บทบาทและปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการทำงานของล่ามภาษาญี่ปุ่นชาวไทย ภายใต้บริบท “ความเป็นญี่ปุ่น” :กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมของไทย ; Thai Interpreters’ Roles and Problems in Cultural Differences in the Context of Japanization : A Case Study of Japanese Enterprises in the Industrial Estate of Thailand

ผู้แต่ง

  • รัชนี ปิยะธำรงชัย Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University, Khon Kaen Province

คำสำคัญ:

ความเป็นญี่ปุ่น, วัฒนธรรมองค์กรญี่ปุ่น, บทบาทของล่ามภาษาญี่ปุ่น, ความแตกต่างทางวัฒนธรรม, Japanization, Japanese organizational culture, Roles of Japanese interpreters, Cultural differences

บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของล่ามภาษาญี่ปุ่นชาวไทยและปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ล่ามภาษาญี่ปุ่นพบในบริษัทญี่ปุ่นภายใต้บริบท “ความเป็นญี่ปุ่น” ที่อยู่ในรูปแบบของวัฒนธรรมองค์กรญี่ปุ่นในภาคธุรกิจของไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างล่ามภาษาญี่ปุ่นชาวไทย จำนวน 90 คน ที่ทำงานในบริษัทญี่ปุ่นเขตนิคมอุตสาหกรรมของไทย

       ผลการศึกษาพบว่า ล่ามภาษาญี่ปุ่นในเขตนิคมอุตสาหกรรมไทย มีรูปแบบปฏิสัมพันธ์ในการแปลภายในบริษัทเป็นหลัก ทำหน้าที่แปลการสื่อสารระหว่างพนักงานชาวญี่ปุ่น 1 คน ต่อกลุ่มพนักงานชาวไทย 2 -10 คน มากที่สุด โดยสัดส่วนของผู้ใช้ล่ามที่เป็นพนักงานชาวญี่ปุ่นเป็นเพศชายสูงถึงร้อยละ 97.2 หรือ 411 คน จากจำนวนพนักงานชาวญี่ปุ่นทั้งหมด 423 คน  ในด้านของลักษณะเนื้อหางานแปลที่ได้รับมอบหมายให้ทำเป็นประ จำ พบว่า การแปลการทักทาย แปลประชุมเช้า และแปลในงานดื่มสังสรรค์หลังเลิกงานของหัวหน้า อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ  ในด้านบทบาทของล่ามภาษาญี่ปุ่นชาวไทย พบว่า ล่ามฯ มีบทบาทผู้แปล โดยทำหน้าที่แปลตรง แปลจับใจความ แปลเอกสาร และมีบทบาทเป็นคนกลางที่ใช้ทักษะทางภาษาทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยให้เกิดความเข้าใจระหว่างพนักงานชาวญี่ปุ่นและชาวไทย ทำให้ต้องรับแรงกดดันจากทั้งสองฝ่าย นอกจากนั้นแล้ว ยังพบบทบาทอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแปล เช่น  เลขานุการ ผู้ติดตามงาน   ผู้ต้อนรับแขกบริษัท เป็นต้น จากรูปแบบปฏิสัมพันธ์ในการแปลที่มีสัดส่วนพนักงานชาวญี่ปุ่นผู้ใช้ล่ามเป็นเพศชายสูง และเนื้อหางานแปลที่สอด คล้องกับวัฒนธรรมองค์กรญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นถึงบริบทวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นในบริษัทญี่ปุ่นเขตนิคมอุตสาหกรรมของไทย และจากการที่ล่ามฯ ทำบทบาทที่เพิ่มขึ้นและหลาก หลายนี้ ชี้ให้เห็นว่าล่ามฯมีการปรับตัวในการทำงานเพื่อให้สอดคล้องวัฒนธรรมองค์ญี่ปุ่น  นอกจากนี้ ในการทำงานระหว่างสองวัฒนธรรมนั้น ล่ามฯยังพบประเด็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมถึง 14 ประเด็น โดย แนวคิดเรื่อง “โฮ-เรน-โซ” (รายงาน-ติดต่อ-ปรึกษา)  แนวคิดเรื่อง “การตรงต่อเวลา”  “วิธีการปฏิบัติงาน” “การว่ากล่าวตักเตือนต่อหน้าพนักงานคนอื่นๆ” และ  “ความกระตือรือร้นและความรับผิดชอบในการทำงาน” เป็นประเด็นที่มีร้อยละของคำตอบสูงเป็น 5 อันดับแรก

 

Abstract

     This research paper aims to study the roles of Japanese Interpreters and explore the problems in cultural differences that they have encountered in the context of Japanization, which is the form of organizational culture applied in Japanese companies located in the Industrial Estate of Thailand. Questionnaires are the main tool to collect data from the sampling group of 90 Thai-Japanese interpreters who are working in Japanese enterprises located in Industrial Estate of Thailand. 

     The result reveals that Japanese interpreters are mostly involved in the interaction between 1 Japanese staff and 2-10 Thai staff. 97.2 % or 411 from 423 of Japanese interpreter’s users are male staff. Concerning contents of interpretation, it is found that “Greeting”, “Morning Meeting” and “After-Work Casual Conversation” are the most common contents that Thai-Japanese interpreters are requested to translate respectively. In the context of Japanization, Thai-Japanese interpreters’ roles are diverse. Their roles consist of interpreting conversations, translating documents, being a cultural mediator, being a dispute conciliator and other works not really related to interpreter’s main duties such as secretary, facilitator, company’s liaison officer, etc.  The interaction mainly involved with Japanese male staff, and the contents of interpreting reflect the fact that Japanization has been transferred and made presence in Japanese Enterprises in the Industrial Estate of Thailand. Moreover, the fact that Thai-Japanese interpreters have to perform diverse roles in work shows that the interpreters have preoccupied themselves completely into the Japanese organizational culture. Bridging between the two different cultures, the interpreters experience 14 cultural differences. “Ho-ren-so”, “Punctuality”, “Operational Strategies”, “Public Reprimand” and “Enthusiasm and Responsibility” are among the top 5 of the most commonly found problems caused by cultural differences.

References

เอกสารอ้างอิง
[หนังสือ]
งามพิศ สัตย์สงวน. (2537). สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บัณฑิต โรจน์อารยานนท์. (2547). รู้จักไทย เข้าใจญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม
อิชิอิ โยเนะโอะ & โยชิกาวะ โทชิฮารุ. (2542). ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ๖๐๐ ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Iwabushi Koichi. (2008).トランスナショナル・ジャパン. 日本:理想社。[In Japanese]
Jun Onishi. (2006). Working Japanese: Conflict, Culture Difference, and the Japanese
Multinational in Southeast Asia. Philippines: Inkwell Publishing Co., Inc. [In English]
Nishida Hikoro. (2008). グロ-バル社会における異文化間コミュニケーション. Tokyo: 太
平印刷社. [In Japanese]
Robin Cohen & Paul Kennedy. (2003). Global Sociology (グローバル・ソシオロジー I: 格差
と亀裂). 東京:平凡社 [In Japanese]
Torikai Kumiko. (2007). よくわかる翻訳通訳学. Tokyo: ミネルヴァ書房. [In Japanese]

[งานวิจัย]
นนทณี ศรีนนท์ประเสริฐ. (2559). งานวิจัยเรื่องคุณลักษณะของล่ามภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่หัวหน้าชาวญี่ปุ่น
ของธรุกิจการผลิตที่อยู่ในอีสเทิร์นซีบอร์ดประสงค์ให้มี. มหาวิทยาลัยบรูพา.

[บทความ]
นันท์ชญา มหาขันธ์. (2556). การทำงานภายใต้วัฒนธรรมที่แตกต่าง: ปัญหาและความคาดหวังของบริษัท
ญี่ปุ่น. เอกสารหลังการประชุมวิชาการระดับชาติญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย. 6, 1-6.
พัชยา โสภณสิทธิพงศ์. (2560). การเปลี่ยนปลงของสภาวะการทำงานกับการลาออกจากงานของล่าม
ภาษาญี่ปุ่นในบริษัทญี่ปุ่นเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน. วารสารสมาคมญี่ปุ่นศึกษาแห่ง
ประเทศไทย ฉบับพิเศษ 2017., 172-185.
สุนันทา เสียงไทย. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่นในเมืองไทย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา . 32(2), 1-
17.
สุพิชฌาย์ แสงทอง, จีระศักดิ์ รัตนวงษ์, กฏษณา โพธิสารัตนะ และ ธีรัตม์ พิริยะพลิน. (2556). การ
เปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์กรบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นและอเมริกันที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธผลการทำงาน
ของพนักงานในนิคมอุตสหากรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์.
8(2), 67-85.
John F. Embree. (1950). Thailand – A Loosely Structured Social System. American
Anthropologist, New Series. 32(2), 181-193.
Ho chi ming. (2012). 香港の日系企業における異文化コミュニケーションの問題―香港
人社員に対する調査からー Intercultural Communication Problems in Hong Kong
Japanese Companies: An Analysis of Survey of Hong Kong Employees. Society of Japanese
Language Education Hong Kong. 15, 66-79. [In Japanese]
Noriyuki Suzuki & Peeriya Wangpokakul. (2008). タイにおけるジャパナイゼーションのプロセ
ス―タイ人の日本商品の消費と生活世界に対する影響(1) ―. 琉球大学法文学部人文科学科
紀要人間科学. 21, 59-78.

[เว็บไซค์]
เจแปนฟาวน์เดชั่น (JF). (2560). การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561, จาก https://www.jfbkk.or.th/three-fields/japanese-language-education/jpl_proficiency-test/?lang=th

สำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประจำประเทศไทย (BOI). (2560). สถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รายเดือนสะสมปี 2560 (มกราคม-ธันวาคม). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561, จาก https://www.boi.go.th/upload/FDI2017edited_51756.pdf

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO). (2558). ผลการสำรวจแนวโน้มการลงทุนของบริษัท
ร่วมทุนในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561, จากhttps://www.jetro.go.jp/ext_images/thailand/thai/t_survey/pdf/sme_survey_2014_tha.pd

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26

How to Cite

ปิยะธำรงชัย ร. (2018). บทบาทและปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการทำงานของล่ามภาษาญี่ปุ่นชาวไทย ภายใต้บริบท “ความเป็นญี่ปุ่น” :กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมของไทย ; Thai Interpreters’ Roles and Problems in Cultural Differences in the Context of Japanization : A Case Study of Japanese Enterprises in the Industrial Estate of Thailand. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 7(2), 51–90. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/137056