การแปรของการออกเสียงพยัญชนะต้นเสียงนาสิก เพดานแข็ง [n] ในภาษาไทยถิ่นเหนือตามปัจจัยทางสังคม ; Variation of Pronunciation of the Initial Consonant [n] in Northern Thai Dialect by Social Factors

ผู้แต่ง

  • กรชนก นันทกนก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ภาษาศาสตร์สังคม, การออกเสียง, การแปร, ภาษาไทยถิ่นเหนือ, sociolinguistics, pronunciation, variation, Northern Thai Dialect

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการออกเสียงพยัญชนะต้นเสียงนาสิก เพดานแข็ง /J/ ในภาษาไทยถิ่นเหนือ โดยศึกษาวัจนลีลาการสัมภาษณ์แทนวัจนลีลาไม่เป็นทางการและการอ่านคำคู่เทียบเสียงแทนวัจนลีลาที่เป็นทางการ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากผู้บอกภาษาที่ใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นภาษาแม่ จำนวน 20 คน เพศชาย 10 คน เพศหญิง 10 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นอายุ คือ รุ่นอายุ 15–20 ปี แทนกลุ่มคนรุ่นใหม่และรุ่นอายุ 40-55 ปี แทนกลุ่มคนรุ่นค่อนข้างเก่า ผลการศึกษาพบว่า ผู้บอกภาษามีการออกเสียงพยัญชนะต้นเป็นเสียงนาสิก เพดานแข็ง [J] และเสียงเปิด เพดานแข็ง [j] โดยมีการออกเสียงพยัญชนะต้นเป็น เสียงเปิด เพดานแข็ง [j] ในสัดส่วนที่มากกว่าในวัจนลีลาที่เป็นทางการของกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพศหญิง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวแปรทางสังคมด้านวัจนลีลา อายุ และเพศมีผลต่อการออกเสียงของผู้บอกภาษาและลักษณะการออกเสียงพยัญชนะต้นเสียงนาสิก เพดานแข็ง /J/ ในภาษาไทยถิ่นเหนือมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นเสียงเปิด เพดานแข็ง [j] ซึ่งอาจเป็นเพราะได้รับอิทธิพลจากการใช้ภาษาไทยมาตรฐาน

 

Abstracts

          This paper aims to study variation in the pronunciation of initial consonant /J/ in the Northern Thai dialect based on two styles of language: interview which represents the informal style and minimal pair reading which represents the formal style. The data were collected from 20 informants who use the northern Thai dialect as a native language. The informants were divided into two sex groups: male and female, and two age groups of 15–20 and 40-55. Those groups of age are the representative of new generation and rather old generation, 10 individuals for each group. The results show that there are 2 variants the initial consonant /J/ in the Northern Thai dialect: [J] and [j]. The study reveals that the new generation pronounces the initial consonant [j] most in the formal style. Therefore, the style, age, and sex have an effect on pronunciation of informants. It can be concluded that the variants of the initial consonant [j] in the Northern Thai dialect are commonly used, probably due to the influence of Standard Thai.

References

กรรณิการ์ วิมลเกษม. (2555). ภาษาไทยถิ่นเหนือ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: หจก.เชนปริ้นติ้ง.
ปาลีรัฐ ทรัพย์ปรุง. (2536). การแปรของเสียง (h) ในภาษาถิ่นสงขลาเขตชุมชนเมืองตามปัจจัยทางสังคม.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชนี เสนีย์ศรีสันต์. (2526). การศึกษาเปรียบเทียบเสียงและระบบเสียงในภาษาลาวพวนมาปลาเค้าของ
ผู้พูดภาษาที่มีอายุต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริรัตน์ มูลตุ้ย. (2553). การวิเคราะห์การแปรของภาษายองด้านคำศัพท์และการใช้คำศัพท์ของคนสาม
ระดับอายุในตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิริวรรณพิชา ธนจิราวัฒน์และสมทรง บุรุษพัฒน์. (2560). ระบบเสียงภาษาไทยยวนในประเทศไทย.
วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. 34(1), 90-117.
สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2551). การศึกษาภาษาถิ่น: ภาษาตระกูลไทย. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.

อนงค์นาฏ นุศาสตร์เลิศ. (2556). การออกเสียงพยัญชนะท้าย (l) และ(s) ในคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย
มาตรฐานของชุมชนหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่นตามวัจนลีลาและอายุของผู้พูด. วารสารบัณฑิตศึกษามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(1), 15-32.
อภิชญา แก้วอุทัย. (2553) การศึกษาการแปรของเสียง (mr) และ (ml) ในภาษาไทยถิ่นสงขลา ตามปัจจัยทาง
สังคมด้านอายุและถิ่นที่อยู่อาศัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 30(2), 27-40.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ภาษาศาสตร์สังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2546). วรรณกรรมล้านนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เอกพล กันทอง. (2550). การแปรของวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นเชียงใหม่ตามกลุ่มอายุ. วิทยานิพนธ์
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-24

How to Cite

นันทกนก ก. (2019). การแปรของการออกเสียงพยัญชนะต้นเสียงนาสิก เพดานแข็ง [n] ในภาษาไทยถิ่นเหนือตามปัจจัยทางสังคม ; Variation of Pronunciation of the Initial Consonant [n] in Northern Thai Dialect by Social Factors. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 8(2), 16–32. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/197011