นามสกุลคนลาว นครหลวงเวียงจันทน์: คำและความหมาย ; Lao Surnames in Vientiane: Word Meaning

Authors

  • รัตนา จันทร์เทาว์ Thai department, faculty of humanities and social sciences, khon kaen university, Thailand
  • กัลยรัตน์ อุ่นทานนท์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

การตั้งชื่อ, นามสกุล, สกุล, ภาษาลาว, ภาษาอัตลักษณ์, naming, surname, family name, Laotian language, language identity

Abstract

 บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คำและความหมายของนามสกุลคนลาว เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพทางภาษาศาสตร์ ข้อมูลวิจัย คือ นามสกุลของคนลาวที่อาศัยอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เก็บตัวอย่างนามสกุลโดยให้คนลาวเขียนชื่อสกุลของตนเอง ญาติ และเพื่อน ที่อาศัยอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ จำนวน 1,500 คน ตัดนามสกุลที่ซ้ำซ้อน ได้นามสกุลคนลาวจำนวน 1,102 นามสกุล นำมาวิเคราะห์คำและความหมายตามระดับความถี่ของการปรากฏ นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์และการยกตัวอย่างนามสกุล

         ผลการวิจัยพบคำศัพท์จำนวน 22 คำ ที่มีความถี่ปรากฏมากกว่า 20 นามสกุล แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ คำที่ปรากฏในระดับมากที่สุด จำนวน 5 คำ ได้แก่ ວົງ (วงศ์) ໄຊ(ชัย) ຈັນ(จันทร์) ຄຳ(คำ) ແກ້ວ(แก้ว)  โดยเฉพาะคำว่า ວົງ(วงศ์) ปรากฏจำนวน 251นามสกุล คิดเป็นร้อยละ 22.7 ของนามสกุลทั้งหมด  ระดับมาก จำนวน 6 คำ ระดับปานกลาง จำนวน 13 คำ ส่วนด้านความหมาย พบว่า นามสกุลคนลาวมีความหมายเกี่ยวกับ สิ่งของมีค่า วงศ์ตระกูล ชัยชนะ ศิริมงคล พระจันทร์ มากที่สุด ตามลำดับ ทั้งนี้ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรจะมีการวิจัยนามสกุลของคนลาวที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์

 

Abstract

                This article aims to find the word feature and meaning of Lao surnames. This research is a linguistic qualitative research in linguistics. The research data are the surnames of Laotians living in Vientiane Capital. The sampling of the surnames uses convenient method by asking the Laos natives to write their surnames, kin, and friends living in Vientiane consisting of 1,500 people. By excluding the redundant surnames, there were 1,102 Lao surnames in total. The vocabulary in the surname totally will be collected in order to classify the Laos’s surnames in word feature and meaning. The research findings were explained by descriptive analysis method and giving the example.

                The research found that 22 words by frequency appear in more than 20 surnames. They were divided into 3 categories; the highest level consists of 5 words;  ວົງ (Wong), ໄຊ (Chai), ຈັນ (Chan), ຄຳ (Word), ແກ້ວ (Kaew). In particularly, the word ວົງ (Wong) appears in 251 surnames, equivalent to 22.7 percent of all surnames. The high level consists of 6 words and the medium level consists of 13 words. In terms of meaning, identity was found that the surnames of Lao people have the most meanings about the valuable items, victory, and family line, respectively. The next research should be conducted to analyze the surnames of Laos who have different ethnicity.

Author Biography

รัตนา จันทร์เทาว์, Thai department, faculty of humanities and social sciences, khon kaen university, Thailand

ภาษาไทย,ภาษาลาว,วัฒนธรรมอีสาน,ประเพณีอีสาน,ภาษาถิ่น,ภาษาศาสตร์

References

ชมพูนุท โพธิ์ทองคำ. (2541). การตั้งชื่อของชาวกะเหรี่ยงโป ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

นารี กรุมรัมย์ และ รัตนา จันทร์เทาว์. (2557). นามสกุลของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในจังหวัดสุรินทร์. วารสารบัณฑิตศึกษามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 3 (2), 61-76.

รัตนา จันทร์เทาว์. (2560). พัฒนาการภาษาลาว. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รุจิเรข บูรวิชเกษตรกร. (2555). การตั้งชื่อชาวไทดำ หมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน

จังหวัดเลย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น,ขอนแก่น.

สาริสา อุ่นทานนท์. (2553). การตั้งชื่อของคนลาว: คำและความหมาย. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ , 7 (3), 86-99.

สาริสา อุ่นทานนท์. (2563). นามสกุลคนลาว. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Baiju, R. Shah., & Others. (10 January 2010). Surname lists to identify South Asian and Chinese

ethnicity from secondary data in Ontario, Canada: a validation study.

Retrieved from https://tspace.library.utoronto.ca/bitstream/1807/84138/1/12874_2010_Arti

cle_445.pdf

Gumperz, J. J. (Ed.). (1982b). Language and social identity . Cambridge: Cambridge University

Press.

Nanchahal, K., & Others. (2001). Development and validation of a computerized South Asian

Names and Group Recognition Algorithm (SANGRA) for use in British health-related

studies. Journal of Public Health Med, 23 , 278-285.

Harding, S., & Others. (1999). The potential to identify South Asians using a computerized

algorithm to classify names. Popul Trends, 97 ,6-49.

Lauderdale DS and Kestenbau B. (2000). Asian American ethnic identification by surname.

Popul Res Policy Rev, 19, 283-300.

United Nations, Department of Economic and Social Affairs. (2020, January,15). Population of

Laos 2020. Retrieved from https://www.worldometers.info/world-population/laos-population/ (15

January 2020)

Tongkham Oonmanison. (2008). Watchananukom Phasa Lao [Laotian dictionary]. Vientiane:

Pannee Advertising,

Maha Sila Wirawong. (2000). Watchanakukom Phasa Lao Sabup Papungmai [Laotian dictionary

new edition]. Vientiane: Textbook Department of Educational Administration.

Downloads

Published

2020-06-05

How to Cite

จันทร์เทาว์ ร., & อุ่นทานนท์ ก. (2020). นามสกุลคนลาว นครหลวงเวียงจันทน์: คำและความหมาย ; Lao Surnames in Vientiane: Word Meaning. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 9(1), 38–56. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/240285

Issue

Section

บทความวิจัย