การวิเคราะห์การแปลบทละครเวที : ปัญหาและอิทธิพลที่มีต่อข้อผิดพลาด ; An Analysis of Stage Play Script Translation: Problems and Factors Contributing to Errors
Keywords:
การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด, ข้อผิดพลาดในการแปล, การแปลภาษาไทยเป็นภาษาญี่ปุ่น, error analysis, errors of translation, Thai to Japanese translationAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการแปลบทละครเวทีจากภาษาไทยเป็นภาษาญี่ปุ่นและวิเคราะห์หาสาเหตุของข้อผิดพลาดในการแปลของผู้เรียนแปล ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ งานแปลบทละครเวทีเรื่องห่านป่าที่ผลิตโดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากการวิเคราะห์พบข้อผิดพลาดทั้งทางด้านไวยากรณ์(ร้อยละ 88.3) และด้านความเหมาะสมกับบริบททางการใช้วัจนปฏิบัติศาสตร์และปริจเฉท(ร้อยละ 11.7 ) ส่วนสาเหตุของข้อผิดพลาดนั้นส่วนใหญ่มาจากการที่ผู้เรียนขาดความเข้าใจหรือไม่ได้คำนึงถึงกฎทางไวยากรณ์และโครงสร้างประโยคในภาษาญี่ปุ่น และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของภาษาแม่ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาการแปลภาษาญี่ปุ่นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านการแปลของผู้เรียน อีกทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกทักษะการเขียนภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนได้อีกด้วย
Abstract
The main purpose of this study was twofold: to analyze translation errors from Thai to Japanese in the stage play script translated by student translators and to examine causes of the translation errors. The data used in this study were a GAN-stage play script which was translated from Thai to Japanese by student translators who were fourth year Japanese major students at Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University. The results revealed that most frequent errors were incorrect use of grammar (88.3%) and pragmatics and discourse (11.7%). The causes of errors included lack of understanding or ignorance of grammatical rules and sentence structure in Japanese, and the influence of the mother tongue. The findings of this study can be used as guidelines for the teaching and learning of Japanese translation in order to prevent and rectify students’ problems related to translation errors. Further, the findings may be used by teachers to teach and improve students’ Japanese writing skills.
References
ดวงตา สุพล. (2541). กลวิธีและทฤษฎีการแปล.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
บุญชู ตันติรัตนสุนทร.(2552) ล่ามอาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บ้านพระ
อาทิตย์.
บุษบา บรรจงมณี. (2549). ทางลัดสู่ล่าม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม.
มาสุดะ อายาโกะ. (2558). เรียน 100 ไวยากรณ์ญี่ปุ่นชวนสับสน ชั้นกลาง – สูง ผ่านการ์ตูน. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย – ญี่ปุ่น.
วรรณา แสงอร่ามเรือง. (2545). ทฤษฎีและหลักการแปล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่
ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิโรจน์ อรุณมานะกุล. (2545). ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะ
อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรนารถ วิมลเฉลา. (2543). คู่มือสอนแปล.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัญฉวี สายบัว. (2542). หลักการแปล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข. (2551). วิเคราะห์ข้อผิดพลาดด้านการเขียนของนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่น
ระดับสูง.วารสารศิลปศาสตร์, 8 (1),110-131.
สุพรรณี ปิ่นมณี. (2552). การแปลขั้นสูง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสรี ชมชอบ. (2542). การแปลเบื้องต้น. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
สิทธา พินิจภูวดล. (2542). คู่มือนักแปลอาชีพ. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์.
สมเกียรติ เชวงกิจวณิช. (2558). กลวิธีการแปลสำนวนแสดงวัฒนธรรมภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย.วารสาร ญี่ปุ่นศึกษา, 32(2),103-118.
Barik, H. C. (1971). A Description of Various Types of Omissions, Additions and Errors
of Translation Encountered in Simultaneous Interpretation. Meta, 16-4, pp. 199-210.
Barnwell, K.G.L. (1980). Introduction to semantics and translation. England: Summer Institute of
Linguistics.
Cook, G. (1999). Discourse. Oxford: Oxford University Press.
Corder, P. (1967). The Significance of Learners’ Errors. International Review of Applied
Linguistics, 5, pp.161-169.
_________ (1981). Error Analysis and Interlanguage. 1st ed. Oxford: Oxford
University Press.
Ellis, R. (1985). Understanding Second Language Acquisition. Oxford: Oxford University Press.
_______ (1994). The Study of Second Language Acquisition. 1st ed. Oxford: Oxford
University Press.
Kraichan, P. (2010). English Tranlation. Bangkok: Klead Thai Publishing.
Levinson, S. C. (1983). Pragmatics. Cambridge: Cambridge University Press.
Lewis, M. (1993). The Lexical Approach. London: Language Teaching Publications.
Nida, Eugene A. and C.R.Taber. (1982). The Theory and Practice of Translation, Leiden: E. J.
Brill.
Toyoshima Chiho, Fujita Atsushi, Kageura Kyo and Anthony Hartley. (2016). Analysis of Error Patterns of Translation Students based on Revision Categories, Invitation to Interpreting and Translation Studies, No. 16, 47-65
Pattarawan Yuyen・太田卓志・山口雄代・吉田直子(2002)『中級作文におけるタイ人学習者の誤
用分析―チェンマイ大学日本語科の学習者を例としてー』国際交流基金バンコク日本語センター紀要5号、97-112.
石橋玲子(1997)第1言語使用が第2言語の作文に及ぼす影響―全体的誤用の観点から」『日
本語教育』95号
市川保子(1997)『日本語誤用例文小辞典』凡人社
金水敏(2016)「役割語とキャラクター言語」(編)『役割語・キャラクター言語研究 国際ワーク ショップ2015』5-13.私家版.大阪大学大学院文学研究科
坂口昌己(2004)日本語学習者が生成する格助詞ガ・ヲの誤用とその修正についてー作文デー
タからみた母語別誤用傾向―」『研究論業』63号、65-75.
迫田久美子(2002)『日本語教育に生かす第二言語習得研究』アルク
杉本妙子(1997)『格助詞「を」をめぐる誤用―分類と分析―』『茨城大学人文学部紀要コミュ
ニケーション学科論集』1号、31-50.
豊島知穂・藤田篤・田辺希久子・景浦峡(2016)翻訳教育での利用を意識した翻訳エラー分類体系 の再構築.言語処理学会第22回年次大会発表論文集