สัญญะความเป็นอีสานในเวทีหมอลำหมู่ ในฤดูกาล 2561-2563

สัญญะความเป็นอีสานบนเวทีหมอลำหมู่ ในฤดูกาล 2561-2563

ผู้แต่ง

  • วสันต์ ชาพิทักษ์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ศุภกร บุญอรัญ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • อนันตศักดิ์ พลแก้วเกษ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความเป็นอีสาน, สัญญะ, สัญวิทยา, เวทีหมอลำหมู่, หมอลำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ ศึกษาเกี่ยวกับสัญญะความเป็นอีสานบนเวทีหมอลำหมู่ ในฤดูกาล 2561-2563  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัญญะความเป็นอีสานบนเวทีหมอลำหมู่ ในฤดูกาล 2561-2563 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการรวบรวมข้อมูลจากการจัดอันดับ 10 อันดับหมอลำยอดเยี่ยมแห่งปี 2561 และ2562 ของเพจอีสานไกด์ ดอทคอม จำนวน 10 คณะ ได้แก่ คณะระเบียบวาทะศิลป์ คณะศิลปินภูไท คณะประถมบันเทิงศิลป์ คณะเสียงอีสาน คณะสาวน้อยเพชรบ้านแพง คณะหมอลำใจเกินร้อย คณะคำผุนร่วมมิตร คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ คณะหนึ่งรุ่งทิวาอำนวยศิลป์ และคณะศิลปินกุหลาบแดงสมจิตร บ่อทอง  โดยใช้ทฤษฎีสัญวิทยาแนวคิดของเพียร์ซมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นอีสานผ่านสัญญะบนเวทีหมอลำหมู่ ในฤดูกาล 2561-2563 ปรากฏสัญญะ “ความเป็นอีสาน” แบ่งออกเป็น     4 ด้าน ดังนี้ 1. หัตถกรรมพื้นบ้านอีสาน พบ 3 ชนิด ได้แก่ ผ้าขาวม้า (ผ้าด้าม) ลายขิดอีสาน ธุงไฟอีสานหรือตุง  2. เครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน พบ 1 ชนิด คือ แคน 3. ความเชื่อของคนอีสาน พบ 1 ชนิด คือ พญานาค และ  4. สถาปัตยกรรมพื้นบ้านอีสาน พบ 1 ชนิด คือ เรือนไทยอีสาน ทั้งนี้สัญญะ “ความเป็นอีสาน” ดังกล่าว แสดงถึงการถ่ายทอดและอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานให้คงอยู่สืบไป

References

เอกสารอ้างอิง
กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
คมกริช การินทร์. (2560). หมอลำมหัศจรรย์. กระทรวงวัฒนธรรม. ประจำปีงบประมาณ 2560.
จีระพงษ์ โคตรชมภู. (2563 ตุลาคม 15). ประวัติพญานาค. แหล่งที่มา :
https://sites.google.com/site/yjuryueuymju/prawati-khxng-phyanakh
ชัชวาล วงวารี. (2560). สถาปัยกรรมอีสานร่วมสมัย : ศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์
ขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
(สาขาวิชาสถาปัตยกรรม). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นิตยา วรรณกิตร์. (2557). ภูมิปัญญา “ผ้าไหมแพรวาผู้ไทบ้านโพน” : พลวัตและการปรับตัว.
วารสารไทยศึกษา, ปีที่ 10(ฉบับที่ 2), 63.
บ้านนกน้อย Channel. (2563 สิงหาคม 8). คณะเสียงอีสาน ฤดูกาล 2561-2562. แหล่งที่มา :
https://www.youtube.com/watch?v=iXM_3U2hfBI
บ้านรัตนศิลป์. (2563 สิงหาคม 8). คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ฤดูกาล 2562-2563. แหล่งที่มา :
https://www.facebook.com/Rattanasin60
วิทยา วุฒิไธสง. (2563 กันยายน 16). ตุง. แหล่งที่มา : https://cac.kku.ac.th/?p=5048
ศักดิ์ชาย สิกขา. (2551). ค้ำคูณผ้าขาวม้า ภูมิปัญญาสู่สากล. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ศิริชัย ทัพขวา. (2560). การพัฒนารูปแบบการแสดงหมอลำหมู่เชิงธุรกิจ. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สารานุกรม ด่านนอก. (2563 สิงหาคม 8). คณะประถมบันเทิงศิลป์ ฤดูกาล 2562-2562. แหล่งที่มา :
https://youtu.be/RZOcdJJHO7k
หมอลำทีวี. (2563 สิงหาคม 8). คณะศิลปินภูไท ฤดูกาล 2562-2563. แหล่งที่มา :
https://youtu.be/rhhEtHj8De0
อารีย์รัตน์ ลิ่มวงศ์สุวรรณ. (2545). ภูมิแผ่นดินไทย 5 : ผ้าไทย. กรุงเทพฯ: จี เอ็ม แม็ก มีเดีย.
อนันตศักดิ์ พลแก้เกษ. (2559). ถอดรหัสความเป็นอีสานผ่านสัญญะในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า
ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิถีสังคมมนุษย์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559:
กาฬสินธุ์.
4K หมอลำ Show. (2563 สิงหาคม 8). คณะเสียงอีสาน ฤดูกาล 2562-2563. แหล่งที่มา :
https://youtu.be/c8kWaQwmuKY

อ้างอิงการสัมภาษณ์
เกื้อกูล งามแสง. อายุ 23ปี. ศิลปินนักแสดงหมอลำ. 52 หมู่ 6 บ้านแจนแลน ตำบลแจนแลน
อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (วันที่ 31 ตุลาคม 2563 เวลา 04.17น.) สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-02

How to Cite

ชาพิทักษ์ ว., บุญอรัญ ศ., & พลแก้วเกษ อ. . (2021). สัญญะความเป็นอีสานในเวทีหมอลำหมู่ ในฤดูกาล 2561-2563: สัญญะความเป็นอีสานบนเวทีหมอลำหมู่ ในฤดูกาล 2561-2563. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 10(2), 27–50. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/251447

ฉบับ

บท

บทความวิจัย