พิธีกรรมการเพาะปลูกข้าวของชาวไทลื้อ
The Rituals of Tai Lue in the Paddy Cultivation
Keywords:
Rituals, Paddy, Tai LueAbstract
งานวิจัยเรื่องพิธีกรรมการเพาะปลูกข้าวของชาวไทลื้อมีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บรวบรวมพิธีกรรมการเพาะปลูกข้าวและศึกษาที่มาของความเชื่อที่ปรากฏในพิธีกรรมการเพาะปลูกข้าวของชาวไทลื้อ อ.เชียงคำ จ.พะเยา โดยวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ตามกรอบแนวคิดการวิจัยด้านคติชนวิทยาและมานุษยวิทยา และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ฤดูกาลทำนาของชาวไทลื้อมีการประกอบพิธีกรรม 8 พิธีกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) พิธีกรรมเพื่อบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ พิธีไหว้เจ้าที่ พิธีแฮกนา และพิธีฮ้องขวัญข้าว 2) พิธีกรรมเพื่อป้องกันภยันตรายและปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ได้แก่ พิธีบูชานา 3) พิธีกรรมเพื่อแสดงความขอบคุณ ได้แก่ พิธีเลี้ยงผีข้าวแฮก และพิธีเลี้ยงผีฝาย 4) พิธีกรรมเพื่อฟื้นฟูจิตใจ ได้แก่ พิธีฮ้องขวัญควาย และ 5) พิธีกรรมเพื่อแสดงความกตัญญู ได้แก่ พิธีตานข้าวใหม่ สำหรับที่มาของความเชื่อที่พบในพิธีกรรมการเพาะปลูกข้าวแสดงถึงความเชื่อ 3 ด้าน คือ ความเชื่อสัมพันธ์กับผี ความเชื่อที่สัมพันธ์กันศาสนาพราหมณ์ และความเชื่อที่สัมพันธ์กับศาสนาพุทธ
References
กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561). ข้อมูลกรมวิชาการเกษตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2561, จาก www.doa.ggo.th
น้ำมนต์ อยู่อินทร์. (2553). การดำรงอยู่ของความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวในสังคมไทยปัจจุบัน: กรณีศึกษาหมู่บ้านดอนโพธิ์ อำเภอเสนา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2539). ประเพณีสิบสองเดือน: วิถีชีวิตไทในรอบปี. ใน เอกสารประกอบการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง “ชนชาติไทกับวัฒนธรรมข้าว”.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงผกา วรรณคำ. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพิธีการเกษตรของชุมชนไทลื้อ บ้านท่าหล่ม ตำบลทานตะวัน อำเภอทานตะวัน จังหวัดเชียงราย (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สนั่น ธรรมธิ. (2557). ร้อยสาระสรรพล้านนาคดี เล่ม 4. เชียงใหม่: สุเทพการพิมพ์.
สนิท บุญฤทธิ์ (บรรณาธิการ). (2546). ตำนานเทพเจ้าและอสูร. กรุงเทพฯ: ปิรามิด.
สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). (2546). ข้าวปลา หมาเก้าหาง. กรุงเทพฯ: มติชน.
___________ (บรรณาธิการ). (2548). “คนไท” ไม่ใช่ “คนไทย” แต่เป็นเครือญาติชาติภาษา: รวมความรู้ “ไทยศึกษา” ของศาสตราจารย์สองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: มติชน.
สุดสวาท จันทร์ดำ. (2544). ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวและการเพาะปลูกข้าว. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 7(2), 39-62.
ไสว เชื้อสะอาด. (2538). ไทลื้อล้านนาถึงสิบสองปันนา. พะเยา: สำนักงานศึกษาธิการ อ.เชียงคำ จ.พะเยา.
อัมพิกา ยะคำป้อ. (2554). พลวัตของบทบาทความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีอารักษ์บ้านที่บ้านไม้ลุงขน อ.แม่สาย จ.เชียงราย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เอี่ยม ทองดี. (2537). วัฒนธรรมข้าว: พิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวและการทำนา: เทคโนโลยีของอดีต ประเพณีในปัจจุบัน ตำนานแห่งอนาคต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.
Moerman, M. (1968). Agricultural Change and Peasant Choice. California: Berkeley and Los Angeles.
Spiro, M. E. (1966). Religion: problems of definition and explanation. In. Michael Banton (ed.), Anthropological Approaches to the Study of Religion, 85-126.