“กิริ” กับ “นินโจ”: “หน้าที่” กับ “ความรู้สึกและความปรารถนา” ในวรรณกรรมญี่ปุ่นยุคระบบศักดินา ; “GIRI” (duty) and “NINJŌ” (feeling): Obligation and Desire in Japanese Literature of the Feudal Era

Authors

  • ศุภฤกษ์ ชัยรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Keywords:

กิริ, นินโจ, ยุคสมัยศักดินา, Giri, Ninjō, Feudal Era

Abstract

                   บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะและแนวคิดของกิริ義理 [Giri] (หน้าที่) กับนินโจ人情 [Ninjō] (ความรู้สึก, ความปรารถนา) ในวรรณกรรมญี่ปุ่นต่างยุคสมัยจำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 1) เรื่องบุอะกุ『武悪』[Buaku] ในบทละครเคียวเง็น狂言 [Kyōgen] 2) เรื่องเมะอิโดะโนะฮิเคียะคุ           『冥途の飛脚』[Meidonohikyaku] 3) เรื่องอะอิโกะกุฌิน『愛国心』[Aikokushin] และ 4) เรื่อง คิระกิระฮิกะรุ『きらきらひかる』 [Kirakirahikaru] วรรณกรรมญี่ปุ่นทั้ง 4 เรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมในช่วงสมัยคะมะกุระ (ค.ศ.1185-1333) ถึงสมัยโฌวะ (ค.ศ.1926-1989) สมมติฐานในการศึกษาคือ วรรณกรรมญี่ปุ่นทั้ง 4 เรื่องนี้ มีแนวคิดของกิริกับนินโจปรากฏให้เห็นในหลากหลายรูปแบบ สามารถตีความหน้าที่และความสัมพันธ์ของกิริกับนินโจในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป แนวคิดนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างวรรณกรรม และสามารถสะท้อนภาพสังคมของแต่ละยุคสมัยได้อย่างชัดเจน

                   จากการศึกษาพบว่า สถานะภาพและชนชั้นทางสังคมมีอิทธิพลต่อแนวคิดและการให้ความสำคัญในการยึดถือกิริกับนินโจที่แตกต่างกัน สถานะภาพและชนชั้นทางสังคมเป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างกิริกับนินโจขึ้น ความเป็นกิริกับนินโจปรากฏอยู่หลากหลายลักษณะ ได้แก่ กิริกับนินโจระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง กิริกับนินโจที่มีต่อประเทศชาติ สังคม ครอบครัว คนรัก และตนเอง การทำหน้าที่ตามสถานภาพของตน โดยสะท้อนให้เห็นลักษณะพฤติกรรมที่เป็นสามัญของมนุษย์ที่มีทั้งกิริกับนินโจปะปนกันอยู่ และปรากฏนับตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ความเชื่อทางศาสนาชินโตมีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวคิดของกิริกับนินโจ โดยสามารถสะท้อนและสื่อให้เห็นถึงอารมณ์และวิถีการแสวงหาทางออกของมนุษย์

Abstract

                   This research article is intended to be an analytical study on the concept of 義理 [Giri] (duty) and 人情[Ninjō] (feeling, desire) in 4 Japanese literary works of different periods, namely,『武悪』[Buaku], which is a狂言 [Kyōgen] play,『冥途の飛脚』[Meidonohikyaku],『愛国心』[Aikokushin] and『きらきらひかる』 [Kirakirahikaru].

​                   The objective is to study the characters and concept of Giri and Ninjō in 4 Japanese literary works that were popular from the Kamakura period (AD 1185-1333) to the Shōwa period (AD 1926-1989). The hypothesis is that the concept of Giri and Ninjō is evident in diverse forms in the 4 works. The interpretation can be done in diverse ways according to the roles and duties as well as relationships. Furthermore, the concept is an important element in the creation of literature and is able to reflect the society in each period.

                  From the study, it is found that social statuses and classes have influence on the notion of Giri and Ninjō as well as the importance given to the adherence to Giri and Ninjō in different ways. The social statuses and classes being the factors determining the roles and duties cause conflicts between Giri and Ninjō. In the 4 literary works, the elements of Giri and Ninjō appear in diverse forms. There are Giri and Ninjō towards boss and subordinate, one's country, society, family, lover and oneself, which are in accordance with the determining social statuses. The works reflect common human behaviors with both Giri and Ninjō intermingling inevitably that have been apparent from the past to the present, the concept of Giri and Ninjō being much influenced by Shinto beliefs. Moreover, these works can reflect and convey humans’ emotions and their search for solutions interestingly.

References

คึกฤทธ์ ปราโมช. (2548). ฉากญี่ปุ่น. กรุงเทพ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.
จุฬารัตน์ เตชะโชควิวัฒน์ และคณะ. (2549). 義理 - 人情,พจนานุกรม ญี่ปุ่น-ไทย. กรุงเทพฯ: ภาษาและวัฒนธรรม.
ปราณี จงสุจริตธรรม, ผู้แปล. (2549). ญี่ปุ่น 360 องศา. กรุงเทพฯ: ภาษาและวัฒนธรรม.
ปรานี วงษ์เทศ. (2549). เพศสภาวะในสุวรรณภูมิ (อุษาคเนย์). กรุงเทพฯ: มติชน.
ปัญญา ศรีสิงห์. (2552). “เซน-บุชิโด (ศาสนากับวิถีทางของนักรบ)”. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา. ปีที่ 14 ฉบับที่ 2
(มีนาคม-สิงหาคม 2552), หน้า 165.
ศุภฤกษ์ ชัยรัตน์. (2552). “เคียวเง็งกับการสะท้อนปรากฎการณ์ทางสังคมผ่านตัวละคร ทะโรกะจะ”, วารสารศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2552).
ศุภฤกษ์ ชัยรัตน์. (2548). การศึกษาและวิเคราะห์ ตัวละครทาโรกะจะในบทละคร เคียวเง็ง ประเภทโฌเมียวเคียวเง็ง 3
เรื่อง วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาภาษาและวรรณคดีญี่ปุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2548.
มิชิมา ยูกิโอะ. (2537). รักด้วยเลือด. แปลโดย อมราวดี. ปทุมธานี: คำหอม.
อัษฎายุทธ ชูศรี. (2544). กิริ-นินโจ ในบทละครของ ชิคะมะท์ซุ. รายงานการศึกษาวิชาวรรณคดีศึกษา สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2544. (อัดสำเนา)
Kho Masuda. (2518) “義理 - 人情,” พจนานุกรม Kenkyusha’s New Japanese-English Dictionary.
Tokyo: Kodansha.
新村 出 “義理 - 人情,” พจนานุกรม 広辞苑 笫三版 岩波書店 Japanese-Japanese
Dictionary (1967). Tokyo: Kojien

Downloads

Published

2018-12-27

How to Cite

ชัยรัตน์ ศ. (2018). “กิริ” กับ “นินโจ”: “หน้าที่” กับ “ความรู้สึกและความปรารถนา” ในวรรณกรรมญี่ปุ่นยุคระบบศักดินา ; “GIRI” (duty) and “NINJŌ” (feeling): Obligation and Desire in Japanese Literature of the Feudal Era. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 7(2), 91–110. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/144009

Issue

Section

บทความวิจัย