รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวิปัสสนากรรมฐานของนักท่องเที่ยวในพื้นที่อีสานตอนกลาง กรณีจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม; The Buddhist Meditation Tourism Model for Tourists in Central Isan: A Case of Khon kaen and Mahasarakham Provinces

Authors

  • ฉลอง พันธ์จันทร์ สาขาวิชาศาสนาและภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Keywords:

การท่องเที่ยว, วิปัสสนากรรมฐาน, พุทธศาสนา, อีสานตอนกลาง, ร้อยแก่นสารสินธุ์, Tourism, Buddhist Meditation, Buddhism, Central Isan, Roi-kaen-sara-sin

Abstract

                  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 2) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวิปัสสนากรรมฐานของนักท่องเที่ยว องเที่ยวแบบไปเช้า-กลับเย็น
และส่วนที่ท่องเที่ยวมีถึงธรรม พัฒนาสถานที่ให้มีความพร้อมใช้งานดำเนินและ 3) การจัดการท่องเที่ยวเชิงวิปัสสนากรรมฐานสำหรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่อีสานตอนกลาง  กรณีจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม เป็นการศึกษาแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนรวมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน นำข้อมูลทั้งสองส่วนมาวิเคราะห์เนื้อหาและข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

                ผลการวิจัย พบว่า ในพื้นที่อีสานตอนกลาง มีหลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่สำคัญ 4 ประเภท คือ 1) ยุบ-พอง 2) พุทโธ 3) เคลื่อนไหว และ 4) โกเอนก้า นักท่องเทียวส่วนมากใช้รูปแบบการท่องเที่ยวแบบไปเช้า-กลับเย็น คิดเป็นร้อยละ 60.00 ส่วนการจัดการท่องเที่ยวเชิงวิปัสสนากรรมฐานในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มีค่าเฉลี่ยโดยรวมในระดับมากเท่ากับ 4.32 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.691 และพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมในระดับมากเท่ากับ 4.09 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.774

Abstract
              The objective of this research was to study 1) the concept of Buddhist meditation practice, 2) the Buddhist meditation tourism model and 3) the Buddhist meditation tourism management for tourists in the Central Isan; A case of Khon Kaen and Mahasarakham provinces. The research was completed by applying mixed research methods: quantitative and qualitative. The sample questionnaire was used for collecting information from 400 samples with simple sampling. The data were analyzed using descriptive statistics: percentage, mean, and standard deviation. For qualitative research, a data analysis was conducted by using In-depth interviews and participatory observation from 30 participants. Both data and contents were analyzed by using descriptive statistics.

                   There were 4 findings in the important concepts of Buddhist meditation practice in the Central Isan: 1) “Yub-Phong”, 2) “Bud-dho”, 3) “Movement”
and 4) “Goenka. Most tourists use the morning-evening style of travel, Percentage 60.00. For Buddhist meditation tourism management in Khon Kaen; the overall mean was 4.32 and standard deviation of 0.691; and Mahasarakham province, the overall mean was 4.09 and standard deviation of 0.774.

Downloads

Published

2018-07-14

How to Cite

พันธ์จันทร์ ฉ. (2018). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวิปัสสนากรรมฐานของนักท่องเที่ยวในพื้นที่อีสานตอนกลาง กรณีจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม; The Buddhist Meditation Tourism Model for Tourists in Central Isan: A Case of Khon kaen and Mahasarakham Provinces. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 7(1), 243–267. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/134477

Issue

Section

บทความวิจัย