หน้าที่ทางไวยากรณ์และความหมายของคำว่า “ขี้” ที่ปรากฏในภาษาไทยปัจจุบัน ; Grammatical Functions and Semantic Aspects of the Word /Khîː/ in Thai

Authors

  • ธีรภัทร คำทิ้ง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

the word /Khi/ in Thai, grammaticalization, Functions of the word, Functional-Typological Grammar

Abstract

บทคัดย่อ

                วิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหน้าที่ทางไวยากรณ์และความหมายของคำว่า “ขี้” และศึกษากระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า “ขี้” ในภาษาไทยปัจจุบัน ตามแนวไวยากรณ์หน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา โดยเก็บข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ จำนวนทั้งสิ้น 840 ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า พบหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำว่า “ขี้” 5 หน้าที่ ได้แก่ เป็นคำนาม คำกริยา คำบ่งกลุ่มนาม คำบ่งนามวิเศษณ์ และคำบ่งกริยาสภาพการณ์ ในทางความหมายพบว่า “ขี้” มี 5 ความหมาย ได้แก่ ของเสียที่ขับออกมาทางทวารหนักของคนและสัตว์ การถ่ายของเสียออกมาทางทวารหนักของคนและสัตว์ สิ่งสกปรกหรือสิ่งไม่ดีที่ขับออกมาของสิ่งนั้น ๆ คุณลักษณะที่ไม่ดีมากเกินควร อาการที่แสดงสิ่งไม่ดีออกมาบ่อยครั้ง ส่วนกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์พบ 4 กระบวนการ ได้แก่ การถูกบังคับการปรากฏ การวิเคราะห์ใหม่ การสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม และคำไวยากรณ์จะมีความหมายเชิงอุปลักษณ์

 

Abstract

                The objectives of this research were to analyze the grammatical functions and semantic aspects of the word /Khîː/ and to study grammaticalization of the word /Khîː/ in Thai by using Functional-Typological Grammar framework. The study found the grammatical functions of the word /Khîː/ are realized by five roles as noun, verb, class term, adjective, and stative verb. The meanings reveal that the word /Khîː/ has 5 meanings: (1) Waste that is excreted through the anus of people and animals, (2) Transfusion of the human and animal rectum, (3) Dirt or the bad things that are excreted from things, (4) Characteristics that are not very good, (5) symptoms often showing bad things. The grammaticalized /Khîː/ would have 4 characteristics: (1) obligatorification, (2) reanalysis, (3) decategorization, and (4) metaphorical extension.

References

กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา. (2559). กระบวนการกลายเป็นรูปไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นววรรณ พันธุเมธา. (2553). ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพทยา มีสัตย์. (2540). การศึกษาคำช่วยหน้ากริยาที่กลายมาจากคำกริยาในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์. (2546). การศึกษาเชิงประวัติของคำว่า แล้ว อยู่ อยู่แล้ว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วิยะดา มีศรี. (2562). การศึกษาเชิงประวัติหน้าที่ไวยากรณ์และความหมายของคำว่า “อัน” (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ. (2555). พัฒนาการของคำว่า “เป็น” ในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต).

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2554). ไวยากรณ์ภาษาไทยมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.)

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2558). เอกสารคำสอนวจีวิภาคและวากยสัมพันธ์ในภาษาไทย. พิษณุโลก:

ภาควิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2561). การประสมสร้างคำในภาษาไทใหญ่: ไวยากรณ์ การสื่อสาร และ

การกลายเป็นคำไวยากรณ์. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติวลัยลักษณ์วิจัย ครั้งที่ 10 ที่จัดขึ้น

ในวันที่ 27 – 28 มีนาคม 2561 ณ นครศรีธรรมราช.

Givon, T. (2001). Syntax: vol 1-2. Amsterdam: Philadelphia: John Benjamis.

Heine, B., & Reh, M. (1984). Grammaticalization and Reanalysis in African Languages. USA:

University of Virginia.

Hopper, P. J., & Traugott, E.C. (2003). Grammaticalization (2nd Edition). Cambridge Textbooks

in Linguistics. USA: Cambridge University Press.

Lehmann, C. (2002). Thoughts on grammaticalization (2nd revised edition). Erfurt: Seminar fur

Sprachwissenschaft der Universität.

Downloads

Published

2020-06-05

How to Cite

คำทิ้ง ธ., & รอดทรัพย์ ณ. (2020). หน้าที่ทางไวยากรณ์และความหมายของคำว่า “ขี้” ที่ปรากฏในภาษาไทยปัจจุบัน ; Grammatical Functions and Semantic Aspects of the Word /Khîː/ in Thai. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 9(1), 57–75. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/241870

Issue

Section

บทความวิจัย