อีแซว : การสร้างมาตรฐานศิลปะการแสดงพื้นบ้านจังหวัดสุพรรณบุรี; Ee-saew: Standardisation of Local Performing Arts in Suphanburi Province
Standardisation of Local Performing Arts in Suphanburi Province
Keywords:
อีแซว, ศิลปะการแสดง, จังหวัดสุพรรณบุรี, เพลงพื้นบ้าน, Ee-saew, Performing arts, Suphanburi province, Traditional musicAbstract
การศึกษาวิจัยเพลงอีแซว: การสร้างมาตรฐานศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้านเพลงอีแซวจังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้าน เพลงอีแซว จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้าน เพลงอีแซว จังหวัดสุพรรณบุรี และ เพื่อสร้างมาตรฐานศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้าน เพลงอีแซว จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยกระบวนการการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Document Analysis) และข้อมูลภาคสนาม (Field Study) อย่างต่อเนื่องตามกรอบความมุ่งหมายของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านประวัติความเป็นมา อัตลักษณ์ ของศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้านอีแซวจังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย วิถีชีวิตของคนในชุมชน การสืบทอดการแสดงจากครอบครัวและเครือญาติโดยมีการถ่ายทอดความรู้กับการแสดงจากรุ่นสู่รุ่น 2) ด้านสภาพปัจจุบันและปัญหา การเข้ามาของสื่อสมัยใหม่ เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเปลี่ยนไป การค้าขายขยายตัว การมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ เข้ามา การมีความบันเทิงให้เลือกสรร เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ การแสดง และดนตรีสมัยใหม่ เช่น คาราโอเกะ ซีดีภาพยนตร์ ในสถานการณ์เช่นนี้ การแสดงเพลงพื้นบ้านภาคกลางที่ไม่ปรับวิธีการแสดงก็เริ่มเสื่อมความนิยมลงไป 3) ด้านการสร้างมาตรฐานศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้าน
เพลงอีแซว จากการรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือในการวิจัยกับผู้เชียวชาญศิลปินพื้นบ้านอีแซว มากำหนดเป็นมาตรฐาน 6 ด้าน เพื่อใช้กับกลุ่มตัว อย่าง ดังนี้ 1) ด้านบุคลากรผู้แสดง 2) ด้านคำกลอน 3) ด้านท่ารำ (ใช้ท่ารำวงมาตรฐาน) 4) ด้านเครื่องแต่งกาย 5) ด้านเวที แสง เสียง เครื่องดนตรี 6) ด้านระยะเวลาการแสดง
Abstract
This investigation, Ee-saew: Standardisation of Local Performing Arts in Suphanburi Province”, has three main aims: 1) to study the background and history of the traditional Ee-saew music in Suphanburi Province; 2) to study the current conditions and problems with the traditional Ee-saew music in Suphanburi Province; and 3) to create performing arts standards for traditional Ee-saew music in Suphanburi Province. This is a qualitative research using a research and development method. Data were collected from document analysis and field study according to the three research aims. Results found that 1) the identity of the Ee-saew music of Suphanburi is inextricably linked to the lifestyle of people in the local communities. The music is inherited through the family unit, as older generations pass on the traditions to younger
generations. 2) However, the growing influence of modern media in everyday society has caused an influx of new technologies, including television, cinema, karaoke and new performing arts. Traditional performing arts have not adapted and, consequently, their popularity has declined. 3) From the results of document and field investigation, the researchers created a set of performing arts standards for traditional Ee-saew music in Suphanburi Province. It was concluded that there should be six indicators for standardised traditional Ee-saew music in Suphanburi Province: 1) performing artists, 2) lyrics, 3) dance postures, 4) costumes, 5) staging, lighting, sound and musical instruments, and 6) performance duration.