ประวัติศาสตร์ล้านช้างในจารึกวัดพระธาตุพนม ; Lan Xang History in Inscription Wat Phra That Phanom

Authors

  • อธิราชย์ นันขันตี

Keywords:

ประวัติศาสตร์ล้านช้าง ,, จารึกวัดพระธาตุพนม, Lan Xang history, Wat Phra That Phanom inscriptions

Abstract

          บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ล้านช้างและสาระสำคัญที่ปรากฎในจารึกวัดพระธาตุพนม โดยศึกษาจารึกจำนวน 27 แผ่น เป็น หลักจารึก จำนวน 5 แผ่น จารึกฐานพระพุทธรูป จำนวน 16 แผ่น จารึกลานโลหะ จำนวน 3 แผ่น จารึกแผ่นอิฐ จำนวน 4 แผ่น

          ผลการศึกษาพบว่า จารึกวัดพระธาตุพนม แบ่งเป็น 3 ยุคสมัย คือ ยุคสมัยล้านช้าง ยุคสมัยหลวงปู่โพนสะเม็กบูรณปฏิสังขรณ์ ยุคล้านช้างภายหลังการปกครองของสยาม ผู้สร้างจารึก ได้แก่ กษัตริย์ล้านช้าง เจ้าเมืองท้องถิ่น พระสงฆ์ ชาวบ้าน จุดมุ่งหมายของจารึก ได้แก่ การสืบอายุพระพุทธศาสนา การทำบุญในพุทธศาสนา การอุทิศข้าโอกาส จารึกวัดพระธาตุพนม ปรากฏหลักฐานยืนยัน การเสด็จของพระเจ้าโพธิสาลราช กษัตริย์ล้านช้าง (พ.ศ. 2063-2090) ได้เสด็จบูรณะพระธาตุพนม และอุทิศข้าโอกาส พ.ศ. 2233 พระครูโพนสะเม็ก ได้บูรณะพระธาตุพนม และได้สถาปนาราชวงศ์จำปาศักดิ์ ใน พ.ศ. 2256 มีข้อค้นพบว่า จารึกสมัยนี้ระบุ ศักราช ที่ไม่ลงรอยกับประวัติศาสตร์ล้านช้าง คือ มีอายุ ตั้งแต่ พ.ศ. 2191-2245  ต่อมา สมัยเจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ล้านช้างเวียงจันทน์ ได้เสด็จบูรณะพระธาตุพนม เมื่อ พ.ศ. 2349-2356 แสดงให้เห็นว่า การที่พระมหากษัตริย์และราชสำนักอาณาจักรล้านช้างได้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยน้อมนำจิตใจชาวบ้านให้มีศีลธรรมและเห็นความสำคัญของพระมหากษัตริย์และราชสำนัก เป็นอุดมการณ์ที่ผู้ปกครองส่งผ่านให้ผู้ถูกปกครองยอบรับอำนาจของสถาบันกษัตริย์กลายเป็นจารีต สืบทอดแก่คนรุ่นหลัง

 

Abstract

 

          This article aims to study the history of Lan Xang and the inscriptions of Wat Phra That Phanom. A total of 27 inscriptions were examined including 6 stone, 16 Buddha staues’s base engraving, 3 metal plate inscriptions, and 4 brick inscriptions.

          The research found that the inscriptions of Wat Phra That Phanom have 3 periods which are Lan- Xang, luang Phu Phon Sa Mek which was renovating, Lan Xang after Siam governed and was renovating. People who made inscriptions are the King of Lan Xang, Governor, monks, and villagers. The aim of inscriptions is ages of Buddha, making merit, consecration. The inscriptions of Wat Phra That Phanom showed that Pha Coa Pho Thi Sa Rat who was the King of Lan Xang (BC1520 – BC1547) renovated Wat Phra That Phanom and consecration himself. In BC 1680, Luang Phu Phon Sa Mek renovated and establish Champasak in BC 1713, and inscriptions of this period found that the year which was written on  inscriptions was different from the history of Lanchang which was established in BC 1648 – BC1702. The Chao Anouvong who was the King of Lan Xang renovated Wat Phra That Phanom in BC 1809 – BC 1819 showing that the King and royal palace of Lan Xang supported Buddhism which was the factor for villagers to have morals and see the importance of the King and royal palace that send ideology from the leader to subordinate for acceptance in new generation.

References

กรมศิลปากร. (2522). จดหมายเหตุการณ์บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม.จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราช
พิธียกฉัตรยอดองค์พระธาตุพนมและพระราชพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุใน
องค์พระธาตุพนม. (เอกสารอัดสำเนา)
เติม วิภาคย์พจนกิจ.(2542). ประวัติศาสตร์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำรา
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ทศพล อาจหาญ. (2542). ข้าโอกาสพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. มหาสารคาม :
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ธวัช ปุณโณทก.(2530). จารึกสมัยไทย-ลาว. กรุงเทพฯ : อักษรกิจ, 2525.
นิชนันท์ กลางวิชัย. (2556). กัลปนา : ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของคนในชุมชนล้านนาต่อ
การกัลปนาคน. วารสารดำรงวิชาการ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (ก.ค. – ธ.ค.) หน้า 11-36.
พจนีย์ เพ็งเปลี่ยน.(2555). อุรังคธาตุฉบับหลวงพระบาง. กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม.
พระธรรมราชานุวัตร (2551). อุรังคนิทาน ตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร). พิมพ์ครั้งที่ 10.
กรุงเทพฯ : นีลนาราการพิมพ์.
มาลินี กลางประพันธ์.(2554). เครือข่ายทางสังคมข้าโอกาสพระธาตุพนในชุมชนสองฝั่งโขง. มหาสารคาม :
วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัชรวร วงศ์กัณหา. (2557). จารึกสมัยไท-ลาว : ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและความหลากหลายทางวัฒนธรรมใน
จารึกอีสาน. วารสารวิถีสังคมมนุษย์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย.) หน้า 28-48.
ศิริสาร เหมือนโพธิ์ทอง. (2549). การกัลปนาจารึกสุโขทัย อยุธยา และธนบุรี รัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ :
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรจิตต์ จันทรสาขา. (2532). เมืองมุกดาหาร. ม.ท.พ.
สุรชัย ชินบุตร. (2556).สัญลักษณ์ข้าโอกาสพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในพิธีถวายข้าวพีชภาคและ
เสียค่าหัว. วารสารไทยศึกษา สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 161-189.

Downloads

Published

2018-12-27

How to Cite

นันขันตี อ. (2018). ประวัติศาสตร์ล้านช้างในจารึกวัดพระธาตุพนม ; Lan Xang History in Inscription Wat Phra That Phanom. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 7(2), 231–250. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/120653

Issue

Section

บทความวิจัย