การศึกษาชื่อร้านทองคำภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร ; Chinese Names of Gold Shops Owned by Chinese-Thais in Bangkok
Keywords:
ชื่อร้านค้าภาษาจีน, ร้านทองคำ, วัฒนธรรมจีน, ชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร, Chinese-named shop, Gold shop, Chinese culture, Chinese-Thais in BangkokAbstract
บทความนี้เป็นการศึกษาชื่อร้านทองคำภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะภาษา รวมถึงข้อมูลที่สะท้อนจากชื่อร้าน ศึกษาชื่อร้านทองจำนวน 260 ร้าน ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผลการวิจัยแบบตารางและพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
การศึกษารูปแบบและลักษณะภาษาของชื่อร้านทองคำภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร ได้วิเคราะห์สองประเด็น คือ รูปแบบและลักษณะภาษา สำหรับรูปแบบที่นิยม คือ การเขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็มและอักษรไข่ซูมากที่สุด อ่านจากขวาไปซ้ายและใช้สีทองมากที่สุด ส่วนการวิเคราะห์ลักษณะภาษา ประกอบด้วย องค์ประกอบ จำนวนพยางค์ ที่มาของคำ และความหมายในการตั้งชื่อ สำหรับองค์ประกอบเดี่ยว นิยมใช้คำบอกแซ่และชื่อคนอย่างเดียว ส่วนองค์ประกอบผสม นิยมแบบคำบอกชื่อ+คำบอกกิจการ+คำบอกรูปแบบองค์กรธุรกิจและนิยมใช้จำนวน 6 พยางค์มากที่สุด ที่มาของชื่อร้านทองคำภาษาจีนมาจากภาษาจีนภาษาเดียว ส่วนความหมายของคำ คือ นิยมชื่อร้านที่แสดงความหมายมงคลมากที่สุด ได้แก่ ความเจริญ ร่ำรวย มั่งคั่ง รุ่งเรือง ราบรื่น สำเร็จและร่วมมือตามลำดับ
ข้อมูลที่สะท้อนจากชื่อร้านทองคำภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า เขตพื้นที่ที่พบจำนวนชื่อร้านทองคำภาษาจีนมากที่สุด คือ เขตพระนคร ในด้านตระกูลแซ่ พบว่า ชาวไทยเชื้อสายจีนที่ประกอบธุรกิจทองคำมี “แซ่แต้”และ“แซ่ลิ้ม”มากที่สุด และปรากฏชื่อธุรกิจประเภทห้างร้าน (行) มากที่สุด
การศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ชื่อร้านทองคำภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานครสะท้อนข้อมูลเชิงภาษา ประวัติศาสตร์และชนชาติจีน ชื่อและระบบตระกูลแซ่ ความเชื่อในศาสตร์ฮวงจุ้ย ธุรกิจประเภททองคำ และความหมายมงคล
Abstract
This article is a study of the Chinese names of gold shops owned by Chinese-Thais in Bangkok. The purpose of the study was to study the patterns and language characteristics of the names as well as the information reflected by the Chinese-named gold shops. The study was conducted with 260 gold shops using qualitative and quantitative methods. Data were analysed and presented in the form of descriptive analysis with supporting tables. The research found that:
This study of the Chinese names of gold shops owned by Chinese-Thais in Bangkok was analysed in 2 areas including patterns and language characteristics. The pattern mostly used was traditional Chinese characters in addition to using Kaishu letters. Reading from right to left and using gold colouring was found to be the most popular form of naming. Language characteristics consisted of components, number of syllables, source of words, and meanings in naming. In terms of a single component, most comprised a basic word indicating a last name and name only. In terms of mixed components, most of them comprised a name, business indicator, and type of business organization. Six syllables were popularly used. The source of Chinese names was only from Chinese language. In terms of meaning, the shops typically used names with auspicious meanings including wealthy, prosperity, richness, enduring, smoothness, success and cooperation, respectively.
Regarding the information reflected by the Chinese names of gold shops owned by Chinese-Thais in Bangkok, the results revealed that Phra Nakhon District was the district with the most number of shops. Tae and Lim family names were mostly found, while the type of business was a shop (行).
This study revealed that Chinese-named gold shops owned by Chinese-Thais in Bangkok reflected a certain language, Chinese history and Chinese people, as well as the names and systems of Chinese family names, belief in Feng Shui, gold business and auspicious meanings.
References
ศษ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ชลธิชา ลิขิตวัฒนไพศาลและคณะ. (2559). การศึกษากลยุทธ์ของร้านทองรูปพรรณ 96.5% ในเขต 9
จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บธ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
จริญญา ธรรมโชโต. (2540). การศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อเล่นของคนไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัด
ตรัง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
จรูญศรี มูลสวัสดิ์. (2535). การใช้ภาษาในการตั้งชื่อของชาวล้านนา ในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ศศ.
ม., มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
ณัฐธิดา สุขมนัส. (2539). ความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ยในวิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ มน.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
นควัฒน์ สาเระ. (2550). การตั้งชื่อร้านค้าในจังหวัดปัตตานี : ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อร้านค้ากับวิถีในชุมชน. วิทยานิพนธ์ อ.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ประพิณ มโนมัยวิบูลย์. (2554). ชุมชนจีนในประเทศไทย: หลากหลายสำเนียงจีน. วารสาร
ราชบัณฑิตยสถาน, 36(4), 539-552.
พรพรรณ เตียรักษ์กิจสกุล. (2536). พัฒนาการบทบาทของสมาคมชาวจีนในกรุงเทพที่มีต่อคนไทยเชื้อ
สายจีน. วิทยานิพนธ์ สม.ม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พิศมัย สุภัทรานนท์. (2546). ฮวงจุ้ย: มนุษยและสิ่งแวดล้อมต้องกลมกลืมกัน. กรุงเทพฯ : แสงดาว.
ภคินี แสงสว่าง. (2545). การศึกษาชื่อร้านค้าธุรกิจของคนไทยเชื้อสายจีนตามแนวภาษาศาสตร์:
กรณีศึกษาเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2555). การสำรวจและศึกษาวิเคราะห์ชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2), 63-89.
รติการณ์ สุขเกษม. (2544). ภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อธุรกิจการค้าภายในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยทักษิณ, กรุงเทพฯ.
เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2538). การศึกษาชื่อสถานที่ภาษาไทยและภาษาจีนในประเทศไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 14(2), 37.
รัตน์ โพธิพันธ์. (2550). ศึกษาอาหารจีนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ และพิธีกรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนย่านเยาวราช. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
ลัดดาวัลย์ คีรีเมฆ. (2541). แนวนิยมในการตั้งชื่อร้านค้าในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
วรางคณา สว่างตระกูล. (2540). การศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อของคนไทยในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วชิรธาร บึทูและคณะ.(2559). แนวทางการตั้งชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยพะเยา.
วิมลรัตน์ หงษ์ร่อน. (2537). ฮวงจุ้ย บทบาทความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ยที่มีต่อการทำกิจการค้าของชาวจีนแต้จิ๋ว.
สารนิพนธ์ ศศ.บ., มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
วิยะดา จงบรรจบ. (2534). การศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อธุรกิจการค้า. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วินัย คงเจริญยิ่ง. (2540). ปรับปรุงการออกแบบตกแต่งภายใน: แก้ไขกี่ในสำนักงานเพิ่มกำไรในสถานประกอบธุรกิจ ตามหลักฮวงจุ้ย. กรุงเทพฯ : เส้นดินสอ.
วิไล ลิ่มถาวรานันต์. (2557). ชื่อร้านค้าภาษาจีนในประเทศไทย: แนวนิยมในการตั้งชื่อร้านค้าและบทบาททางสังคม. ใน การประชุมวิชาการจีนศึกษานานาชาติครั้งที่ 2 หัวข้อ “ไข่มุกหล่นบนจานหยก: จีนศึกษา ภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรม” (หน้า 77-91). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วิไล ลิ่มถาวรานันต์. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องชื่อร้านค้าภาษาจีนในประเทศไทย: แนวนิยมในการตั้งชื่อร้านค้าและบทบาททางสังคม. ชลบุรี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิรินันท์ นภาศิริปกรณ์. (2555). วิเคราะห์ปัจจัยเบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจร้านทองรูปพรรณ
กรณีศึกษา : ร้านทองในย่านเยาวราช. วิทยานิพนธ์ บธ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช พิพิธภัณฑ์วัดไตรมิตร : 661 ถนนตรีมิตร แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ 10100.
ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. (2550). การปฏิวัติอักษรจีน. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2561,จาก https://toodcheefha.exteen/20070520/hanzi-gaige
สมยศ ศุภกิจไพบูลย์. (2560). จีน-ไทย ผูกพันฉันพี่น้อง. กรุงเทพฯ : ย้อนรอย.
สมาคมค้าทองคำ. (2556). รายชื่อสมาชิกสมาคมค้าทองคำ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2561,จาก
https://www.goldtraders.or.th.
สมาคมเพชรพลอยเงินทอง. (2556). ทำเนียบสมาชิก. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2561,จาก
https://www.thaijeweller.org.
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). สำเพ็ง : ประวัติศาสตร์ชุมชนชาวจีนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ :
สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณา ตั้งทีฆะรักษ์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบความหมายของชื่อร้านค้าที่สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลของคนไทยและคนจีน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2), 45-57.
สาริสา อุ่นทานนท์. (2553). การตั้งชื่อของคนลาว : คำและความหมาย. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มข, 27(3), 86-99.
อุดม ปิติธนสารสมบัติ. (2548). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อทองรูปพรรณของร้านค้าทองฮั่วเซ่งเฮง. วิทยานิพนธ์ บธ.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ.
Skinner, G. William. 1957. Chinese Society in Thailand: an Analytical History. Inthaca, New
York: Cornell University Press.
郭锦稃. (2004).《汉语地名与多彩文化》,上海:上海辞书出版社。
钱理、王军元. (2005).《商店语言名称》,上海:汉语大辞典出版社。
郑梦娟. (2006).《当代商业店名的社会语言学分析》,《语言文字应用》,2006年第3
期。