ศึกษาวัฒนธรรมการตั้งชื่อคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนในภาคอีสาน ; A Study of Naming Culture of Morlum Troop in Isan Region

Authors

  • อนันตศักดิ์ พลแก้วเกษ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ชาญยุทธ สอนจันทร์

Keywords:

วัฒนธรรม, หมอลำ, การตั้งชื่อ, Culture, Morlum, Naming

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาที่มาและความหมายของการตั้งชื่อคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนในภาคอีสาน และเพื่อศึกษาลักษณะการใช้ภาษาในการตั้งชื่อคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนในภาคอีสาน  จากการศึกษาทั้งหมด 115 คณะ พบว่า ที่มาและความหมายแบ่งออกเป็น  8 กลุ่ม ดังนี้ คณะหมอลำที่ตั้งชื่อเพื่อความเป็นศิริมงคลมากที่สุด จำนวน 48 คณะ คิดเป็นร้อยละ 41.73  รองลงมาคือการตั้งชื่อตามชื่อของผู้ก่อตั้งคณะหมอลำ จำนวน 30 คณะ คิดเป็นร้อยละ 26.08  สามคือการตั้งชื่อตามภูมิลำเนาของผู้ก่อตั้งชื่อคณะหมอลำจำนวน 26 คณะ คิดเป็นร้อยละ 22.60 สี่คือการตั้งชื่อตามชื่อของสัตว์ จำนวน 4 คณะ คิดเป็นร้อยละ 3.47 การตั้งชื่อเพื่อความแปลกใหม่ให้ดึงดูดใจผู้ติดตาม 4 คณะ 3.47 ห้าการตั้งชื่อตามชื่อพืช จำนวน 2 คณะ คิดเป็นร้อยละ 1.73 ที่พบน้อยที่สุด  คือ การตั้งชื่อเป็นตัวเลข 1 คณะ คิดเป็นร้อยละ 0.06 และการตั้งชื่อตามชื่อผลงานของผู้สนับสนุน 1 คณะ คิดเป็นร้อยละ 0.06

          ส่วนลักษณะการใช้ภาษาในการตั้งคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนในภาคอีสาน พบว่า มีการจำแนก ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ (1) คําที่มาจากภาษาไทย กล่าวคือ ลักษณะการใช้ภาษาในการตั้งชื่อหมอลำเรื่องต่อกลอนที่ใช้ภาษาไทย พบว่ามี 8 คณะ และการใช้ภาษาไทยถิ่นอีสานอย่างเดียว 3 คณะ (2) คําที่มาจากภาษาไทยกับภาษาตางประเทศ กล่าวคือ ลักษณะการใช้ภาษาในการตั้งชื่อคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนที่ใช้ภาษาไทยปนกับภาษาบาลีสันสกฤต พบมากที่สุด 51 คณะ  รองลงมาคือการใช้ภาษาไทยปนภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาเขมร 15 คณะ ตามด้วยภาษาไทยปนภาษาบาลีสันสกฤตและอังกฤษ 6 คณะ การใช้ภาษาไทยปนภาษาเขมร 6 คณะ ภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ 1 คณะ ภาษาไทยปนกับภาษาจีนและภาษาเขมร 1 คณะ และภาษาไทยถิ่นอีสานปนภาษาสันสกฤต 1 คณะ และ(3) คําที่มาจากภาษาต่างประเทศ พบมากที่สุดคือ การตั้งชื่อหมอลำเรื่องต่อกลอนที่ใช้ภาษาบาลีสันสกฤตในการตั้งชื่อ พบว่ามี 11 คณะ รองลงมาคือภาษาเขมรปนภาษาบาลีสันสกฤต 7 คณะ ตามด้วยภาษาบาลีสันสกฤตปนกับภาษาอังกฤษ 5 คณะ ภาษาอังกฤษอย่างเดียว 2 คณะ ภาษาบาลีปนภาษาอังกฤษและภาษาเขมร 1 คณะ และภาษาเขมรปนกับภาษาอังกฤษ 1 คณะ

 

Abstract

                  This study aims to investigate background and meaning of naming a Morlum Reung Tor Klon band in Isan, and to study language use in naming a Morlum Reung Tor Klon band in Isan. It examined 115 bands which their background and meaning could be divided as 8 groups: 48 Morlum bands naming the bands for fortune as 41.73 percent, 30 Morlum bands naming their bands after the owner as 26.08 percent, 26 Morlum bands naming their bands after the hometown of the founder as 22.60 percent, and 4 Morlum bands naming after animals as 3.47 percent. Naming the band to convince followers revealed 4 bands as 3.47 percent, and 2 bands were named after plants 1.73 percent. The least found was 1 band naming as numeric 0.06 percent, and another used the supporter name 0.06 percent.  

                  It found that features of using languages in naming Morlum Reung Tor Klon bands in Isan area have 3 main categories as follows. (1) Words derived from Thai language refers to features of naming Morlum Reung Tor Klon band using Thai language to name 8 Morlum bands, and only Isan dialect was used for 3 bands. (2) Words from Thai language and foreign language refers to features of naming Morlum Reung Tor Klon band using Thai language and Sanskrit, which were mostly found in 51 bands. The study found 15 bands had names from Thai mixing with Sanskrit and Khmer language. In addition, Thai language mixing with Sanskrit and English language were 6 band names, and other 6 bands used Thai language combining with Khmer language. There was 1 band using Thai language with English language, and another one named in Thai language mixing with Chinese and Khmer language. There was only 1 band naming in Thai Isan dialect with Sanskrit. (3) Words from foreign language were most found in the Morlum Reung Tor Klon bands using Sanskrit which were 11 bands. 7 bands used Khmer language and Sanskrit following by 5 bands who named in Sanskrit combining with English language. Interestingly, 2 bands used only English, and 1 band named in Pali language with English language and Khmer language. There was only 1 band using Khmer language with English.

References

กำชัย ทองหล่อ (2545) หลักภาษาไทย.กรุงเทพฯ:รวมสาส์น (1977).
นฤมล ตุงคะโหตร. (2547). การตั้งชื่อวัดในพระพุทธศาสนากรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์
ประมวล พิมพ์เสน. (2546). หมอลำวาดขอนแก่น.พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น; ขอนแก่นการพิมพ์.
วิยะดา จงบรรจบ. (2533). การศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อธุรกิจการค้า.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ถ่ายเอกสาร.
พระสมุห์อนันตศักดิ์ พลแก้วเกษ. (2556). การศึกษาตัวบทและบทบาทของหมอลำคณะบ้าน
ร่มเย็นจังหวัดมหาสารคาม.ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สารานุกรมเสรี. (2560). ดอกจาน. https://th.wikipedia.org (สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2560).
ไกรสร เกศประทุม บ้านบัวแดง ตำบลบัวแดง อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด
(18 เมษายน 2558) สัมภาษณ์.
คำภา สีโสดา. ศูนย์รวมหมอลำดีเซียงคำภา อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
(23 พฤษภาคม 2560) สัมภาษณ์.
คำพัน วิเท่ห์. ศูนย์รวมหมอลำดังเท่ห์ธุรกิจบันเทิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
(23 พฤษภาคม 2560) สัมภาษณ์.
จันทร์เพ็ญ เด่นนภา. สำนักงานสันติภาพบันเทิง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
(23 พฤษภาคม 2560) สัมภาษณ์.
ทองสินธุ์ เลิศสงคราม. 73 หมู่ที่ 10 บ้านคำม่วง ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
(21 พฤษภาคม 2560) สัมภาษณ์.
นกน้อย อุไรพร. 555 บ้านหนองใส ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหัดอุดรธานี
(31 พฤษภาคม 2560) สัมภาษณ์.
พรชัย มณีพรรณ. 126 หมู่ที่ 5 บ้านโคกก่อง ตำบลปลาค้าว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
จังหวัดอำนาจเจริญ (21 พฤษภาคม 2560) สัมภาษณ์.
ไพบูลย์ ผานคำ. 156 หมู่ที่ 10 บ้านกุดหมากเห็บ ตำบลโนนทอง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
(31 มิถุนายน 2560) สัมภาษณ์.
มงคล คนนิยม. 559 หมู่ 10 บ้านกุดโง้ง ตำบลโพนข่า อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
(6 ตุลาคม 2560) สัมภาษณ์.
สมาน สีดา. 162 หมู่ที่ 5 บ้านหนองไผ่ ตำบลหนองไผ่ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
(21 พฤษภาคม 2560) สัมภาษณ์.
เสาวนีย์ คอนโพธิ์ศรี. 118/8 หมู่ที่ 13 บ้านแพง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
(7 กรกฎาคม 2560) สัมภาษณ์.
หนูภาร ผ่านวงษ์. 105 หมู่ที่ 6 บ้านหนองบัวน้อย ตำบลหนองตูม อำเภอเมืองขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น. (17 พฤษภาคม 2560) สัมภาษณ์.

Downloads

Published

2018-12-26

How to Cite

พลแก้วเกษ อ., & สอนจันทร์ ช. (2018). ศึกษาวัฒนธรรมการตั้งชื่อคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนในภาคอีสาน ; A Study of Naming Culture of Morlum Troop in Isan Region. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 7(2), 26–50. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/126111

Issue

Section

บทความวิจัย