพร พงษ์เพ็ง. (2551). นิราศ ‘พระปฐมเจดีย์’ : การสื่อมโนทัศน์เรื่องความศรัทธาในนิราศลายลักษณ์.
ใน พระนครปฐมในนิราศ บันทึกประวัติศาสตร์ผ่านสายตากวี (65-114). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณวิวัฒน์ รัตนลัมภ์. (2556). คติความเชื่อเรื่องพระพุทธบาทสระบุรีและประเพณี “ไปพระบาท”
ในการสร้างสรรค์วรรณคดีไทย (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
อภิลักษณ์ เกษมผลกูล [บรรณาธิการ]. (2551). พระนครปฐมในนิราศ บันทึกประวัติศาสตร์ผ่าน
สายตากวี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งมหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาจิณ จันทรัมพร และประพนธ์ เรืองณรงค์. (2555). นายมี (เสมียนมี) ศิษย์เอกสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: วสีครีเอชั่น.