การบูรณาการข้อมูลการรับรู้จากระยะไกล เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งในจังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
การรับรู้จากระยะไกล, ความแปรปรวนของแนวชายฝั่ง, การทำแผนที่แนวชายฝั่ง, จังหวัดปัตตานีบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่แนวชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดปัตตานีในช่วงคาบเวลา 43 ปี (พ.ศ.2518-2554) โดยประยุกต์ใช้โปรแกรม Erdas 8.4 วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลการรับรู้จากระยะไกล (Remote sensing) ทั้งข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมร่วมกับภาพถ่ายทางอากาศในหลายช่วงเวลาและการสำรวจรังวัดภาคสนาม ใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ Arcview 3.3
ลากเส้นแนวชายฝั่ง ร่วมกับการใช้โปรแกรม DSAS v2.2 วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งและการประมาณค่าตำแหน่งแนวชายฝั่งในอนาคต ทั้งนี้กำหนดเปรียบเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งในช่วงก่อนและหลังมีการก่อสร้างโครงสร้างวิศวกรรมป้องกันชายฝั่งเกิดขึ้น ผลการศึกษาพบว่า การแยกแนวชายฝั่งด้วยวิธีแบบการแบ่งส่วน (Segmentation) เน้นขอบภาพแบบโซเบล (Sobel) ข้อมูลที่ได้เมื่อนำมาหลวมรวมข้อมูล (Pan-sharpening) และทำภาพสีผสมหลายช่วงคลื่นช่วยให้การจำแนกแยกแนวเส้นขอบชายฝั่งแบบแปลความหมายด้วยสายตาทำได้ง่ายและมีความถูกต้องมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง พบว่า แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ถูกกัดกร่อนพื้นที่เข้ามาในแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง มีอัตรากัดกร่อนเฉลี่ย 4.02 ม./ปี อัตราการกัดกร่อนรุนแรงขึ้นในช่วงภายหลังที่มีการก่อสร้างโครงสร้างวิศวกรรมป้องกันชายฝั่ง ในช่วงก่อนมีโครงสร้างวิศวกรรมป้องกันชายฝั่ง (พ.ศ.2511-2538) มีอัตรากัดกร่อนเฉลี่ย 2.88 ม./ปี ซึ่งน้อยกว่าในช่วงหลังมีโครงสร้างวิศวกรรมป้องกันชายฝั่ง (พ.ศ.2538-2554) ที่มีอัตราการกัดกร่อนเฉลี่ย 4.82 ม./ปี โดยพื้นที่ด้านตะวันตกซึ่งต่อเนื่องกับของโครงสร้างแบบรอดักทราย (Groyne) และเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการกัดกร่อนระดับรุนแรงเฉลี่ย 8.37 ม./ปี ทั้งนี้โครงสร้างวิศวกรรมป้องกันชายฝั่งแบบขนานกับ แนวชายฝั่งอาทิ ผนังกันคลื่น (Seawall) และแนวหินทิ้ง (Revetment) ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งได้มากกว่าโครงสร้างแบบตั้งฉากกับแนวชายฝั่ง การประมาณค่าตำแหน่งแนวชายฝั่งด้วยสมการถดถอยเชิงเส้นใน พ.ศ.2570 คาดหมายว่าหมู่บ้านตันหยงเปาว์และบ้านบะอิง เป็นพื้นที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งมากที่สุด ทั้งนี้หากไม่มีการกระทำใด ๆ จากค่าการประมาณแนวชายฝั่งคาดว่าพื้นที่ชุมชนบ้านตันหยงเปาว์อาจจะจมหายลงในทะเล การประยุกต์ใช้ข้อมูลรับรู้จากระยะไกลมีประโยชน์มากสำหรับการติดตามเฝ้าตรวจสอบเพื่อการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งแนวชายฝั่ง โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งที่มีการก่อสร้างโครงสร้างวิศวกรรมชายฝั่ง และเกิดประโยชน์ต่อ
การประเมินสภาพความเปราะบางและผลกระทบเชิงพื้นที่ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดปัตตานี ทั้งนี้การประมาณค่าตำแหน่งแนวชายฝั่งในอนาคตในระยะยาวอาจมีความคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจเป็นผลเนื่องจากการปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เป็นต้น
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This article has been published in the Journal of Humanities and Social Sciences at Prince of Songkla University, Pattani Campus.