ข้อเสนอในการจัดแผนผังฉันทลักษณ์คร่าวซอ; The Revised Prosodic Structure of Khrao Saw: A Proposal
Keywords:
แผนผังฉันทลักษณ์, คร่าวซอ, วรรณกรรมล้านนา, Prosodic Structure, Khrao Saw, Lanna LiteratureAbstract
บทความนี้เป็นบทความวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอการจัดแผนผังฉันทลักษณ์คร่าวซอที่แตกต่างจากผู้อื่น ซึ่งเดิมมีผู้เสนอว่าแผนผังฉันทลักษณ์คร่าวซอในบทขึ้นต้นมี 3 บาท บทดำเนินเรื่องมี 3 บาท และบทลงท้ายมี 2 บาท ผู้เขียนได้เสนอว่าแผนผังฉันทลักษณ์คร่าวซอในบทขึ้นต้นมี 1 บาท บทดำเนินเรื่องมี 3 บาทหรือ 2 บาท และบทลงท้ายมี 1 บาท ทั้งนี้มีเหตุผลสนับสนุนในการจัดแผนผังฉันทลักษณ์ของคร่าวซอแบบที่เสนออยู่ 5 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อให้แผนผังฉันทลักษณ์คร่าวซอมีความกระชับและไม่ซ้ำซ้อน 2) เพื่อให้บาทขึ้นต้นในแผนผังฉันทลักษณ์คร่าวซอมีความสม่ำเสมอ 3) เพื่อให้ฉันทลักษณ์คร่าวซอตรงกับความเป็นจริงเมื่อศิลปินนำไปขับเป็นทำนองเสนาะ 4) เพื่อแก้ไขปัญหาฉันทลักษณ์คร่าวซอที่มีบางบาทหายไป 5) การพบคร่าวซอยุคเก่าบางเรื่องซึ่งมีฉันทลักษณ์เช่นเดียวกับที่ผู้เขียนเสนอ
Abstract
This academic article aims to present an alternate version of Khrao Saw prosodic structure. While the originally proposed structure consists of 3 lines in the introductory stanza, 3 lines in the main narrative stanza, and 2 lines in the concluding stanza; the alternate structure that the researcher proposed consists of 1 line in the introductory stanza, 3 lines or 2 lines in the main narrative stanza, and 1 line in the concluding stanza. The 5 reasons and supportive evidences of this alternate Khrao Saw prosodic structure are as follows: 1) The improvement will make the structure more concise and less redundant; 2) The introductory stanza will be more consistent; 3) The improvement of the structure with more practicality will be suitable for recital by artists; 4) The revision will complete some missing lines from the structure; 5) The discovery of ancient Khrao Saw prosodic rhymes is corresponded with the researcher's proposed prosodic structure.
References
คำคง สุระวงศ์. (2534). ดวงเมือง วันสร้างเมืองเชียงใหม่ ประวัติพระยาพรหมโวหาร. ม.ป.ท.
ฉัตรยุพา สวัสดิพงษ์. (2517). ค่าวซอเรื่องเจ้าสุวัตร นางบัวคำ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2532). การศึกษาเปรียบเทียบคำอู้บ่าวอู้สาวล้านนาและผญาเกี้ยวอีสาน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2555). วรรณกรรมท้องถิ่นเปรียบเทียบ. เชียงใหม่: สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2509). ลักษณะวรรณกรรมภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว. (2533). กวีนิพนธ์ล้านนา โคลงค่าวริร่ำถ้อยเมืองพิงค์ ค่าวซอเจ้าเจ็ดตน. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว. (2536). คร่าวดอยสุเทพและคร่าวซอสร้างถนนในเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มณี พยอมยงค์. (2514). ประวัติและวรรณคดีลานนาไทย. เชียงใหม่: มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย.
สนั่น ธรรมธิ. (2550). โคลงดอยสุเทพ. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.
สิงฆะ วรรณสัย. (2518). ตำราเรียนอักขระลานนาไทย. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เสน่หา บุณยรักษ์. (2517). วรรณกรรมค่าวของภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสถียร ฉายเสนา. (2541). ค่าวพระยาพรหม : เพชรน้ำเอกแห่งวรรณกรรมลานนา ของพระยาพรหมโวหาร กวีเอกแห่งลานนาไทย พ.ศ. 2345-2430. กรุงเทพฯ: ห.จ.ก. เจริญรัฐการพิมพ์.
หทัยวรรณ ไชยะกุล. (2558). ฉันทลักษณ์ล้านนา. เชียงใหม่: คนเมืองการพิมพ์.
อดุลสีลกิตติ์, พระครู. (2551). โลกนีติคำค่าว. เชียงใหม่: ณัฐพลการพิมพ์.
อรุณ วงศ์รัตน์และสิงฆะ วรรณสัย. (2511). ค่าวซอนิราศบางกอกและหลักเกณฑ์การแต่งคร่าว. เชียงใหม่: คนเมืองการพิมพ์.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2524). กำสรวลพระยาพรหมฯ (คร่าวสี่บทและคำจ่มของพระยาพรหมโวหาร). เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2528). งานวิจัยเรื่องการใช้ศัพท์ภาษาไทยกลางในคร่าวซอเรื่องพระอภัยมณี ของพระยาพรหมโวหาร. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2545). เวสสันตรชาดก ฉบับไม้ไผ่แจ้เรียวแดง. กรุงเทพฯ: โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2547ก). คร่าวสี่บทและคำจ่มของพระยาพรหมโวหาร. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุดม รุ่งเรืองศรี, ผู้รวบรวม. (2547ข). พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2516). วรรณกรรมลานนาไทยเรื่องหงส์หินของเจ้าสุริยวงศ์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ต้นฉบับตัวเขียน
“คร่าวไปเรียกหนานยศบ้านกิ่ว.” สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พับสา. อักษรธรรมล้านนา. ภาษาล้านนา. จ.ศ. 1301 (พ.ศ. 2480). หมายเลข 81 066 07 012-012.