ภาษาและเนื้อหาพาดหัวข่าวเกี่ยวกับประเทศไทย ในเว็บไซต์ข่าวของ Deutsche Welle ; Languages and Contents about Thailand in Headlines of Deutsche Welle’s News Website
Keywords:
พาดหัวข่าวเยอรมัน, พาดหัวข่าว, ข่าวออนไลน์, Schlagzeile, German Headline, Online-newsAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายโครงสร้างภาษาเยอรมัน ทั้งยังศึกษารูปแบบและลักษณะเนื้อหาในพาดหัวข่าวเกี่ยวกับประเทศไทยในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ Deutsche Welle (DW) โดยนำข้อมูลพาดหัวข่าวที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ www.dw.com ระหว่างเดือนกันยายน-สิงหาคม 2560 จำนวน 50 หัวข้อมาใช้ในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าในพาดหัวข่าวมีการใช้ประโยคบอกเล่า ประโยคคำถาม ประโยคที่มีคำกริยากรรมาจก และวลีหรือกลุ่มคำ โดยรูปแบบที่นิยมใช้มากที่สุดคือประโยคบอกเล่า รองลงมาคือ วลีหรือกลุ่มคำ ส่วนประโยคคำถามมีการใช้ในพาดหัวข่าวน้อยที่สุด การพาดหัวข่าวในเว็บไซด์ข่าวของ Deutsche Welle ได้ใช้รูปแบบการพาดหัวข่าวแบบเสมอหน้า (Flush Left) พาดหัวข่าวลักษณะนี้ทุกบรรทัดจะวางชิดขอบคอลัมน์ด้านซ้ายเสมอกันหมด อาจมีความยาว 1-3 บรรทัด แต่ละบรรทัดมีความยาวไม่เท่ากันได้ และในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีการเสนอข่าวเกี่ยวกับกลุ่มเด็กติดถ้ำหลวงมากที่สุด และไม่พบพาดหัวข่าวเกี่ยวกับบันเทิงและกีฬา ในข่าวที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันมีการใช้คำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกัน มีการใช้คำขยายเพื่อให้ข้อความกระชับแต่ยังคงสามารถสื่อถึงเนื้อหาในข่าวได้
Abstract
This article describes the structure and content of headlines concerning Thailand in the Deutsche Welle’s online news website. The corpus of this study was 50 German headlines about Thailand published in the mentioned website during September 2017 and August 2018. The results of the study revealed that the declarative sentences, interrogative sentences, sentences with passive voice and phrase were used in the headlines. The news headlines in the form of the declarative sentences are most frequently used, followed by phrases. The headlines in the form of questions were least frequently used. Headlines in website “Deutsche Welle” are used in form Flush Left where the text in every line (1-3) is aligned along the left margin, each line varying in length. During the mentioned time period, the news about the boys trapped in Tham Luang Cave was most frequently reported. Entertainment and sports news headlines were not found. In the news with similar content, vocabularies with the same meanings were used. Modifiers were employed to make messages compact. However, they still could convey the news content.
References
มหาวิทยาลัย.
พรสรรค์ วัฒนางกูร. (2553). ไวยากรณ์และการใช้ภาษาเยอรมันสำหรับผู้เรียนไทย. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วลี เฑียรบุญเลิศรัตน์. (2558). คำภาษาต่างประเทศในนิตยสารข่าวภาษาเยอรมัน. วาสารมนุษยศาสตร์.
22(2): 163-184.
สุทธิดา นาคเจริญ. (2559). การพาดหัวข่าวในสื่อออนไลน์. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 12(6), 143-
152
สุภาภรณ์ สุวรรณโอภาส. (2552). เทคนิคการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาเยอรมัน. วารสารวิชาการคณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 13(2): 153-172.
สุรัตน์ ศรีราษฎร์. (2546). รายงานวิจัยเรื่องการใช้คำในพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์รายวัน: ศึกษารูป
คำและความหมาย. วารสารวรรณวิทัศน์. 3(พ.ย.), 198-214.
เอนก กิมสุวรรณ. (2551). วากยสัมพันธ์เยอรมัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
เอนก กิมสุวรรณ. (2552). ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างนามวลีซับซ้อนเพื่อการใช้และการแปลภาษา
เยอรมัน. วารสารมนุษยศาสตร์สาร. 10(2): 70-91.
Gehr, Martin. (2016). Überschrift. Retrieved August 15, 2018, from https://journalistikon.de/
ueberschrift.
Kurz, Josef.et.al. (2010). Die Überschrift (Der Titel), Stilistik für Journalisten. 2. Auflage. Wiesbaden: Springer VS.
Traoré, Salifou. (2553). วากยสัมพันธ์เยอรมัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.