วัดงาม นามมงคล: แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดนามมงคล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่; Religious Tourism Development Guidelines for Auspicious-Name Temples in Muang District, Chiang Mai Province

Religion Tourism Development of Auspicious Name Temples in Chiang Mai

Authors

  • ประทีป พืชทองหลาง Rajamangala University of Technology Lanna, 128 Huay Kaew Road, Muang, Chiang Mai, Thailand, 50300
  • เพราพิลาส ประสิทธิ์บุรีรักษ์ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง นักวิจัยอิสระ

Keywords:

แนวทางการพัฒนา, การท่องเที่ยวเชิงศาสนา, วัดนามมงคล, Development guidelines, Religious tourism, Auspicious-Name temples

Abstract

                  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติ ความเชื่อของพระเจดีย์และพระพุทธรูปของวัดนามมงคล 2) เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดนามมงคล 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดนามมงคล รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือ วัดนามมงคลในจังหวัดเชียงใหม่ 9 วัด ได้แก่ วัดลอยเคราะห์ วัดดับภัย วัดดวงดี วัดศรีเกิด วัดชัยพระเกียรติ วัดหมื่นเงินกอง วัดหมื่นล้าน วัดปราสาท
และวัดเชียงมั่น กลุ่มตัวอย่าง 420 คน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยว 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบบังเอิญ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 20 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยมี 3 ชนิด คือ แบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูล
จากแบบสอบถามด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหาจากแบบสังเกต และการสัมภาษณ์ แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1) พระเจดีย์และพระพุทธรูปวัดนามมงคลมีความเก่าแก่ มีเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับที่มาของชื่อที่เป็นมงคล และมีความเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ 2) นามของวัด พระเจดีย์ และพระพุทธรูปเป็นนามมงคลที่เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว รวมถึงประวัติความเก่าแก่ ความศักดิ์สิทธิ์ ความงดงามวิจิตรทางศิลปกรรมแบบล้านนาเป็นจุดแข็งของวัดนามมงคลทั้ง 9 แห่ง 3) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววัดนามมงคลควรให้ความสำคัญ 5 ประการ คือ 1) ส่งเสริมสติ 2) สะอาด 3) สุขสบาย 4) สงบเย็นใจ และ 5) สัปปายะ

Abstract
                 This research was conducted for the following objectives: 1) to study the history, beliefs towards pagodas and Buddha images of auspicious-name temples, 2) to study the potential of temples as religious tourism destinations, and 3) to find approaches to developing temples for religious tourism. The research combines methods of quantitative research and qualitative research. The research areas comprised nine auspicious-name temples in Chiang Mai which are Wat Loi Khro, Wat Dubphai, Wat Duang Dee, Wat Sri Goed, Wat Chai Prakiat, Wat Muen Ngen Kong, Wat Muen Lan, Wat Pharsat, and Wat Chiang mun. A sample group consisted of 400 tourists using accidental sampling and 20 participants using purposive sampling. Research tools which were a set of questionnaires, non-participant observation form, and standardized interview form were used for data collection. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics comprising percentage, mean, and standard deviation. The results showed that 1) the pagodas and Buddha images of auspicious-name temples were old and had stories related to the origin of the name and also relevant to the history of Chiang Mai, 2) the name of the temple, pagodas and Buddha images had auspicious names and attracted tourist, including the ancient history, holiness, and beauty of fine arts of Lanna, and 3) guidelines for tourism development of auspicious-name temples should consider 1) conscience, 2) cleanliness, 3) comfort, 4) tranquility, and 5) suitability.

 

Author Biography

ประทีป พืชทองหลาง, Rajamangala University of Technology Lanna, 128 Huay Kaew Road, Muang, Chiang Mai, Thailand, 50300

พธ.ด. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

ศษ.ม. สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

พธ.บ. จิตวิทยา

References

กรรณิกา คำดี. (2558). วัดและศาสนสถานในมิติของการท่องเที่ยว. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 175-191.
การท่องเที่ยวแห่งออสเตรเลีย. (2554). มาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว. ออสเตรเลีย: การท่องเที่ยวแห่ง
ออสเตรเลีย.
คณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ. (2558). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ 4 ปี (2558-2561). เชียงใหม่: จังหวัดเชียงใหม่.
ปฐม หงส์สุวรรณ. (2554). ตำนานพระพุทธรูปล้านนา: พลังปัญญาทางความเชื่อและความสัมพันธ์กับ
ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ประทีป พืชทองหลาง. (2558). เส้นทางท่องเที่ยวเชิงศาสนาประเภทเจดีย์และพระพุทธรูปสำคัญในจังหวัด
เชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9 (2-4), 111-123.
มาโนช พรหมปัญโญ. (2556). แนวทางการเตรียมความพร้อมการท่องเที่วเชิงพุทธของจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อ
รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 8 (2), 36-47).
วงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2557). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดปทุมธานี.
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8(3), 63-82).
วาลิกา แสนคำ. (2545). การพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วุฒินันท์ กันทะเตียน. (2560). ภูมิสถาปัตยกรรมของวัดไทยกับการเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 13(2), 137-149.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์: พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
สุดาทิพย์ นันทโชค. (2555). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในจังหวัดสิงห์บุรีของนักท่องเที่ยวสูงอายุ.
ประชุมเชิงวิชาการ SWUMBA Research Conference. 17 กรกฎาคม 2555 ณ โรงแรมจัสมิน
เอ็กเซกคิวทีฟสวีท. กรุงเทพฯ.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2556). พระพุทธรูปตามคติชาวล้านนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins
Publishers.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Downloads

Published

2018-07-14

How to Cite

พืชทองหลาง ป., ประสิทธิ์บุรีรักษ์ เ., & พืชทองหลาง ญ. (2018). วัดงาม นามมงคล: แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดนามมงคล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่; Religious Tourism Development Guidelines for Auspicious-Name Temples in Muang District, Chiang Mai Province: Religion Tourism Development of Auspicious Name Temples in Chiang Mai. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 7(1), 212–242. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/103920

Issue

Section

บทความวิจัย