เนื้อหาและภาษาในบทเพลงถึง “พ่อ” : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร; Contents and Language of Songs to “Father”: His Majesty King Bhumibol Adulyadej Boromnabob Bophit

Authors

  • สุวรรณา งามเหลือ สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Keywords:

L Songs King Rama IX, Language Songs King Rama IX

Abstract

  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหารวมถึงภาพสะท้อนและการใช้ภาษาในบทเพลงที่ใช้ถ่ายทอดเหตุการณ์เรื่องราวตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของคนไทยที่มีต่อ “พ่อ” : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร โดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) จากบทเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “พ่อ” ที่เผยแพร่ระหว่างเดือนกันยายน 2559 - กุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 89 เพลง     กรอบแนวคิด ได้แก่ กรอบแนวคิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย กรอบแนวคิดด้านการใช้ภาษาและด้านวรรณกรรมกับสังคมไทย

   ผลการวิจัยพบว่า บทเพลงเสนอเนื้อหาหลัก  2 ด้านคือ  1. เนื้อหาเกี่ยวกับประชาชนไทย  มีเนื้อหาย่อย 3 ประเด็น ได้แก่ การแสดงความจงรักภักดีและความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ  ความมุ่งมั่นจะกระทำความดี และความเศร้าเสียใจกับการเสด็จสวรรคต เนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงการแสดงความจงรักภักดีและความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ   2. เนื้อหา เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  มีเนื้อหาย่อย  4 ประเด็น ได้แก่ พระราชจริยวัตร พระราชกรณียกิจ วันเสด็จสวรรคต และพระบรมราโชวาท  เนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงพระราชจริยวัตร   เนื้อหาหลักทั้งสองด้านมีภาพสะท้อนเกี่ยวกับคนไทย  4 ด้าน ได้แก่  ด้านความเชื่อ  ด้านความเป็นอยู่  ด้านความผูกพัน และด้านปัญหา  ภาพสะท้อนที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ภาพสะท้อนด้านความเชื่อ    การใช้ภาษาในเนื้อเพลง แบ่งผลการศึกษาออกเป็น  2 ส่วนคือ 1. ชื่อเพลง  มีการตั้งชื่อ 3 รูปแบบ ได้แก่  ใช้ความเปรียบ  สร้างความสนใจ  และใช้ภาษาตรงประเด็น    การตั้งชื่อทั้ง 3 รูปแบบ พบว่ามีใช้จำนวนใกล้เคียงกัน   2. เนื้อเพลง  ลักษณะเด่นของการใช้ภาษาในเนื้อเพลง แบ่งเป็น 2 ระดับคือ  1.ระดับคำ  ได้แก่ ใช้คำสัมผัส  ใช้คำซ้อน ใช้คำเรียก “พ่อ”  ใช้คำราชาศัพท์  การสรรคำ   2. ระดับความ ได้แก่  การซ้ำคำและซ้ำความ  และการใช้ภาพพจน์ ได้แก่ อุปลักษณ์ อุปมา บุคคลวัตและอติพจน์  การใช้ภาษาดังกล่าวทำให้บทเพลงมีความไพเราะทั้งด้านเสียงและความหมาย  ใช้ถ่ายทอดเรื่องราวเหตุการณ์และความรู้สึกนึกคิดของปวงชนชาวไทยที่มีต่อ “พ่อ”  ทำให้ผู้ฟังรับรู้ถึงความจงรัก ภักดี ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและความเศร้าเสียใจในความสูญเสียอันใหญ่หลวงของประชาชนไทย

 

                                                                                                Abstract

      This research aimed to study the content and language used in the songs that narrate stories, events, and the thoughts and feelings of Thai people toward their “Father,” His Majesty King Bhumibol Adulyadej. It used a content analysis method to analyze 89 songs publicly released between September 2016 and February 2017.  The frameworks of this study were the King with Thai society and language and literature in Thai society.

      The result of the study revealed that the content of the songs comprised two aspects: talking about Thai people and talking about the King or “Father.” Regarding the content on Thai people, the songs represented the love, devotion, and esteem of the people for the late King, their grief for his death, and their commitment to doing good deeds in tribute to him. Among them, the love, devotion, and esteem of the people for the late King were found most often. As for content on the King, the songs described His Majesty’s conduct and multifarious duties, the date of his death, and his royal guidance. The content that was found most often was His Majesty’s conduct and multifarious duties. A reflection of the songs covered four aspects: beliefs, livelihoods, deep spiritual connections with the King, and conflicts among Thai people. The reflection that was found most often was beliefs. With regard to the analysis of language use, it was found that the song titles implemented three techniques: comparison, attention-drawing, and pertinence. All of these techniques were used with the same frequency. The lyrics were outstanding in terms of both words and meanings. Rhyming, synonymous compounds, the word “father,” royal words, and diction were used at the word level. At the sentence and text levels, the techniques used were reduplication and figures of speech (e.g., metaphor, simile, personification, and hyperbole). These made the songs melodious and graceful in terms of voice and meaning and allowed them to completely convey stories, events, and the thoughts and feelings of Thai people toward their “Father.” The songs made their audience aware of devotion, the commemoration of the royal grace, grief, sadness, and the great loss of the “Father,” His Majesty the King Bhumibol, who lives in Thai people’s hearts eternally.

 

References

หนังสือ
กาญจนา นาคสกุลและคณะ. 2524. การใช้ภาษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. 2525. ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
พูนพิศ อมาตยกุล, 2529. ดนตรีวิจักษ์. กรุงเทพฯ : บริษัทรักษ์ศิลป์ จำกัด.
ราชบัณฑิตยสถาน. 2546. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สุจิตรา จงสถิตวัฒนา. 2549. เจิมจันทร์กังสดาล : ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงาน
วิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
งานวิจัย
ตวงรัตน์ คูหเจริญ. 2557. เนื้อหาและภาษาในเพลงเกี่ยวกับน้ำท่วมประเทศไทย พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วัชราภรณ์ อาจหาญ. 2535. “การศึกษาวิเคราะห์บทเพลงไทยสากลของสุนทราภรณ์.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดมลักษณ์ ระพีแสง. 2550. “ศึกษาเชิงวิเคราะห์การใช้ภาษาในบทเพลงสุนทราภรณ์ระหว่างปี พ.ศ.2482 - พ.ศ. 2524.” วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เว็บไซต์
ผู้จัดการออนไลน์. 2560. “เที่ยวตามรอยในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่มีที่ใดบนผืนแผ่นดินไทยที่พระองค์เสด็จไปไม่ถึง. สืบค้นเมื่อ 9
มิถุนายน 2560. เข้าถึงได้จาก https://www. manager.co.th.
สำนักพระราชวัง. 2559. แถลงการณ์สำนักพระราชวัง ในหลวงเสด็จสวรรคต. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560 เข้าถึงได้จาก https://www.
news.sanook.com

Downloads

Published

2019-05-24

How to Cite

งามเหลือ ส. (2019). เนื้อหาและภาษาในบทเพลงถึง “พ่อ” : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร; Contents and Language of Songs to “Father”: His Majesty King Bhumibol Adulyadej Boromnabob Bophit. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 8(1), 1–28. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/153335

Issue

Section

บทความวิจัย