วัฒนธรรม “เกี่ยว” ในเครือข่ายทางสังคมของชาวนาอีสานในยุคประเทศไทย 4.0 ; “Connecting” Culture in Social Network of Isan Farmers in Thailand 4.0 Era

Authors

  • ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ Khon Kaen University

Keywords:

social network, connecting culture, new Isan farmer, social network, connecting culture, new Isan farmer

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการเกาะเกี่ยวกันของสมาชิกในของเครือข่ายทางสังคมของชาวนาอีสานรุ่นใหม่                           เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีหน่วยในการวิเคราะห์ในระดับปัจเจกบุคคล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวทางการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ชาวนาอีสาน จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ยโสธร ขอนแก่น และร้อยเอ็ด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้โปรแกรม ATLAS.ti ช่วยในการวิเคราะห์ และการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม โดยใช้โปรแกรม UCI-net ตรวจสอบความตรงและความเที่ยงของข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการไตรภาคี แบบต่างแหล่งข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า วัฒนธรรมการเกาะเกี่ยวกันของสมาชิกในของเครือข่ายทางสังคมของชาวนาอีสานรุ่นใหม่มี 3 รูปแบบ คือ การเกาะเกี่ยวกันฉันญาติพี่น้อง การเกาะเกี่ยวกันฉันมิตร และการเกาะเกี่ยวกันเชิงธุรกิจ โดยมีเครื่องมือสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมดังกล่าว ประกอบด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Line และ Facebook

 

Abstract

 

                   The objective of this research was to study the connecting culture in social network of new generation of Isan farmers. Form of research is qualitative research. Unit of analysis was individual level. Data were collected via in-depth interviews as well as by participatory and non-participatory observations with 24 key informants who were Isan farmers. They were selected by purposive sampling technique from Kalasin, Yasothon, Khon Kaen, and Roi-et. Data analyses were content analysis with ATLAS.ti program and social network analyzed by UCI-net program. Qualitative data validity and reliability were tested by methods of data source triangulation. The results of the study indicated that connecting culture in social network of new generation of Isan farmers has 3 types: Relatives connecting culture, Friendship connecting culture, and Business connecting culture. The cultural tools consist of information technology such as computer and smart phone, and social media such as Line and Facebook.

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2560). ข้อมูลสถิติที่สำคัญของจังหวัดและดัชนีชี้วัดจังหวัดบูรณาการ (สำหรับประชาชนทั่วไป). (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2560, www.moi.go.th
จามะรี เชียงทอง และคณะ (2554). ชนบทไทย : เกษตรกรระดับกลางและแรงงานไร้ที่ดิน. เชียงใหม่ : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2554). การสร้างเครือข่ายทางสังคมของนายหน้าแรงงานอีสาน. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
_____. (2555). เครือข่ายทางสังคมกับการมีส่วนร่วมของประชาชน. (เอกสารประกอบการบรรยาย). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
_____. (2556). บทบาทกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. เอกสารประกอบการสัมมนา ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีสาน ณ โรงแรมอุดรเจริญศรี วันที่ 22 สิงหาคม 2556.
_____. (2559ก). “บอดใบ้ในไหปลาแดก : การรับรู้ผลกระทบจากข้อตกลงยอมรับร่วมด้านคุณสมบัติวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียนของแรงงานอีสาน”, วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 33 (3) : กันยายน – ธันวาคม 2559 : หน้า 193-221.
_____. (2559ข). “สัมมาชีพกลางมวลมิตรสหาย “ไทย - ออส” : เครือข่ายทางสังคมของแรงงานนักเรียนไทยในออสเตรเลีย”, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 8 (3) : กันยายน – ธันวาคม 2559 : หน้า 267-289.
_____. (2560). “หมุดยึดเด็กไกลบ้าน: บทบาทของเครือข่ายทางสังคมที่มีต่อการดำรงชีพของแรงงานนักเรียนไทยในออสเตรเลีย”, วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 9 (2) : กรกฎาคม – ธันวาคม 2560 : หน้า 260-282.
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ ดุษฎี อายุวัฒน์ และอรนัดดา ชิณศรี. (2556). “พหุลักษณ์ของเครือข่ายทางสังคมของชาวนาอีสาน”, วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 34 (1) : มกราคม – เมษายน 2556 : หน้า 1-16.
นพนันท์ วรรณเทพสกุล. (2559). “ปรากฏการณ์สำนึกชาวนาแบบก้าวหน้า” ในพงษ์ทิพย์ สำราญจิตต์ (บรรณาธิการ), หนี้นอกระบบเกษตรกร ฟางเส้นสุดท้ายจากการสูญเสียที่ดิน. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิชีวิตไท.
บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2553). ประชาคมกับการมีส่วนร่วมของประชาชน. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
โยธิน แสวงดี. (2543). ผลกระทบของการมีข่ายทางสังคมในถิ่นปลายทางของผู้ย้ายถิ่นต่อการเลือกถิ่นปลายทางสำหรับการย้ายถิ่นชั่วคราวจากชนบทสู่เมือง: กรณีศึกษาผู้ที่มีศักยภาพย้ายถิ่นสูงในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. ในคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา. การประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาสังคมวิทยา ครั้งที่ 1. (หน้า 955-976).
วิทย์ บัณฑิตกุล. (2554). รู้จักประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
_____. (2552). ประชาสังคม : แนวคิด ทฤษฏี ปฏิบัติการ. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560ก). สรุปการแถลงข่าวประจำสำนักนายกรัฐมนตรี. (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2560, www.opm.go.th
_____. (2560ข). ประเทศไทย 4.0. (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2560, www.opm.go.th
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2559). ลืมตาอ้าปาก จาก “ชาวนา” สู่ “ผู้ประกอบการ”. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน.
Ayuwat, D. and Chamaratana, T. (2013). “ The Role of Labour Broker Networks in Setting the Price of Working Abroad for Thai Migrant Workers”, Asia-Pacific Population Journal. Volume 28, Issue 2, December 2013 : 51-68.
_____. (2015). “ The Fee Setting for Thai Labourers Working Abroad”, International Business Management. Volume 9, Issue 3, 2015 : 232-238.
Creswell, J.W. and Plano-Clark, V.L. (2007). Design and Conducting Mixed Methods Research. New York: SAGE.
Curran, S.R. and Rivero-Fuentes, E. (2003). “Engendering Migrant Networks: the Case of Mexican Migration”. Demography, 40(2), 289-307.
De Nooy, W., Batagelj, V. and Mrvar, A.(2005). Exploratory Social Network Analysis with Pajek. Cambridge : Cambridge University Press.
Raghuram, P., Henry, L., and Bornat, J. (2010). Difference and Distinction? Non-migrant and Migrant Network. Sociology, 44(4), August, 623 – 641.

Downloads

Published

2018-12-26

How to Cite

ชามะรัตน์ ธ. (2018). วัฒนธรรม “เกี่ยว” ในเครือข่ายทางสังคมของชาวนาอีสานในยุคประเทศไทย 4.0 ; “Connecting” Culture in Social Network of Isan Farmers in Thailand 4.0 Era. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 7(2), 1–25. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/117002

Issue

Section

บทความวิจัย