การเมืองกับการเดินทางในวรรณกรรมการเดินทางไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยา-รัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์ ; Politics and Travel in The travel-Related Thai Literature from Ayutthaya Period to the Reign of King Rama 5 of Rattanakosin Period

Authors

  • กิติราช พงษ์เฉลียว สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 34000
  • กีรติ ธนะไชย สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โสภี อุ่นทะยา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Keywords:

การเดินทาง, การเมือง, วรรณกรรมการเดินทางไทย, travel, politics, travel-Related Thai literature

Abstract

บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์การเขียนบทความนี้เพื่อนำเสนอข้อค้นพบในการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นการเมืองที่ส่งผลให้เกิดการเดินทางในวรรณกรรมการเดินทางไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา-รัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์ โดยจะศึกษาจากตัวบทวรรณกรรมการเดินทางประเภทนิราศและจดหมายเหตุการเดินทาง ซึ่งพบว่า การเดินทางเพื่อประโยชน์ทางการเมืองมีจุดประสงค์ในการเดินทางอยู่ 4 จุดประสงค์หลัก คือ การเดินทางของทูตสันถวไมตรีไปมาระหว่างประเทศ การเดินทางเพื่อการศึกสงคราม  การเดินทางเพื่อการสำรวจทรัพยากรของอาณาจักร และการเดินทางเพื่อเยี่ยมชมอาณานิคมและเจ้าอาณานิคมตะวันตก จุดประสงค์ดังกล่าวมาแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะรักษาผลประโยชน์ของอาณาจักรและรัฐในแต่ละยุคสมัยจึงเกิดการเดินทางของกลุ่มคนในราชสำนักเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการปกป้องอธิปไตยรวมถึงการขยายอาณาเขตของอาณาจักร เพื่อเป็นการสำรวจและจัดเก็บทรัพยากรของรัฐในพื้นที่ต่าง ๆ ที่รัฐมีอำนาจอธิปไตยเหนืออยู่ รวมถึงเพื่อเป็นการเตรียมการรับมือลัทธิล่าอาณานิคมชาวตะวันตกเพื่อไม่ให้ประเทศตกเป็นเมืองขึ้นของชาวตะวันตกในช่วงรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

 

Abstract

          This article is a thesis partial fulfillment of Doctor of Philosophy, Department of Thai, Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University with its objective to present the findings of the study of political issues responsible for travel in the travel-related Thai literature from Ayutthaya Period to King Rama 5 of Rattanakosin Period. Nirat Poetry, a type of travel literature and travel archives have been investigated finding that traveling for political benefits concerns 4 major purposes of international diplomacy, battles and wars, exploration of natural resources of the kingdom, and visit to the western colonists and the colonies. The aforementioned purposes demonstrate the need to protect the interests of the kingdom and the state in each period, encouraging travel of the royal court to support international political relations, to maintain the sovereignty and the expansion of the kingdom territory, to explore and preserve government resources in areas under the state sovereignty, as well as to prepare for and prevent Western colonialism during the reigns of King Rama 4 and King Rama 5 of Rattanakosin Period.

References

จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร. (2559). การสร้างอัตลักษณ์ในไพรัชนิยายไทยระหว่าง พ.ศ. 2484-2489.
วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2450). ไกลบ้าน. มปท : มปพ.
_______. (2466). พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือในรัชกาลที่ 5 นับในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆ
เปนภาคที่ 5. มปท : มปพ.
ชาญวิทย์ เกษตรศิร. (2559). “รัชกาลที่ 5 กับการเสด็จฯ อินเดีย พ.ศ. 2414 และความเข้าใจต่อการ
ปฏิรูปแห่งรัชสมัย”. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการประจำ ปี 2559 . มูลนิธิโตโยต้า
ประเทศไทย.
_______. (2553). นิราศเมืองกวางตุ้งหรือนิราศพระยามหานุภาพ. การประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง จดหมาย
เหตุสยาม : จากกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรถึงเมืองจันทบูร. สมาคมจดหมายเหตุ.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา..(2469). จดหมายเหตุเก่าเรื่องพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรี
อยุธยาแต่งทูตไทย ไปมนัสการพระมาลัยเจดีย์เมืองหงสาวดี (รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในระหว่างช่วง พ.ศ.1991-พ.ศ.2031). พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
_______. (2470). ประชุมพงศาวดารภาคที่ 45 รวมจดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.
2400 (รัชกาลที่ 4). พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
ธงรบ รื่นบันเทิง. (2560). “นิราศลอนดอน : การสร้างวาทกรรมอัสดงคตนิยมยุคสยามใหม่” ใน “เรื่อง
เล่าเรื่องเล่า”. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2560.
ธนาคาร จันทิมา. (2554). วรรณกรรมบันทึกการเดินทางของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ในฐานะนิราศ
สมัยใหม่ : จากการคร่ำครวญสู่การใคร่ครวญและปัญญา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัทธนัย ประสานนาม. (2556). นิยายแห่งนิยามเรื่องเล่าสมัยใหม่ในปริทัศน์การเมืองวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ :
จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2555). ปากไก่และใบเรือ. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน.
ราชบัณฑิตยสภา. (2475). จดหมายเหตุเรื่องส่งทูตไทยไปกรุงโรมครั้งที่ 2 ในแผ่นดิน สมเด็จพระ
นารายณ์มหาราช. พระนคร : โรงพิมพ์สยามพณิชยการ.
ราโชทัย (กระต่าย อิศรางกูร) หม่อมราชวงศ์. (2505). นิราศลอนดอน. พระนคร : รุ่งเรืองธรรม.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2516). นิราศคำโคลง : การศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับนิราศชนิดอื่น.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, แผนกวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
Justin D. Edwards and Rune Graulund. (2011). Postcolonial Travel Writing: Critical
Explorations. Postcolonial Text, 6(2).
Thompson, carl. (2011). Travel Writing. New York: Routledge.

Downloads

Published

2019-11-24

How to Cite

พงษ์เฉลียว ก., ธนะไชย ก., & อุ่นทะยา โ. (2019). การเมืองกับการเดินทางในวรรณกรรมการเดินทางไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยา-รัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์ ; Politics and Travel in The travel-Related Thai Literature from Ayutthaya Period to the Reign of King Rama 5 of Rattanakosin Period. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 8(2), 33–63. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/202135

Issue

Section

บทความวิจัย