จิตรกรรมอีสานริมแม่น้ำโขง: พุทธศิลป์เพื่อการศึกษาเรียนรู้พุทธธรรม คุณธรรมจริยธรรม และวิถีชุมชน ; Isan Murals along the Mekong: Buddhist Art Learning for Understanding Buddhist Thought, Morality, Ethics and Community Life

Authors

  • พิสิทธิ์ กอบบุญ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Keywords:

จิตรกรรมอีสาน, แม่น้ำโขง, พุทธธรรม, คุณธรรม, จริยธรรม, วิถีชุมชน, Isan Murals, the Mekong, Buddhadhamma, Morality, Ethics, Community Life

Abstract

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาจิตรกรรมอีสานริมแม่น้ำโขง ในฐานะพุทธศิลป์ที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาเรียนรู้พุทธธรรม คุณธรรมจริยธรรม และวิถีชุมชนได้อย่างสำคัญ พื้นที่ศึกษาได้แก่วัดซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงที่ปรากฏจิตรกรรมฝาผนัง ได้แก่ วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี, วัดหัวเวียงรังสี วัดพุทธสีมา และวัดโพธิ์คำ จังหวัดนครพนม, วัดลัฏฐิกวันและวัดพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดมุกดาหาร พื้นที่ศึกษาดังกล่าวนี้สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับสารัตถะเนื้อหาของจิตรกรรม 

                จากการศึกษาพบว่า จิตรกรรมอีสานริมแม่น้ำโขงกลุ่มนี้มีความโดดเด่นในมิติต่าง ๆ ได้แก่ 1) ในเชิงศิลปกรรม มีการผสมผสานศิลปกรรมภาคกลางแบบประเพณีไทยกับศิลปะท้องถิ่นอย่างกลมกลืน จิตรกรรมมีความงามอย่างผสมสาน มีความเรียบง่ายและอิสระเป็นหลักในการสร้างสรรค์ เพื่อสื่อสารเนื้อหาสาระอย่างตรงไปตรงมา 2) มีการผสมผสานสารัตถะความคิดระหว่างเนื้อหาสาระทางพระพุทธศาสนากับเนื้อหาที่เป็นวิถีชุมชนเข้าด้วยกันเพื่อแสดงให้เห็นวิถีการดำเนินชีวิตทางสังคมโดยมีพระพุทธศาสนาเป็นหลักยึด เห็นได้ชัดจากการใช้เนื้อที่เพื่อเขียนภาพสื่อความหมายของเนื้อหาทางพระพุทธศาสนากับเนื้อหาทางสังคมมีปริมาณการใช้พื้นที่ไม่น้อยไปกว่ากัน วิถีธรรมกับวิถีโลกจึงดำรงอยู่คู่กันอย่างสมดุล 3) คุณค่าของจิตรกรรมอีสานริมแม่น้ำโขงสามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการสอนพุทธธรรม คุณธรรมจริยธรรมควบคู่ไปกับการสอนเรื่องวิถีโลกและวีถีชุมชน

                ข้อสรุปเชิงแนวคิดของบทความวิจัยนี้จึงได้แก่ จิตรกรรมอีสานริมแม่น้ำโขงมีเอกภาพจากความหลากหลายและการผสมผสาน เป็นหัวใจสำคัญของความงามและคุณค่าของจิตรกรรมอีสานริมแม่น้ำโขง จิตรกรรมอีสานริมแม่น้ำโขงเป็นการผสมผสานความหลากหลายอย่างลงตัวทั้งด้านรูปแบและเนื้อหาเพื่อนำเสนอวิถีธรรมและวิถีโลกได้อย่างกลมกลืน ผลการศึกษาเรื่องนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในแง่การเรียนการสอน การท่องเที่ยว และการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

 

Abstract

                This research article aims to study Isan Murals along the Mekong as a Buddhist Art Learning that can be used and adapted as a tool to the study of Buddhadhamma, Morality, Ethics, and Community Life. The study areas are Tungsimuang temple in Ubon Ratchathani province, Huaweangrangsi temple, Buddhasima temple, and Phokam temple in Nakhonphanom province, and Latthigawan temple and Phrasimahaphoe temple in Mukdahan province. All temples are located along the Mekong which shows the relationship between the area and the content.

                The study found that the Isan murals painting along the Mekong mentioned above have an interesting feature in terms of 1) mechanics; combination of central art and local art harmoniously and perfectly as well as creation with simplicity for a straight communication to people, 2) combination of Buddhist content and community life in order to reveal the concept of social ways of life based on Buddhist teachings that can be obviously seen from the using of ways to communicate the meaning of the 2 contents Buddhism and Community life that considers the same range, and 3) the Isan murals along the Mekong are highly valuable for using as a tool in teaching about Buddhadhamma, Morality and, Ethics as well as teaching about the way of Human World, and Community Life.    

                The conceptual conclusion of this research article is “The Unity of Diversity and Integration”. It is the essence of the beauty of Isan murals painting along the Mekong. The Isan murals painting combine both “form” and “content” harmoniously. The reason is to present the way of the Dharma and the way of Human World. This research can be used and adapted for general teaching, Tourism, Cultural Heritage Preservation, and wisdom.

References

กรมศิลปากร. (2532). คู่มือแนะนำเอกสารจดหมายเหตุ จังหวัดอุบลราชธานี (เอกสารกรมราชเลขาธิการ

รัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กีรติ บุญเจือ. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักวิชาการสากล. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลัง

แผ่นดิน.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2559). วิถีชุมชน เครื่องมือ 7 ชิ้น ที่ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผล และสนุก. พิมพ์ครั้ง

ที่ 12. นนทบุรี: สุขศาลา.

จุลทรรศน์ พยัคฆรานนท์. (2527). “ลักษณะจิตรกรรมไทย” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาไทยศึกษา:

อารยธรรม หน่วยที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชวลิต อธิปัตยกุล. (2560). พัฒนาการของงานจิตรกรรมฝาผนังท้องถิ่นอีสาน ในบันทึกไว้ในงานจิตรกรรม. ใน มหาวิทยาลัยศิลปากร, ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, โครงการเสวนาวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ เนื่่องในโอกาส 72 ปี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม (น. 155- 172). กรุุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2557). คุณธรรม จริยธรรมกับศีลธรรมจากมุมมองของปรัชญา. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 13).

กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการศึกษาสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต).

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2533). พุทธศาสนากับปรัชญา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ.

ไพโรจน์ สโมสร. (2532). จิตรกรรมฝาผนังอีสาน. ขอนแก่น: ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2559) . พระไตรปิฎกสยามรัฐ ภาษาไทย เล่ม 28 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย

ชาดก ภาค 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

ศิลป์ พีระศรี. (2502). คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนัง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ศิลป์ พีระศรี. (2553). ศิลปะวิชาการ 3: ศิลปสงเคราะห์ พจนานุกรมศัพท์ศิลปะตะวันตก (พิมพ์ครั้งที่ 4).

ปทุมธานี: มูลนิธิศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีอนุสรณ์.

สุขุมาล เกษมสุข. (2548). การปลูกฝังจริยธรรมแก่เด็ก. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2540). “การละเล่นมาก่อนการแสดง” ใน มนตรี ตราโมท. การละเล่นของไทย, พิมพ์ครั้งที่

กรุงเทพฯ: มติชน.

Stecker, R. (2003). “Value in Art.” The Oxford Handbook of Aesthetics. New York:

Oxford University Press.

Downloads

Published

2020-06-05

How to Cite

กอบบุญ พ. (2020). จิตรกรรมอีสานริมแม่น้ำโขง: พุทธศิลป์เพื่อการศึกษาเรียนรู้พุทธธรรม คุณธรรมจริยธรรม และวิถีชุมชน ; Isan Murals along the Mekong: Buddhist Art Learning for Understanding Buddhist Thought, Morality, Ethics and Community Life. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 9(1), 103–137. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/243167

Issue

Section

บทความวิจัย