ผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานด้านการพูดภายใต้กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (CEFR) ต่อความสามารถด้านการพูดของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)

Authors

  • Ketsemabom Damian Akuli English Program, Faculty of Humanities and Social Sciences,Khon Kaen University, Thailand
  • กรวิภา พูลผล Khon Kaen University

Keywords:

กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป, การพูดภาษาอังกฤษ, การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นภาระงาน, ความสามารถด้านการพูด, นักเรียนไทย, CEFR, Speaking, Task-based learning and teaching, Speaking ability, Thai learners

Abstract

                  รัฐบาลไทยได้นำกรอบมาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษาจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (CEFR) มาใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินความสามารถภาษาอังกฤษเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับสากล รัฐบาลมีนโยบายให้บรรจุ CEFR
เข้าไปในการเรียนการสอนและใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการประเมินความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียน นโยบายนี้มีจุดประสงค์เพื่อยกระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้เรียน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับการ
เปิดประเทศเข้าสู่ AEC เนื่องจากการนำ CEFR ไปใช้ในห้องเรียนยังเป็นเรื่องที่ท้าทาย งานวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อประเมินผลของการใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานด้านการพูดตามกรอบมาตรฐาน CEFR ต่อการพัฒนาความสามารถด้านการพูดของผู้เรียน และเพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวในชั้นเรียนจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมในการวิจัยนี้ประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) จำนวน 40 คน นักเรียนทั้ง 40 คน ทำแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูดก่อนและหลังการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานด้านการพูด จากนั้นนักเรียนทุกคนตอบแบบสอบถามความคิดเห็น ข้อมูลจากการทดสอบด้านการพูดและจากแบบสอบถามซึ่งเป็นข้อมูลเชิงปริมาณถูกนำ
มาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ t-Test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังจากการใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานด้านการพูดตามกรอบมาตรฐาน CEFR สำหรับข้อมูลปลายเปิดที่ได้จากการตอบแบบสอบถาม
ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพจะถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานด้านการพูดตามกรอบมาตรฐาน CEFRสามารถพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนและผู้เรียนมีทัศนคติเชิงบวกต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานด้านการพูดตามกรอบมาตรฐาน CEFRในชั้นเรียน

Effects of Using CEFR-based Speaking Tasks on Speaking Ability of Grade 8 Students in Demonstration School of Khon Kaen University (Mordindang)

Abstract
The Thai government adopts and promotes the Common European Framework of Reference (CEFR) as a means to raise English language standards to international levels. According to recent Thai government policy on education, CEFR is to be used in teaching, learning and assessing students’ English language ability. The aim of this policy is to uplift Thai English learners’ ability preparing them for the competitive economy presented by AEC. Since an implementation of CEFR in the classroom is challenging, this mixed-method study aimed to investigate the effects of using CEFR-based speaking tasks to enhance the speaking ability of Thai learners. It also examined the students’ opinions with regards to using CEFR-based speaking tasks
in the classroom. Speaking ability tests were administered to the 40 subjects before and after the treatment. All participants responded to opinion questionnaires. 13 of them were randomly selected to answer open-ended questions. The test scores were statistically analyzed by mean, standard deviation, and t-Test for dependent samples. The questionnaire data were analyzed both quantitatively and qualitatively. The results
revealed that using CEFR-based speaking tasks can improve students’ speaking ability and that the students portrayed positive feelings and thoughts about the implementation.     

     

Downloads

Published

2018-07-14

How to Cite

Akuli, K. D., & พูลผล ก. (2018). ผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานด้านการพูดภายใต้กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (CEFR) ต่อความสามารถด้านการพูดของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง). JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 7(1), 29–53. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/106117

Issue

Section

บทความวิจัย