ภาพเสมือนจริง คนชายขอบ และด้านมืดของมนุษย์ ในนวนิยายเรื่อง ทศกัณฐ์ออนไลน์ ; Simulacra, Marginal People, and Dark Side of Human in Novel Thotsakan Online
Keywords:
ภาพเสมือนจริง, คนชายขอบ, ด้านมืด, ทศกัณฐ์ออนไลน์, simulacra, marginal people, Thotsakan OnlineAbstract
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องนี้มุ่งศึกษานวนิยายเรื่อง ทศกัณฐ์ออนไลน์ บทประพันธ์ของ ชัยกร หาญไฟฟ้า โดยมีประเด็นที่ศึกษาได้แก่ 1) ไวรัสคอมพิวเตอร์: ตัวแทนคนชายขอบและความพิการเชิงอุปลักษณ์ของมนุษยชาติ 2) รามเกียรติ์ออนไลน์: เครื่องมือการต่อสู้ต่อรองผ่านภาพเสมือนจริง 3) ทศกัณฐ์ออนไลน์กับการเผยด้านมืดของมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่ทางเกมรามเกียรติ์ออนไลน์นั้น แสดงให้เห็นความอ่อนแอของมนุษย์ในลักษณะของความยากลำบากและความวุ่นวายที่มาจากการไร้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น ไวรัสยังเป็นตัวแทนของผู้ที่สร้างมันขึ้นมา นั่นคือ ดร. สมชาย ที่ได้นำมาอุปลักษณ์กับทศกัณฐ์ ในเกมรามเกียรติ์ออนไลน์ ในมิติของภาพชีวิตที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นเกมรามเกียรติ์ออนไลน์ จึงใช้นำเสนอให้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ต่อรองของตัวละครชายขอบและตัวละครจากศูนย์กลาง โดยสรุป บทความเรื่องนี้ต้องการชี้ให้เห็นการใช้เกมออนไลน์เป็นเครื่องมือทางสังคม
Abstract
This paper aims to study novel Thotsakan Online, written by Chaiyakorn Hanfifa, on issues 1) The computer virus: the representation of marginal people and metaphor of handicap, 2) Ramakien Online Game: the tool of contesting and negotiating on simulacra, and 3) Thotsakan Online and the exposing dark side of human. The results are: the computer virus which spreads via the Ramakien Online Game reveals human difficulty and disturbing because they cannot use computer, and it is significance of the creator (Dr. Somchai). The important issue is the Ramakien Online Game is generated by metaphor of Dr. Somchai with Thotsakan which is the same life. So the Ramakien Online Game is represented as a tool of contesting and negotiating between the marginal character and centric characters. In sum, this paper is demonstrated that this game is the tool of social.
References
M.H.Abrams. (1999). A Glossary of literature terms (7th ed.). USA: Cornell University.
กุณฑิกา ชาพิมล, มาโนช ดินลานสกูล, และ นิดา มีสุข. (2559). องค์ประกอบของวรรณกรรมเยาวชนประเภทบันเทิงคดีที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลหนังสือดีเด่นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รางวัลแว่นแก้วและรางวัลนายอินทร์อวอร์ด ระหว่างปีพุทธศักราช 2546- 2555. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 10(2), 127–150.
ชัยกร หาญไฟฟ้า. (2550). ทศกัณฐ์ออนไลน์. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ทีน.
ชัยวัฒน์ คุประตกุล. (2530). พัฒนาการและแนวเรื่องของนวนิยายวิทยาศาสตร์ไทย. รู้รอบตัว. 2(3), 34–38.
ทองสุก เกตุโรจน์. (2559). ศัพทานุกรมวรรณคดีสันสกฤต. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
พรวิภา วัฒรัชนากูล. (2549). ความรนแรงในวรรณกรรมจินตนาการวิทยาศาสตร์ไทย. ใน วัฒนธรรมไร้อคติ ชีวิตไร้ความรุนแรง เล่ม 2, (109–130). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
วรมาศ ธัญภัทรกุล. (2555). วาทกรรมสงครามและสันติภาพในกวีนิพนธ์สงคราม. ใน สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (บรรณาธิการ), ศาสตร์แห่งวรรณคดีคือตรีศิลป์: ทฤษฎี สุนทรียะ สังคม, (61–86). กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
ศนิชา แก้วเสถียร. (2546). การใช้วิทยาศาสตร์ในนวนิยายของแก้วเก้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิลปากร, กรม. กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. (2540). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ (หมวดบันเทิงคดี) บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เล่ม 1-4. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
สุภาสิณี คุ้มไพรี. (2557). การสืบทอดวรรณคดีและนิทานในวรรณกรรมเยาวชนไทยช่วงปี พ.ศ. 2545-2554. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภางค์ จันทวานิช. (2555). ทฤษฎีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.